มหานคร (รายการโทรทัศน์)
มหานคร เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้โชว์ พร้อมสาระความรู้และสร้างสรรค์สังคม ที่รวบรวมเรื่องราวมากมายหลากหลายรสชาติ หลากหลายแง่มุม พร้อมพรั่งด้วยอรรถรสแห่งวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ของทุกมหานครในโลกไม่ว่าจะเป็นใจกลางเมืองใหญ่ เมืองมหาอำนาจ เมืองที่เจริญแล้ว เมืองที่กำลังพัฒนา ชานเมือง หรือแม้แต่ในตรอกซอกซอย พร้อมที่จะอวดสายตาให้ทุกคนได้สัมผัส ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550 จนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทุกวันอังคารเวลา 22.30 – 00.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[1] ปัจจุบันยุติการแพร่ภาพออกอากาศแล้ว รูปแบบของรายการรายละเอียดของรายการแบ่งออกเป็นช่วงต่าง ๆ ดังนี้[1] สามัคคีมหานครเป็นช่วงของการพูดคุย สนทนา ในรูปแบบของการคุยเป็นทีมในเนื้อหาที่เป็นที่สนใจของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นละครยอดฮิต นักฟุตบอลดัง นักร้องลูกทุ่ง พร้อมการแสดงสุดพิเศษจากทีมแขกรับเชิญ เดียววาไรตี้เป็นช่วงที่ ด.ช. พัทธดนย์ เกลี้ยงจันทร์ (น้องเดียว) ที่มีฉายาว่า "เด็กมหัศจรรย์" จากรายการ เกมทศกัณฐ์เด็ก จะมานำเสนอสารพัดเรื่องราวสนุกสนานกับ เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก) และ ธงชัย ประสงค์สันติ มหานครค้นหาทางรายการจะทำการออกสืบค้นเรื่องราวทุกอย่างที่น่าสนใจ โดยพบกับความพิศวงและความน่าสนใจของมหานครต่าง ๆ ของไทย และสุดยอดสถิติแห่งมหานคร ทั้งนี้เรื่องที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในรายการ จะมีถ้วยรางวัลของผู้ว่ามหานครมอบให้เป็น "มหานครมหานิยม" อีกด้วย สัมผัสมหานครทั่วโลกผ่านดาวเทียมทางรายการจะนำเสนอวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองหลวงต่าง ๆ ทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งสัมผัสวิถีชีวิตของคนไทยในต่างแดน พร้อมเปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องได้พบกันผ่านดาวเทียมยิงตรงจากอเมริกา ถึงทุกจังหวัดในประเทศไทย เกร็ดที่สุดแห่งเรื่องราวของมหานครทางรายการจะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นที่สุดในประเทศในด้านข้อมูลสถิติ หรือเรื่องราวแปลกประหลาด ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้รับชม มหานครของปลอมทางรายการจะให้มาท้าพิสูจน์ของปลอม ด้วยฝีมือ "เซียนของปลอม" ที่ได้รับเชิญมาร่วมรายการ ถ้าทำการพิสูจน์ได้ถูกต้องจะได้ของรางวัลกลับไป มหานครสงสัยทางรายการจะนำเสนอประเด็นและคลี่คลายเกี่ยวกับข้อสงสัยต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในโลก อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia