New Gen Hug บ้านเกิด เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจด้านเกษตรกรรมในประเทศไทยของเกษตรกรรุ่นใหม่ สร้างสรรค์รายการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
ในฤดูกาลแรก (พ.ศ. 2563) ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด[1] ออกอากาศทางช่องวัน 31[2] ดำเนินรายการโดย แฟรงค์ - ภคชนก์ โวอ่อนศรี
ในฤดูกาลที่ 2 (พ.ศ. 2567) เปลี่ยนผู้ผลิตเป็น บริษัท มีมิติ จำกัด และย้ายมาออกอากาศทางช่องอมรินทร์ทีวี ดำเนินรายการโดย แบม - ปีติภัทร คูตระกูล[3]
การออกอากาศ
รูปแบบรายการ
ฤดูกาลที่ 1
การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 4 สาย คือ เกษตรกรรมยั่งยืน, เกษตรเทคโนโลยี, เกษตรแปรรูป และเกษตรท่องเที่ยวชุมชน แต่ละสายจะมีการแข่งขัน 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยว และประเภททีม รวมเป็น 8 กลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่ม จะมีผู้เข้าแข่งขันกลุ่มละ 3 คน หรือ 3 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือก มานำเสนอธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรกรรมตามประเภทของตน รวมทั้งหมด 24 ทีม และมีนักแสดงจากช่องวัน 31 จำนวน 12 คน ลงพื้นที่ไปสำรวจธุรกิจของผู้เข้าแข่งขันด้วยตนเอง เมื่อนำเสนอเสร็จสิ้น คณะกรรมการซึ่งมีทั้งหมด 7 คน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน, กรรมการประจำสาย 1 คน และกรรมการจาก ธกส. 1 คน) จะถามผู้เข้าแข่งขันเกี่ยวกับธุรกิจ เสร็จแล้วจะลงคะแนนตัดสิน โดยกรรมการจะมีคนละ 100 คะแนน รวม 700 คะแนน เมื่อลงคะแนนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดคะแนนรายบุคคลจากกรรมการได้ 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดของแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้ชนะประจำกลุ่ม ได้รับเงินรางวัลจาก ธกส. โดยแบ่งเป็นประเภทเดี่ยว สายละ 300,000 บาท และประเภททีม สายละ 500,000 บาท
หลังจากได้ผู้ชนะทั้ง 8 กลุ่มแล้ว ธกส. จะพิจารณาอีกครั้งด้วยหลักเกณฑ์ความยั่งยืน ความพอดี และการแบ่งปัน เพื่อตัดสินผู้ชนะในประเภทเดี่ยว 1 คน และประเภททีม 1 ทีม ที่จะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ฤดูกาลที่ 2
การแข่งขันในฤดูกาลนี้แบ่งออกเป็นรอบต่าง ๆ ดังนี้
รอบ Audition
ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 24 ทีม จะต้องนำเสนอธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรกรรมให้คณะกรรมการฟังภายในเวลา 3 นาที และตอบคำถามจากคณะกรรมการจำนวน 4 คน รวมถึงดารารับเชิญพิเศษประจำสัปดาห์นั้น ๆ นอกจากนี้จะได้รับคำแนะนำจากเกษตรกรต้นแบบประจำสัปดาห์นั้น ๆ เสร็จแล้วคณะกรรมการจะลงคะแนนตัดสิน โดยกรรมการจะมีคนละ 100 คะแนน รวม 400 คะแนน เมื่อลงคะแนนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดคะแนนรายบุคคลจากกรรมการได้ 2 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมจากคณะกรรมการทั้ง 4 คนมากที่สุด 8 ทีมแรก จะผ่านเข้ารอบต่อไป
รอบ Reality
ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ จะต้องทำภารกิจเพื่อค้นหาคำตอบและต่อยอดธุรกิจของตนภายใต้โจทย์ "ก้าวกระโดด" โดยจะมีดารานักแสดงจำนวน 8 คน ลงพื้นที่จริงเพื่อติดตามธุรกิจของแต่ละทีม และคณะกรรมการจะนำผลงานจากรอบนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้คะแนนตัดสินในรอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศ
ในรอบชิงชนะเลิศ มีการจัดงานประกาศผล ณ อาคาร A3 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[4] และนำเทปบันทึกภาพมาออกอากาศในภายหลัง จากนั้นพิธีกรได้ประกาศผล 4 ทีมที่มีคะแนนสูงที่สุดโดยไม่เรียงลำดับคะแนน และประกาศว่า ธกส. จะมอบรางวัลให้ทั้ง 4 ทีมดังกล่าว ทำให้ในฤดูกาลนี้มีรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล โดยจะได้รับโล่รางวัล และเงินรางวัล รางวัลละ 100,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับโล่รางวัล และเงินรางวัล 200,000 บาท และรางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 500,000 บาท (ดูผลสรุปด้านล่าง)
พิธีกร
คณะกรรมการ
ฤดูกาลที่ 1
- อาจารย์ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด
- ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และสร้างธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุษา เชาวนลิขิต ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการเกษตร คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ศิริวิมล กิตะพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ และกรรมการผู้จัดการไร่รื่นรมย์
- สุจิรา อรุณพิพัฒน์ นักแสดงและนักธุรกิจ
- กรรมการพิเศษประจำสาย
- เกษตรกรรมยั่งยืน - ชาญยุทธ์ ภาณุทัต ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
- เกษตรแปรรูป - พิพัฒพงศ์ อิสรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
- เกษตรเทคโนโลยี - รัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนการขาย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด
- เกษตรท่องเที่ยวชุมชน - จารุเชฏฐ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการกองวางแผนสินค้าท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- กรรมการจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ดำรงชัย เดชาธิคม ผู้ช่วยผู้จัดการ (สายเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรท่องเที่ยวชุมชน และเกษตรเทคโนโลยี (ทีม))
- ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ รองผู้จัดการ (สายเกษตรแปรรูป และเกษตรเทคโนโลยี (เดี่ยว))
- เรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัป (สายเกษตรแปรรูป (เดี่ยว))
ฤดูกาลที่ 2
- ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์
- ไพศาล หงษ์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
- ดร.รัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
- ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด
- ดารารับเชิญพิเศษ (ดูในบทความ)
ภาพรวมแต่ละฤดูกาล
ฤดูกาลที่ 1
ฤดูกาลที่ 2
รอบ Audition
รายชื่อตอนใน New Gen Hug บ้านเกิด (ฤดูกาลที่ 2) รอบ Audition
ตอน |
วันที่ |
ดารารับเชิญ พิเศษ |
เกษตรกรต้นแบบ โดย ธกส. |
ผู้เข้าแข่งขัน |
คะแนนจากกรรมการ 2 คน |
ผล
|
ชื่อ |
ชื่อธุรกิจ |
ลักษณะธุรกิจ |
จังหวัด |
กรรมการ |
คะแนน |
รวม
|
Ep.1
|
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
|
มิค - บรมวุฒิ หิรัญยัษฐิติ
|
นฤมล ทักษอุดม (ฮิลล์คอฟฟ์)
|
ปนิดา มูลนานัด
|
วัยหวาน
|
ผ้าใยกล้วย, ผักเคล
|
เพชรบุรี
|
ดร.ศิริกุล
|
80 คะแนน
|
157 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.วิเลิศ
|
77 คะแนน
|
มนตรี ชูกำลัง
|
Deecota
|
ฟาร์มหนูพุก
|
พิษณุโลก
|
ดร.รัสรินทร์
|
76 คะแนน
|
141 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.ศิริกุล
|
65 คะแนน
|
พงศ์ภูนาถ รุ่งเรือง
|
Farmstay ไร่คืนรัง
|
เกษตรท่องเที่ยวชุมชน
|
นครราชสีมา
|
ดร.วิเลิศ
|
81 คะแนน
|
161 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ดร.ศิริกุล
|
80 คะแนน
|
Ep.2
|
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
|
จ๊ะจ๋า - พริมรตา เดชอุดม
|
ปนัดดา เคปเปิล (Take Me Home)
|
อาทิตติญา โทไธสง
|
Masang Bonsai Tree
|
มะสังดัดบอนไซ
|
ปราจีนบุรี
|
ดร.ศิริกุล
|
70 คะแนน
|
144 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.รัสรินทร์
|
74 คะแนน
|
สราวุธ รัมพณีนิล
|
พิมพ์ไหม
|
ผ้าทอศิลปะ
|
สุรินทร์
|
ดร.รัสรินทร์
|
74 คะแนน
|
149 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
75 คะแนน
|
ปกรณ์ เตชสิทธิ์วรโชติ
|
Coffee Factory Farm
|
เครื่องสำอาง จากเมล็ดกาแฟ
|
นครราชสีมา
|
ดร.วิเลิศ
|
79 คะแนน
|
159 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
80 คะแนน
|
Ep.3
|
1 มิถุนายน พ.ศ. 2567
|
เชียร์ - ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์
|
ณวิสาร์ มูลทา (I Love Flower Farm)
|
กลยุทธ ปั้นเปี่ยมรัษฏ์
|
จิตตัง
|
เกษตรอินทรีย์ ร้านกาแฟ, ภัตตาคาร
|
สระบุรี
|
ดร.รัสรินทร์
|
73 คะแนน
|
152 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ไพศาล
|
79 คะแนน
|
อมร ศรีบุญนาค
|
สวนศรีบุญนาค
|
เกษตรผสมผสาน
|
ชัยนาท
|
ดร.รัสรินทร์
|
77 คะแนน
|
151 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
74 คะแนน
|
ทศพร เลิศคอนสาร
|
ปูนาแสนสวย@คอนสาร
|
ฟาร์มปูนา, ร้านกาแฟ
|
ชัยภูมิ
|
ดร.วิเลิศ
|
80 คะแนน
|
160 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.ศิริกุล
|
80 คะแนน
|
Ep.4
|
8 มิถุนายน พ.ศ. 2567
|
เสนาหอย - เกียรติ ศักดิ์ อุดมนาค[9]
|
วรัญญา หอมธูป (วิสาหกิจชุมชนบ้านวังส้มซ่า)
|
วิรุจน์ รักสองหมื่น
|
เลลันตา
|
เกษตรแปรรูปอาหารทะเล
|
กระบี่
|
ดร.รัสรินทร์
|
83 คะแนน
|
153 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.ศิริกุล
|
70 คะแนน
|
สิริยากร คำปลุก สิรินพร หงษ์ชัย
|
พริกเด็ด@แพร่
|
เกษตรแปรรูปพริก
|
แพร่
|
ดร.ศิริกุล
|
75 คะแนน
|
148 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
73 คะแนน
|
ลักขณา แสนบุ่งค้อ
|
Banana Land
|
เกษตรท่องเที่ยวสวนกล้วย
|
เลย
|
ดร.วิเลิศ
|
84 คะแนน
|
166 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ดร.ศิริกุล
|
82 คะแนน
|
Ep.5
|
15 มิถุนายน พ.ศ. 2567
|
จ๊ะจ๋า - พริมรตา เดชอุดม
|
มนูญ ทนะวัง (โกโก้ วัลเลย์)
|
ปนัดดา เคปเปิล
|
กมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์
|
ผำ
|
ไข่ผำแปรรูป
|
กาญจนบุรี
|
ดร.ศิริกุล
|
70 คะแนน
|
142 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.วิเลิศ
|
72 คะแนน
|
อนุวัช อินปลัด สาวิตรี อินปลัด
|
Tissue Culture
|
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
|
มหาสารคาม
|
ดร.วิเลิศ
|
78 คะแนน
|
155 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
77 คะแนน
|
อุมารินทร์ เกตพูลทอง
|
ปลาสลิดเกษตรพัฒนา
|
ปลาสลิดแปรรูป
|
สมุทรสาคร
|
ไพศาล
|
78 คะแนน
|
157 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ดร.รัสรินทร์
|
79 คะแนน
|
Ep.6
|
22 มิถุนายน พ.ศ. 2567
|
มิค - บรมวุฒิ หิรัญยัษฐิติ
|
สริฏา เดชา (โขงนทีฟาร์ม ควายไทย)
|
นฤมล ทักษอุดม
|
ศุภชัย มิ่งขวัญ
|
ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม
|
เกษตรอินทรีย์
|
อำนาจเจริญ
|
ดร.ศิริกุล
|
70 คะแนน
|
148 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ดร.รัสรินทร์
|
78 คะแนน
|
ณัฐสุดา จั่นบางยาง
|
Farm To Table
|
น้ำตาลช่อดอกมะพร้าว
|
สมุทรสาคร
|
ดร.รัสรินทร์
|
75 คะแนน
|
153 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ไพศาล
|
78 คะแนน
|
นิพนธ์ พิลา
|
พิลาฟาร์ม สตูดิโอ
|
ออกแบบแพ็กเกจ สินค้าเกษตร
|
เพชรบูรณ์
|
ไพศาล
|
85 คะแนน
|
169 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ดร.ศิริกุล
|
84 คะแนน
|
Ep.7
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2567
|
เสนาหอย - เกียรติ ศักดิ์ อุดมนาค
|
ทรรศิน อินทานนท์ (Zenfry Thailand)
|
วรัญญา หอมธูป
|
วิชัย กำเนิดมงคล
|
กาแฟเดอม้ง
|
เมล็ดกาแฟแปรรูป
|
น่าน
|
ดร.รัสรินทร์
|
76 คะแนน
|
155 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
79 คะแนน
|
วิทวัส อินธิสาร
|
จารุวิทย์ฟาร์ม
|
ฟาร์มปลาช่อน
|
สกลนคร
|
ดร.วิเลิศ
|
81 คะแนน
|
151 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.ศิริกุล
|
70 คะแนน
|
กมลฉัตร ศรีวิชัย คชาธิป ศรีวิชัย
|
ฮักแม่วาง
|
ฟาร์มผักอินทรีย์
|
เชียงใหม่
|
ดร.ศิริกุล
|
72 คะแนน
|
155 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
83 คะแนน
|
Ep.8
|
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
|
เชียร์ - ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์
|
นงนุช บำรุงกุล (Salete)
|
ณวิสาร์ มูลทา
|
สิริญา ปูเหล็ก
|
โกโก้ดอย
|
โกโก้แปรรูป
|
เชียงใหม่
|
ดร.ศิริกุล
|
70 คะแนน
|
145 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ดร.วิเลิศ
|
75 คะแนน
|
บุษบง งีสันเทียะ ธนวรรธน์ ศรีไพร
|
บุญชู ไดอารี่ ฟาร์ม
|
เกษตรท่องเที่ยวชุมชน นมโคแปรรูป
|
เพชรบูรณ์
|
ดร.ศิริกุล
|
76 คะแนน
|
153 คะแนน
|
ถูกคัดออก
|
ไพศาล
|
77 คะแนน
|
มนัทพงศ์ เซ่งฮวด
|
กระจูดวรรณี
|
กระจูดแปรรูป
|
พัทลุง
|
ดร.ศิริกุล
|
83 คะแนน
|
164 คะแนน
|
ผ่านเข้ารอบ
|
ดร.รัสรินทร์
|
81 คะแนน
|
รอบ Reality
รายชื่อตอนใน New Gen Hug บ้านเกิด (ฤดูกาลที่ 2) รอบ Reality
ตอน |
วันที่ |
เกษตรกรต้นแบบ โดย ธกส. |
ผู้เข้าแข่งขัน |
ดารารับเชิญ |
ก้าวกระโดด
|
ชื่อธุรกิจ |
จังหวัด
|
Ep.9
|
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
|
ศักดิ์สิทธิ์ สารมาศ (Game Goose)
|
กระจูดวรรณี
|
พัทลุง
|
แชมป์ - ชนาธิป โพธิ์ทองคำ
|
- เชื่อมโยงโฮมสเตย์เข้ากับชุมชน โดยการทำเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ พร้อมกิจกรรมเวิร์คช็อปการสานกระจูด
- ยกระดับเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม เพิ่มบุคลากรเด็กรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้ และเพิ่มการผลิตสินค้าจากกระจูดให้ได้มากขึ้น
- เพิ่มมูลค่าสินค้า บุกตลาดเฟอร์นิเจอร์ ขยายกลุ่มลูกค้าไปที่โรงแรมและห้างสรรพสินค้า
|
Farm To Table
|
สมุทรสาคร
|
บูม - สุภาพร วงษ์ถ้วยทอง
|
- สร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อขยายตลาดไปยังการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade)
- คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ : ไซรัปน้ำช่อดอกมะพร้าวนํ้าหอม
- สร้างการรับรู้ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยการไลฟ์ขายสินค้าผ่านติ๊กต็อก
|
Ep.10
|
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
|
ธนกร สดใส (ตานีสยาม)
|
ปลาสลิดเกษตรพัฒนา
|
สมุทรสาคร
|
ใบเฟิร์น - พัสกร พลบูรณ์
|
- เปลี่ยนจากส่งปลาให้แม่ค้าคนกลาง เป็นคนขายเอง
- ยกระดับมาตรฐานด้วยใบรับรองคุณภาพ
- รับผลิต OEM เพิ่มเติมจากเดิม
- เสนอสินค้าให้กับสมาคมเชฟ ร้านอาหาร และโรงแรมทั่วประเทศ
- นำสินค้าเข้าตลาดการค้าสมัยใหม่ต่าง ๆ
- การปรับโฉมแบรนด์ เพื่อสร้างตัวตนและการรับรู้ให้เป็นที่ 1 ในตลาดปลาสลิด
- กลยุทธ์ : สร้างการเล่าเรื่องให้กับแบรนด์ และสื่อสารทุกครั้งที่เข้าไปหาลูกค้า
|
Banana Land
|
เลย
|
พอร์ช - ศรัณย์ ศิริลักษณ์
|
- ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเลย ส่งเสริมให้เด็ก ๆ เรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากร
- ร่วมมือกับโรงเรียน ให้นักเรียนมาทำกิจกรรมในบานาน่าแลนด์ รวมถึงออกไปทำกิจกรรมและสอนให้ความรู้เด็ก ๆ ที่โรงเรียน
- การสร้างแบรนด์และสร้างการรับรู้ให้ทุกคนรู้จักบานาน่าแลนด์มากขึ้น ผ่านการก้าวกระโดดในจำนวนคน เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น
- สร้างโมเดลกล้วยต้นละพัน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถร่วมเป็นเจ้าของต้นกล้วยในพื้นที่ของบานาน่าแลนด์ได้
|
Ep.11
|
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
|
พิมพ์แก้ว กิติรัตน์ธนโชติ (บ้านผักตบชวาไม้ตรา)
|
พิลาฟาร์ม สตูดิโอ
|
เพชรบูรณ์
|
ฟรอยด์ - ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์
|
- Agri Design Expo : งานแสดงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมผลงานการออกแบบด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
- Farm Business Design : สถาบันแห่งแรกที่มุ่งเน้นการผสมผสานการเกษตรและการออกแบบหลักสูตรและธุรกิจเพื่อพัฒนาเกษตรกร
- Stay.Pilafarm Chains : ขยายเครือข่ายฟาร์มสเตย์สู่หลายพื้นที่ เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในทุกภูมิภาคเมืองรอง
|
ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม
|
อำนาจเจริญ
|
โก - โกสินทร์ ราชกรม
|
- นำผักและผลไม้ออร์แกนิกไปวางขายที่ตลาดออร์แกนิก
- TA Shop ตลาดของดีอำนาจเจริญที่รวมของออร์แกนิกจากทั้งในอำนาจเจริญและจังหวัดอื่น ๆ
- เปลี่ยนจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ขาย
|
Ep.12
|
3 สืงหาคม พ.ศ. 2567
|
ฐิติรัตน์ ศักดาปรีชา (บริบูรณ์ฟาร์ม)
|
Farmstay ไร่คืนรัง
|
นครราชสีมา
|
ท็อป - จรณ โสรัตน์
|
- Chick Village หมู่บ้านไก่ไข่ออร์แกนิก สร้างอาชีพให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยสร้างเล้าไก่ 100 ตัว
- ขยาย Chick Village สู่การสร้าง Route ท่องเที่ยว
- รังสรรค์เมนูท้องถิ่นร่วมกับเชฟชุมชน
- สร้างการรับรู้ผ่านช่องทางติ๊กต็อก
- โครงการอาสาสมัครต่างชาติ (Volunteer)
|
จิตตัง
|
สระบุรี
|
เต๋า - เศรษฐพงศ์ เพียงพอ
|
- Perma Table : คอร์สอาหาร Chef Table ให้ลูกค้าทานอาหารที่มีความยั่งยืนของชุมชน และได้เป็นเจ้าของต้นไม้ 1 ต้น
- Regenerative Agriculture: การปรับปรุงดิน การดูแลดิน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในจิตตัง
- Perma School : กิจกรรมสำหรับให้เด็ก ๆ มาเรียนรู้การเกษตรต่าง ๆ ในพื้นที่จิตตัง
- Free Market : ให้เกษตรกรมาขายผลผลิตของตนเองในบริเวณพื้นที่จิตตังได้ฟรี
|
รอบชิงชนะเลิศ
ออกอากาศใน Ep.13 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ
- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
- ถูกคัดออกในรอบชิงชนะเลิศ (อันดับ 5-8)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น