จักรพรรดิโกะ-โทบะ (ญี่ปุ่น : 後鳥羽天皇 ; โรมาจิ : Go-Toba-tennō ; 6 สิงหาคม ค.ศ. 1180 – 28 มีนาคม ค.ศ. 1239) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 82 ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ รัชสมัยของพระองค์ยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1183 ถึง 1198 [ 1]
จักรพรรดิแห่งศตวรรษที่ 12 พระองค์นี้ได้รับการตั้งพระนามตามจักรพรรดิโทบะ และ โกะ -(後) แปลตามตัวอักษรว่า ภายหลัง และด้วยเหตุนี้บางครั้งพระองค์จึงถูกเรียกว่า จักรพรรดิโทบะในภายหลัง คำว่า โกะ ในภาษาญี่ปุ่นยังแปลว่า ที่สอง และในหลักฐานบางแหล่งที่เก่ากว่าจักรพรรดิพระองค์นี้ถูกระบุว่าเป็น โทบะที่สอง หรือ โทบะที่ 2
ลำดับวงศ์ตระกูล
ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเมื่อแรกประสูติของพระองค์ (อิมินะ)[ 2] คือ เจ้าชายทากาฮิระ (尊成親王)[ 3] พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในพระนาม เจ้าชายทากานาริ [ 4]
พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิทากากูระ และพระราชนัดดาของจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ พระราชมารดาของพระองค์คือ โบมง โชกูชิ (坊門殖子) (พระพันปีชิจิโจอิง, 七条院) บุตรสาวของ โบมง โนบูตากะ (坊門信隆) ของตระกูลฟูจิวาระ
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
จักรพรรดินี (ชูงู ): ฟูจิวาระ โนะ นินชิ /ทากาโกะ (藤原任子) ภายหลังเป็น กิชูมง-อิง (宜秋門院) ธิดาในคูโจ คาเนซาเนะ
พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโชชิ (昇子内親王) ภายหลังเป็น ชุนกามง-อิง (春華門院, 1195–1211) – จักรพรรดินีที่ยังไม่ได้อภิเษกในฐานะพระราชมารดาบุญธรรมของจักรพรรดิจุนโตกุ
พระมเหสี: มินาโมโตะ โนะ ไซชิ /อาริโกะ (源在子) ภายหลังเป็นโชเมมง-อิง (承明門院; 1171–1257) ธิดาบุญธรรมในมินาโมโตะ โนะ มิจิจิกะ และธิดาในนักบวชโนเอ็ง
พระมเหสี: ฟูจิวาระ โนะ ชิเงโกะ (藤原重子) ภายหลังเป็น ชูเมมง-อิง (修明門院; 1182–1264) ธิดาในทากากูระ โนริซูเอะ
นางพระกำนัล: โบมง โนะ สึโบเนะ (坊門局) ธิดาในโบมง โนบูกิโยะ
เจ้าชายนางาฮิโตะ (長仁親王, 1196–1249) ภายหลังเป็นเจ้าชายนักบวชโดโจะ (道助法親王) กลายเป็นหัวหน้านักบวชคนที่ 8 แห่งวัดนินนาจิ
พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าชายเรชิ (礼子内親王; 1200–1273) ภายหลังเป็น คาโยมง-อิง (嘉陽門院)
เจ้าชายโยริฮิโตะ (頼仁親王, 1201–1264) (ถูกเนรเทศหลังสงครามปีโจกีว)
นางพระกำนัล: เฮียวเอะ-โนะ-คามิ โนะ สึโบเนะ (兵衛督局) ธิดาในมินาโมโตะ โนะ โนบูยาซุ
พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงชูกูชิ (粛子内親王; สวรรคต ค.ศ. 1196) (ทากัตสึจิ ไซงู , 高辻斎宮) – ไซโอ ที่ศาลเจ้าอิเซะ (1199–1210)
นางพระกำนัล: โอวาริ โนะ สึโบเนะ (尾張局, สวรรคต ค.ศ. 1204) ธิดาในนักบวชเค็นเซ
เจ้าชายโดกากุ (道覚法親王; 1204–1250) – หัวหน้านักบวชวัดเอ็นเรียกูจิ (เท็นได ซาซุ , 天台座主)
นางพระกำนัล: โอมิยะ โนะ สึโบเนะ (大宮局) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ซาดาโยชิ
เจ้าชายซนเอ็ง (尊円法親王; 1207–1231) – หัวหน้านักบวชวัดมีเดระ
เกียวเอ็ตสึ (行超) – นักบวชในวัดเอ็นเรียกูจิ
นางพระกำนัล: โชนางง โนะ ซูเกะ (少納言典侍)
นางพระกำนัล: คาเมงิกุ (亀菊) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
นางพระกำนัล: ทากิ (滝; สวรรคต ค.ศ. 1265) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
เจ้าชายคากูนิง (覚仁法親王) (1198–1266) – หัวหน้านักบวชวัดอนโจ-จิ
นางพระกำนัล: ทัมบะ โนะ สึโบเนะ (丹波局) อิชิ (石) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
นางพระกำนัล: ฮิเมโฮชิ (姫法師) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
คากูโยะ (覚誉) – นักบวช
โดอิ (道伊) – นักบวชวัดอนโจ-จิ
โดเอ็ง (道縁) – นักบวชที่วัดนินนาจิ
มารดาไม่ทราบพระนาม:
พระราชโอรส: เจ้าชายอิจิโจะ (一条宮, 1201–1213)
เจ้าหญิง (1202–1207)
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโกะ-โทบะ
จักรพรรดิโกะ-โทบะสืบราชบัลลังก์เมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา
8 กันยายน ค.ศ. 1183 (ปี จูเอ ที่ 2, วันที่ 20 เดือน 8 ): ปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิอันโตกุ (安徳天皇三年) จักรพรรดิได้หลบหนีออกจากเมืองหลวงแทนที่จะยอมจำนนต่อการกดดันให้สละราชสมบัติ เมื่อจักรพรรดิอันโตกุไม่อยู่ โฮโอ โก-ชิรากาวะ ซึ่งเป็นพระอัยกา (ปู่) ของจักรพรรดิอันโตกุจึงยกพระอนุชาของจักรพรรดิอันโตกุขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศตามพระราชบัญชาและได้จัดพระราชพิธีสละราชบัลลังก์ และหลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโกะ-โทบะก็จัดพระราชพิธีสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศอย่างเป็นทางการ[ 5]
แม้ว่าพระราชพิธีอย่างเป็นทางการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในเฮอังเกียว แต่ไตรราชกกุธภัณฑ์ ก็ยังอยู่กับอดีตจักรพรรดิอันโตกุ ดังนั้น พระราชพิธีสืบราชสันตติวงศ์และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจักรพรรดิโกะ-โทบะจึงนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ละเว้นการถ่ายทอดไตรราชกกุธภัณฑ์จากจักรพรรดิสู่ผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์
ในปี ค.ศ. 1192 อดีตจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะสวรรคตและรัฐบาลโชกุนชุดแรกก่อตั้งโดยมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ และจักรพรรดิก็กลายเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี ค.ศ. 1198 จักรพรรดิโกะ-โทบะสละราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสองค์โปรดของพระองค์คือ จักรพรรดิสึจิมิกาโดะ
อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะปกครองในฐานะไดโจโฮโอ ตั้งแต่ ค.ศ. 1198 ถึง ค.ศ. 1221 ในรัชสมัยของจักรพรรดิ 3 องค์ แต่พระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดมากกว่าไดโจโฮโอในยุคเฮอัง
ในปี ค.ศ. 1221 โชกุนได้แต่งตั้งพระราชนัดดาพระชนมายุ 3 พรรษาของอดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะให้เป็นจักรพรรดิชูเกียว แต่อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะเลือกที่จะก่อกบฏเพื่อพยายามทวงราชบัลลังก์คืนและโค่นล้มรัฐบาลโชกุนคามากูระ เหตุการณ์นี้เรียกว่าสงครามปีโจคิว
ซามูไร รอบ ๆ เกียวโตซึ่งต่อต้านรัฐบาลโชกุนสนับสนุนพระองค์ แต่ซามูไรส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคคันโต สนับสนุนรัฐบาลโชกุนด้วยการให้กำลังใจของโฮโจ มาซาโกะ ภรรยาม่ายของโยริโตโมะ โดยเธอเกลี้ยกล่อมซามูไรที่รวมตัวกันในคามากูระ ว่าหากพวกเขาไม่สนับสนุนรัฐบาลโชกุน สถานะและสิทธิพิเศษที่ซามูไรได้รับก็จะสูญหายไป ราชสำนักและคุเกะจะได้รับอำนาจและอิทธิพลกลับคืนมา การกบฏของจักรพรรดิโกะ-โทบะพ่ายแพ้ และจักรพรรดิชูเกียวถูกแทนที่โดยจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ พระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่งของอดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะ
หลังจากการก่อกบฏ อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะ ถูกเนรเทศไปยังหมู่เกาะโอกิ พระองค์สวรรคตและถูกฝังไว้ที่นั่น
พระราชพงศาวลี
พงศาวลีของจักรพรรดิโกะ-โทบะ[ 6]
อ้างอิง
↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 207–221; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō , pp. 334–339; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki . pp. 215–220.
↑ Brown, pp. 264; n.b., up until the time of Emperor Jomei , the personal names of the emperors (their imina ) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
↑ Varley, p. 215.
↑ Titsingh, p. 207; Brown, p. 334.
↑ Varley, p. 216.
↑ "Genealogy" . Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019 .
ข้อมูล
Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0 ; OCLC 251325323
Brownlee, John S. (1991). Political Thought in Japanese Historical Writing: From Kojiki (712) to Tokushi Yoron (1712). Waterloo, Ontario: Wilfrid Laurier University Press. ISBN 0-88920-997-9
Brower, Robert H. "Ex-Emperor Go-Toba's Secret Teachings": Go-Toba no in Gokuden. Harvard Journal of Asiatic Studies, Vol. 32, (1972), pp 5–70.
Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon . (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran ; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5 ; OCLC 59145842
Smits, Ivo (1998) "The Poet and the Politician: Teika and the Compilation of the Shinchokusenshu " Monumenta Nipponica 53(4): pp. 427–472, p. 446
นานาชาติ ประจำชาติ ศิลปิน อื่น ๆ