จักรพรรดิอิจิโจ
จักรพรรดิอิจิโจ (ญี่ปุ่น: 一条天皇; โรมาจิ: Ichijō-tennō; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 980 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1011) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 66[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2] รัชสมัยของจักรพรรดิอิจิโจทอดเวลาจาก ค.ศ. 986 ถึง 1011[3] พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นสู่ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเดิมของพระองค์ (อิมินะ) คือ ยาซูฮิโตะ (懐仁)[4] เจ้าชายคาเนฮิโตะเป็นพระราชโอรสองค์แรกในจักรพรรดิเอ็นยูกับฟูจิวาระ โนะ เซ็นชิ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ เนื่องจากไม่มีบันทึกพี่น้อง จึงตาดการณ์ว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เดียว จักรพรรดิอิจิโจมีจักรพรรดินีหรือนางสนม 5 พระองค์และพระราชโอรสธิดา 5 พระองค์[5] เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิอิจิโจรัชสมัยของพระองค์ใกล้เคียงกับจุดสูงสุดของวัฒนธรรมยุคเฮอังและจุดสูงสุดของอำนาจของตระกูลฟูจิวาระ พระองค์ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ในช่วงเวลาแห่งความไม่มั่นคงทางการเมืองซึ่งเริ่มต้นขึ้นภายในตระกูลฟูจิวาระ หลังจากที่พวกเขากำจัดตระกูลมินาโมโตะซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองได้สำเร็จ เจ้าชายคาเนฮิโตะได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทภายใต้ จักรพรรดิคาซัง ในปี ค.ศ. 984[6] สองปีต่อมา หลังจากที่จักรพรรดิคาซังสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 986 เจ้าชายคาเนฮิโตะก็ขึ้นครองราชบัลลังก์เมื่อพระชนมายุเพียง 6 พรรษา ยุวจักรพรรดิอิจิโจอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ฟูจิวาระ โนะ มิชินางะ พระมาตุลา (น้า) ของพระองค์ตั้งแต่เริ่มรัชสมัยของพระองค์[7] มิชินางะก้าวขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 995 หลังจากการตายของพี่ชายของเขาและการเนรเทศคู่แข่งทางการเมืองและหลานชายของเขา โคเรชิกะ[8] เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างศักราช คันนา หลังจากที่จักรพรรดิคาซังสละราชบัลลังก์ ได้รับการสืบทอดโดยพระราชภาติยะของพระอนุชาของพระราชบิดาของพระองค์[9]
พระราชโอรสของจักรพรรดิเรเซ ซึ่งมีพระชนมายุมากกว่าจักรพรรดิอิจิโจ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าชายรัชทายาท คาเนอิเอะกลายเป็น เซ็ชโช หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และปกครองอย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากคาเนอิเอะถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 990 บุตรชายคนโตของเขาและลุงของจักรพรรดิอิจิโจ ฟูจิวาระ โนะ มิชิตากะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แผนผัง
พระราชวงศ์
พระราชพงศาวลี
อ้างอิง
ข้อมูล
|
Portal di Ensiklopedia Dunia