จักรพรรดิยูเรียกุ (ญี่ปุ่น : 雄略天皇 ; โรมาจิ : Yūryaku-tennō ; ค.ศ. 417/18 – 479) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 21 ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ แบบดั้งเดิม[ 8] [ 9] โคจิกิ รายงานว่า จักรพรรดิครองราชย์ในวันที่ 13 เดือน 11 ค.ศ. 456 (เฮชิง ) จนกระทั่งสวรรคตในวันที่ 7 เดือน 8 ค.ศ. 479 (คิบิ ) พระองค์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์แรกที่สามารถยืนยันผ่านทางโบราณคดี
เรื่องเล่ากึ่งก่อนประวัติศาสตร์
ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ปรากฏในโคจิกิ และนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกรวมกันเป็น คิกิ (ญี่ปุ่น : 記紀 ; โรมาจิ : Kiki ) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น โดยในคิกิ ระบุว่า ยูเรียกุเสด็จพระราชสมภพจาก โอชิกะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ (ญี่ปุ่น : 忍坂大中姫 ) ในช่วง ค.ศ. 417 หรือ 418 และได้รับพระราชทานนามว่า โอฮัตสึเซะ โนะ วากาตาเกรุ (ญี่ปุ่น : 大泊瀬稚武皇子 ; โรมาจิ : Ōhatsuse no Wakatakeru )[ c] [ 7] [ 3] [ 10]
ขึ้นครองราชย์
โอฮัตสึเซะทรงพิโรธอย่างมากเมื่อรู้ว่าจักรพรรดิอังโก พระเชษฐา ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 456[ 10] พระองค์จึงสงสัยต่อพระเชษฐาสองพระองค์ทันทีว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด สิ่งแรกที่โอฮัตสึเซะทรงทำคือถามเจ้าชายเจ้าชายชิราฮิโกะถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ชิราฮิโกะรู้เป็นนัยว่ารู้ว่าโอฮัตสึเซะกำลังทำเรื่องไม่ดี ดังนั้นพระองค์าจึงประทับเงียบ[ d] ซึ่งทำให้โอฮัตสึเซะตัดสินพระทัยปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ทีละคนด้วยดาบ[ 10] จากนั้น พระองค์นำความพิโรธไปใส่แก่มาโยวะ โนะ โอกิมิ (เจ้าชายมาโยวะ) เด็กหนุ่มมือสังหาร และคูโรฮิโกะ พระเชษฐาอีกพระองค์ด้วยการเผาจนสิ้นพระชนม์[ 10] ทำให้เหลือเพียงเจ้าชายอิจิโนเบะ โนะ โอชิวะ พระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิริจู ในการแย่งชิงบัลลังก์
โอฮัตสึเซะรู้สึกไม่พอพระทัยที่อังโกต้องการยกอาณาจักรให้แก่อิจิโนเบะอย่างเป็นทางการ ทั้งนิฮงโชกิและโคจิกิบรรยายว่าโอฮัตสึเซะพาเจ้าชายอิจิโนเบะและเจ้าชายมิมะ พระอนุชาของพระองค์ ไปล่าสัตว์และสังหารทั้งสองอย่าง "อกตัญญู"[ 10] [ 12] เหล่าพระราชโอรสของเจ้าชายอิจิโนเบะ (ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเค็นโซ และจักรพรรดินิงเก็ง ) หลบหนีไปซ่อนตัวที่แคว้นฮาริมะ หลังจากนั้นโอฮัตสึเซะ (ภายหลังรู้จักในฐานะ จักรพรรดิยูเรียกุ) ขึ้นครองราชย์ในช่วงพฤศจิกายน ค.ศ. 456[ 10] จักรพรรดิองค์ใหม่แต่งตั้งให้ อาซากูระ โนะ มิยะ ที่ซากูราอิ เป็นที่ตั้งพระราชวัง[ 5] [ 13] คูซากะ โนะ ฮาตาบิ โนะ ฮิเมะ พระมเหสีหม้ายของจักรพรรดิริจู ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดินีร่วมกับนางสนมสามพระองค์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 457[ 10]
รัชสมัย
คิกิ บันทึกไว้ว่า รัชสมัยจักรพรรดิยูเรียกุเต็มไปด้วยความอยุติธรรมและความโหดร้าย องค์จักรพรรดิทรงสังหารชายและหญิงอย่างไม่เลือกหน้าจำนวนมากจนราษฎรกล่าวถึงพระองค์เป็น จักรพรรดิแห่งความชั่วร้ายอันใหญ่หลวง [ 14] อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่ายูเรียกุทรงปรับปรุงพฤติกรรมหลังจากได้รับคำตักเตือนจากจักรพรรดินี[ 15] ในด้านบวก ยูเรียกุทรงสนับสนุนศิลปะและหัตถกรรมเป็นอย่างมาก ทรงเริ่มประเพณีให้จักรพรรดินีเป็นผู้เพาะพันธุ์หนอนไหม และได้ทรงขอพระราชทานช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญมาจากแพ็กเจ (เกาหลี)[ 14] แม้ว่าจักรพรรดินีไม่ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสธิดา จักรพรรดิยูเรียกุทรงมีพระราชโอรส 3 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์จากนางสนม[ 6] [ 10]
ในปีรัชสมัยที่ 22 (ค.ศ. 477) ยูเรียกุทรงย้ายวัดโทโยเกโอโฮกามิ (ปัจจุบัน: วัดไกกุ ) จากทัมบะไปยังยามาดะในอิเซะ[ 6]
การประเมินทางประวัติศาสตร์
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
พระมเหสี/นางสนม
พระราชโอรสธิดา
บรรดาศักดิ์
พระนาม[ 2]
ความเห็น
เจ้าชาย
เจ้าชายชิรากะ
ชิรากะภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป (เซเน)
เจ้าหญิง
เจ้าหญิงทากุ-ฮาตะ โนะ อิรัตสึเมะ
มีอีกพระนามว่า "วากะ-ทาราชิ-ฮิเมะ" พระนาง "เข้าร่วมพิธีบูชาเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งอิเซะ" (อามาเตราซุ )[ 16] ทากุก็เป็นเจ้าหญิงไซโอ และสวรรคตในช่วง ค.ศ. 459
เจ้าชาย
เจ้าชายอิวากิ
อิวากิสวรรคตในช่วงระหว่าง ค.ศ. 479 ถึง 481
เจ้าชาย
เจ้าชายโฮชิกาวะ โนะ วากายามะ
วากายามะสวรรคตในช่วง ค.ศ. 479
เจ้าหญิง
เจ้าหญิงคาซูงะ โนะ โออิรัตสึเมะ
โออิรัตสึเมะภายหลังสมรสกับจักรพรรดินินเก็ง
หมายเหตุ
↑ ปีพระราชสมภพของยูเรียกุได้รับการระบุไว้ที่ ค.ศ. 417 หรือ 418[ 2] [ 3] [ 4]
↑ เดลเมอร์ บราวน์ รายงานว่า นิฮงโชกิ ระบุว่ายูเรียกุทรงมีพระชนมพรรษาถึง 104 พรรษา[ 5] ต่างจากโคจิกิ ที่ระบุ "วัยสูงอายุ" ที่ 124 พรรษา Edmond Papinot ระบุพระชนมพรรษาของยูเรียกุที่ 62 พรรษา ซึ่งตรงกับปีพระราชสมภพ ค.ศ. "417" ที่ระบุในข้อมูลอื่น[ 6]
↑ พระนามนี้แปลตรงตัวเป็น "วากาตาเกะ (นักรบหนุ่ม) แห่งฮัตสึเซะใหญ่" โดยที่ "ฮัตสึเซะ" เป็นชื่อเก่าของซากูราอิ (จังหวัดนาระ)
↑ วิลเลียม จอร์จ แอสตัน ระบุว่าโคจิกิ “เล่าเหตุการณ์เหล่านี้ต่างกันมาก” พระเชษฐาทั้งสองได้แสดงจุดยืนปกป้องตัวเองอย่างเต็มที่[ 11]
↑ นิฮงโชกิ ระบุถึงพระนางเป็น "คูซากะ โนะ ฮาตาฮิ ฮิเมะ" และเล่าถึง "ทาจิ-บานะ-ฮิเมะ" เป็นอีกพระนามหนึ่ง[ 16]
อ้างอิง
↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF) . Kunaicho.go.jp . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ March 27, 2024 .
↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Genealogy" . Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ March 27, 2024 .
↑ 3.0 3.1 Joseph Henry Longford (1923). "List of Emperors: II. The Dawn of History and The great Reformers" . Japan . Houghton Mifflin. p. 304.
↑ Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945 . Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723 .
↑ 5.0 5.1 Brown, Delmer M. (1979). "(22) Emperor Yūryaku" . A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219 . Gukanshō. p. 258. ISBN 978-0-520-03460-0 .
↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Yuryaku (457–479)" . The Imperial Family of Japan . Ponsonby Memorial Society. pp. 13–16.
↑ 7.0 7.1 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Table of Emperors Mothers". The Imperial Family of Japan . Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 27–28.
↑ "雄略天皇 (21)" . Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ March 27, 2024 .
↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 William George Aston (1896). "The Emperor Oho-Hatsuse Wakatake" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1) . London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 333–372.
↑ Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXLVL - Emperor Anko (Part III - Prince Oho Hatsuse Slays Princes Kuro-Biko and Shiro-Biro)" . A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters . R. Meiklejohn and Co.
↑ Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXLVIII - Emperor Anko (Part V - Prince Oho-Hatsuse Slays Prince Oshiha)" . A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters . R. Meiklejohn and Co.
↑ W. Koch (1904). Japan; Geschichte nach japanischen Quellen und ethnographische Skizzen (ภาษาเยอรมัน). W. Baensch. p. 13.
↑ 14.0 14.1 Francis Brinkley (1915). "Chapter XII: The Protohistoric Sovereigns". A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era . Encyclopædia Britannica . pp. 112–116.
↑ Tojima Sayaka, Yamada Shigehito (2024). "Congenital Anomalies in Ancient Japan as Deciphered in the Nihon shoki (Chronicles of Japan)" (PDF) . National Institute of Japanese Literature. p. 34 & 40–41.
↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 William George Aston (1896). "The Emperor Oho-Hatsuse Wakatake" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1) . London: Kegan Paul, Trench, Trubner. p. 337.
อ่านเพิ่ม
Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
Batten, Bruce Loyd. (2006). Gateway to Japan: Hakata in war and peace, 500–1300. Honolulu:University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-2971-1 ; ISBN 978-0-8248-3029-8 ; OCLC 254764602]
Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0 ; OCLC 251325323
Nippon Gakujutsu Shinkokai (1969). The Manyōshū: The Nippon Gakujutsu Shinkokai Translation of One Thousand Poems. New York: Columbia University Press . ISBN 0-231-08620-2
Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon . (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran ; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5 ; OCLC 59145842
แหล่งข้อมูลอื่น