เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6
เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 (อังกฤษ: The Star 6) เป็นการแข่งขันเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปีที่ 6 โดยเริ่มรับสมัครผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี[1] การรับสมัคร
ภาคกลางการแข่งขันภาคกลางได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน,7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ตึก GMM Grammy Place กรุงเทพมหานคร โดยในรอบแรกมีผู้ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 17 คน และผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 22 คนสุดท้ายมี 8 คน ดังนี้ [2]
ภาคใต้การแข่งขันภาคใต้ได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่โรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยในรอบแรกมีผู้ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 8 คน และผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 22 คนสุดท้ายมี 4 คน ดังนี้ [3]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือการแข่งขันภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในปีนี้ผู้สมัครมีจำนวนมากจนทำให้ผู้สมัครบางคนไม่ได้สมัครคัดเลือก โดยในรอบแรกมีผู้ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 9 คน และผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 22 คนสุดท้ายมี 4 คน ดังนี้ [4]
ภาคเหนือการแข่งขันภาคเหนือได้จัดการแข่งขันขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดยในรอบแรกมีผู้ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 10 คน และผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 22 คนสุดท้ายมี 6 คน ดังนี้ [4]
รอบ 22 คนสุดท้ายมีผู้ที่ผ่านเข้ารอบจากภาคต่าง ๆ ทั้งสิ้น 22 คน โดยทั้ง 22 คนนี้จะต้องเดินทางไปแข่งขันต่อที่กรุงเทพมหานคร เพื่อค้นหา 8 คนสุดท้ายที่จะเข้าไปสู่รอบสุดท้าย แต่มีเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่คาดฝันเกิดขึ้น คือ คุณเพชร-เผ่าเพชร เจริญสุข หนึ่งในตัวแทนจากภาคกลางมีอาการอึดอัดและรู้สึกเบื่อ เมื่อต้องรอเป็นเวลานาน และไม่สามารถเอาชนะกับความอึดอัดนั้นได้ คุณเพชรจึงขอถอนตัวออกจากการแข่งขัน ดังนั้นจึงเหลือผู้เข้าแข่งขันเพียง 21 คน ดังนี้
ลำดับการเรียก 8 คนสุดท้ายเรียงตามลำดับที่กรรมการเรียกชื่อ
ผู้เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย
ตารางสรุปผลการแข่งขัน
ลำดับเพลงและเหตุการณ์ในการแข่งขันเพลงแนะนำตัวที่ 8 คนสุดท้ายบันทึกเสียงไว้
สัปดาห์เปิดตัวในสัปดาห์แรกของการถ่ายทอดสดรายการเดอะสตาร์ หัวข้อ"เพลงแสดงถึงความเป็นตัวเอง"(6 มีนาคม พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ : ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 6.28%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ สัปดาห์ที่ 1ในสัปดาห์ที่ 1 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงฮิตในรอบปีที่ผ่านมา"(13 มีนาคม พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ : ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 8.60%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ ในวันประกาศผล จะมีผู้เข้าแข่งขันเดอะสตาร์ในปีที่ผ่านมา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาร้องเพลงในช่วงที่ 2 ของรายการ ซึ่งในสัปดาห์นี้คือ ศุภรุจ เตชะตานนท์ (รุจ) ร้องเพลง เธอหลอกฉัน ฉันหลอกเธอ และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ วาโย อัศวรุ่งเรือง (เก่ง) ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข 4[8][9] อำลาด้วยเพลง เล่าสู่กันฟัง (เบิร์ด ธงไชย) สัปดาห์ที่ 2ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงร็อค" (20 มีนาคม พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ : ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 15.81%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ ในวันประกาศผล วิชญาณี เปียกลิ่น (แก้ม) เดอะสตาร์หญิงคนแรกของเมืองไทย ได้มาร้องเพลง รักแพ้..แม้ใกล้ชิด และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ณัฐพัชร์ ธนนนทร์กิติยศ (ไอซ์) ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข 2[11][12] อำลาด้วยเพลง รักเดียวใจเดียว (รุจ เดอะสตาร์) สัปดาห์ที่ 3ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงลูกทุ่ง" (27 มีนาคม พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ : ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 19.06%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ ในวันประกาศผล สหรัฐต์ หิรัญญ์ธนภูวดล (สิงโต) เดอะสตาร์ที่อายุน้อยที่สุด ได้มาร้องเพลง อย่าเอาเพื่อนเป็นแฟน และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ นวกชมณ ชื้นครองธรรม (เกรซ) ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข 7[15][16] อำลาด้วยเพลง แค่มีเธอ (ปนัดดา เรืองวุฒิ) สัปดาห์ที่ 4ในสัปดาห์ที่ 4 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงป๊อบช้า และ ป๊อบแดนซ์" (3 เมษายน พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
คะแนนสะสมและ 10% จาก 100 เสียงในห้องส่ง
หมายเหตุ : ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 26.44%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ และสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายในการประกาศผลคะแนนสะสมกลางสัปดาห์ด้วย ในวันประกาศผล พรรณวรท ด้วยเศียรเกล้า (แกรนด์) รุ่นพี่เดอะสตาร์ ได้มาร้องเพลง คนในกระจก และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ จิณภัค เปียกลิ่น (ลูกเกต) ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข 1[19][20] อำลาด้วยเพลง ครั้งหนึ่ง..เราเคยรักกัน สัปดาห์ที่ 5ในสัปดาห์ที่ 5 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงของรุ่นพี่ เดอะสตาร์ และ เพลงคู่กับศิลปินรุ่นพี่จาก เดอะสตาร์" (10 เมษายน พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
คะแนน 10% จาก 100 เสียงในห้องส่ง
ในวันประกาศผล อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ (ดิว) รุ่นพี่เดอะสตาร์ ได้มาร้องเพลง นางฟ้า และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ปฏิภาณ หล่อเสถียร (เซน) ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข 5[23][24] อำลาด้วยเพลง พรหมลิขิต (เบิร์ด ธงไชย) หมายเหตุ : หลังจากวันประกาศผลสัปดาห์ที่ 5 นี้ ก็ได้มีการหยุดการแข่งขันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ด้วยเหตุผลที่ว่า ให้ทุกๆคนได้เล่นสงกรานต์กันให้เต็มที่ ก่อนที่จะกลับมาแข่งขันสัปดาห์ที่ 6 อีกครั้งเมื่อวันที่ 24 เมษายน และในวันเสาร์และอาทิตย์ของสัปดาห์นั้น ก็ได้มีเทปพิเศษ เดอะ สตาร์ สเปเชียล มาออกอากาศแทน สัปดาห์ที่ 6ในสัปดาห์ที่ 6 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "Mini Concert 15 นาที" (24 เมษายน พ.ศ. 2553) มีรายละเอียดดังนี้
ในวันประกาศผล สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้) รุ่นพี่เดอะสตาร์ ได้มาร้องเพลง เพลงรัก และ In Love และผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข 6[27][28] อำลาด้วยเพลง รักเธอเสมอ (อัสนี-วสันต์) สัปดาห์ที่ 7 (สุดท้าย)ในสัปดาห์ที่ 7 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "มินิคอนเสิร์ตความยาว 30 นาที" (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) โดยในรอบนี้มีเพลงบังคับเป็นเพลงใหม่ของตัวผู้เข้าแข่งขันเอง 1 เพลง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ในวันประกาศผลครั้งสุดท้าย ซึ่งมีการประกาศผล เดอะสตาร์ คนที่ 6 ของเมืองไทย ได้มีการเพิ่มเวลาการออกอากาศของรายการ เป็น 2 ชั่วโมงครึ่ง และย้ายสถานที่ถ่ายทอดสดไปที่ อินดอร์ สเตเดี่ยม หัวหมาก รวมทั้งทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ได้ยกเลิกการออกอากาศข่าวต้นชั่วโมงในช่วงเวลาออกอากาศรายการเดอะสตาร์อีกด้วย โดย 2 คนสุดท้ายจะต้องร้องเพลงปิดท้ายการแข่งกันคนละ 1 เพลง โดยร้องเรียงลำดับโดยการจับฉลากตอนเปิดรายการ และในคอนเสิร์ตนี้ได้รวม 6 คนที่ไม่ได้ไปต่อ รวมทั้งแขกรับเชิญ ได้แก่ รุจ และแก้ม จากเดอะสตาร์ 4 และฟลุค แกรนด์ และดิวจากเดอะสตาร์ 5 มาร้องเพลงในคอนเสิร์ตนี้ด้วย สำหรับลำดับในการร้องเพลงและการดำเนินรายการในคอนเสิร์ตครั้งนี้มีรายการดังนี้
โดยในปีนี้ เดอะสตาร์ ได้แก่ กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ มีคะแนนรวมทั้งหมด 61.12% ซึ่งเป็นเดอะสตาร์จากภาคกลางคนแรก และ ริท-เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช ที่มีคะแนนเป็นอันดับสอง มีคะแนนรวมทั้งหมด 38.88%[30] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
แฟนเพจ
|
Portal di Ensiklopedia Dunia