The Masterpiece เวทีบันลือโลก
The Masterpiece เวทีบันลือโลก เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์และวาไรตีโชว์ที่นำผู้กำกับและนักแสดงจำนวน 9 คู่ มาแข่งขันทำการแสดงจากการตีความผลงานศิลปะชิ้นเอก (Masterpiece) ออกมาใหม่ในหลากหลายรูปแบบ ภายใต้ความร่วมมือในการผลิตระหว่างบริษัทบันเทิงรายใหญ่ของ 2 ประเทศ ได้แก่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย กับ ฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และ สมาร์ตด็อก มีเดีย จากสหรัฐ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันพุธ เวลา 20:15 - 21:45 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566 ดำเนินรายการโดย กันต์ กันตถาวร งานสร้างจุดเริ่มต้นThe Masterpiece เวทีบันลือโลก เป็นรายการโทรทัศน์ที่เป็นโครงการใหญ่ระดับโลก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัทบันเทิงขนาดใหญ่ของ 2 ประเทศ ได้แก่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย และฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ กับสมาร์ตด็อก มีเดีย จากสหรัฐ[1] ซึ่งความร่วมมือนี้เกิดจากความสำเร็จของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ในการผลิตรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ที่สร้างชื่อเสียงในประเทศไทย และหลังจากฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ รวมถึงพันธมิตรคือสมาร์ตด็อก มีเดีย ได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตและออกอากาศในรูปแบบของสหรัฐ ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงในสหรัฐเช่นกัน เคร็ก เพลสติส ผู้อำนวยการผลิตของสมาร์ตด็อก จึงกลับมาชักชวนเวิร์คพอยท์ให้มาร่วมสร้างโครงการใหญ่ร่วมกันอีกครั้ง[2] รายการนี้เป็นความท้าทายของเวิร์คพอยท์อีกระดับ เนื่องจากเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมเพื่อพิสูจน์ศักยภาพในการสร้างการแสดงจากผลงานชิ้นเอกให้เป็นมาตรฐานระดับโลก และเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการโทรทัศน์ของประเทศไทยอีกครั้ง[2] และเป็นการร่วมพัฒนารูปแบบรายการของฟ็อกซ์ อัลเทอร์นาทีฟ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และสมาร์ตด็อก มีเดีย สำหรับจำหน่ายลิขสิทธิ์เพื่อออกอากาศนอกสหรัฐ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนารูปแบบรายการไร้สคริปต์สากลของฟ็อกซ์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซึ่งหากรูปแบบรายการนี้ประสบความสำเร็จ จะนำไปผลิตเพื่อออกอากาศในประเทศอื่น ๆ[3] แนวคิดThe Masterpiece เวทีบันลือโลก เป็นรายการแข่งขันประกวดการแสดงที่นำผลงานศิลปะชิ้นเอก (Masterpiece) ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในระดับโลก มาใช้เป็นต้นแบบเพื่อทำการแสดงประเภทต่าง ๆ ในรูปแบบใหม่ เสมือนการทำให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ผ่านการตีความหมายใหม่ หรือการใส่ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมลงไปในการแสดงในรูปแบบของผู้กำกับและนักแสดงทั้ง 9 ทีม[1] โดยนักแสดงจะออกมาจากผลงานต้นแบบเพื่อทำการแสดงรูปแบบใหม่ในประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งการร้องเพลง แสดงตลกเดี่ยว และการเต้นรำ[4] และเมื่อการแสดงสิ้นสุดลง นักแสดงจะกลับไปสู่ผลงานต้นแบบ โดยผลงานชิ้นเอกทุกผลงานสามารถนำมาทำการแสดงในรูปแบบใหม่ได้ทั้งหมด การผลิตในรายการนี้ การแสดงจากผลงานชิ้นเอกในแต่ละการแสดง จะเปรียบเสมือนกับการผลิตภาพยนตร์ในแต่ละเรื่อง ซึ่งใช้ทีมงานมากกว่า 500 คน และงบประมาณในการผลิตจำนวนมาก โดยในทุก ๆ การแสดง จะมีการสร้างฉากขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงมีการออกแบบเสื้อผ้า การแต่งหน้า การทำผม ของนักแสดงทุกคน ที่เน้นตามเรื่องราวของผลงานชิ้นเอกแต่ละผลงาน[2] รูปแบบรายการในรายการนี้จะนำผู้กำกับและนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวน 9 ทีม มาตีความผลงานศิลปะชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงระดับโลก และนำเสนอออกมาเป็นการแสดงในรูปแบบใหม่ให้ประทับใจผู้ชมมากที่สุด รวมถึงมีศิลปินรับเชิญที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและในระดับโลก เรียกว่า "White Gang" มาเป็นตัวละครลับที่คิดคาแร็กเตอร์และใส่ลงไปในระหว่างการแสดงจริงของทุกทีม โดยที่นักแสดงจะไม่เคยได้ซ้อมกับ White Gang มาก่อน แต่ไม่มีผลต่อการตัดสิน[2] โดยการตัดสินจะมาจากการโหวตของคณะกรรมการ บุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง และนักศึกษาจากสาขาวิชาภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ[5] และในทุก ๆ สัปดาห์ ทีมที่ได้ผลคะแนนโหวตน้อยที่สุดจะถูกคัดออก จนเหลือ 2 ทีมสุดท้ายที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศซึ่งออกอากาศแบบถ่ายทอดสด และเปิดรับคะแนนโหวตสะสมจากผู้ชมในทุกช่องทางตั้งแต่หลังจบรายการในสัปดาห์ก่อนหน้ารอบชิงชนะเลิศ จนกระทั่งปิดโหวตในระหว่างการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศของรายการ และทีมที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะเลิศ และได้รับถ้วยรางวัลจากรายการ[6] ผู้กำกับและนักแสดง
การแข่งขันรอบที่ 1รอบที่ 2
รอบรองชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia