เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 2
เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 2 เป็นการแข่งขันเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 2 จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยผู้ชนะเลิศคือ เอ็ม - อรรถพล ประกอบของ[1] ลำดับการเรียก 8 คนสุดท้ายเรียงตามลำดับที่กรรมการเรียกชื่อ
ผู้เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย
ตารางสรุปผลการแข่งขันรายละเอียดของการแข่งขันแต่ละรอบ และมีคะแนน 100 เสียงในห้องส่ง ดังนี้
ลำดับการเรียกชื่อของ 8 ผู้เข้ารอบสุดท้ายการประกาศชื่อของผู้เข้ารอบต่อไป (ตามลำดับ จนถึงผู้ที่ไม่ได้ไปต่อ)
ลำดับเพลงและเหตุการณ์ในการแข่งขันเพลงที่ใช้ในรอบคัดเลือก
เพลงแนะนำตัวที่ 8 คนสุดท้ายบันทึกเสียงไว้
คอนเสิร์ตเปิดตัว 8 คนสุดท้าย สัปดาห์แรกของการถ่ายทอดสดรายการเดอะสตาร์ (4 กันยายน พ.ศ. 2547) มีรายละเอียดดังนี้
สัปดาห์ที่ 1คอนเสิร์ต 11 กันยายน พ.ศ. 2547 ในสัปดาห์ที่ 1 เป็นการแข่งขันในรอบเพลงช้า มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ : หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 14.29%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ วันประกาศผล 12 กันยายน พ.ศ. 2547 ในวัประกาศผล ได้มีการทบทวนคะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งและมีพูดคุยกับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 คน ถึงเรื่องคำคอมเมนต์จากกรรมการทั้งสามท่าน และมีการร้องเพลงร่วมกันในเพลง เพื่อดาวดวงนั้น หลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ไปต่อทีละคนโดยไม่เรียงลำดับคะแนน ยกเว้น 2 อันดับสุดท้ายของสัปดาห์ ได้แก่ น้อง-นัฎฐ์นลี สุรพลานันท์ โดยผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ น้อง-นัฎฐ์นลี สุรพลานันท์ ซึ่งอำลาด้วยเพลง สุดฤทธิ์ สุดเดช สัปดาห์ที่ 2คอนเสิร์ต 18 กันยายน พ.ศ. 2547ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นการแข่งขันในรอบเพลงเร็ว มีรายละเอียดึดังนี้
หมายเหตุ: ตารางพื้นสีเหลือง หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 22.18%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ หมายเหตุ2 : คะแนน 100 เสียงในรอบนี้รวมกันได้ 96 คะแนน เนื่องจากมีบัตรเสีย 4ใบ วันประกาศผล 19 กันยายน พ.ศ. 2547 ในวันประกาศผล ได้มีการทบทวนคะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งและมีพูดคุยกับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 คน ถึงเรื่องราวต่างๆภายในบ้าน และมีการร้องเพลงร่วมกันในเพลง รักหนักแน่น หลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ไปต่อทีละคนโดยไม่เรียงลำดับคะแนน ยกเว้น 2 อันดับสุดท้ายของสัปดาห์ ได้แก่ ใบเตย-พิมพรรณ จันทร์อุดม และปาล์ม-ธีวรา ภาวะพรหม โดยผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ปาล์ม-ธีวรา ภาวะพรหม ซึ่งอำลาด้วยเพลง ฉันจะจำเธอแบบนี้ สัปดาห์ที่ 3คอนเสิร์ต 25 กันยายน พ.ศ. 2547ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นการแข่งขันในรอบเพลงลูกทุ่ง มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ: หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 26.65%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ วันประกาศผล 26 กันยายน พ.ศ. 2547ในวันประกาศผล ได้มีการทบทวนคะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งและมีพูดคุยกับกรรมการให้วิเคราะห์เรื่องการได้ไปต่อหรือไม่ได้ไปต่อ น่าจะเป็นเพราะเหตุผลใด และมีการร้องเพลงร่วมกันในเพลง แฟนจ๋า หลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ไปต่อทีละคนโดยไม่เรียงลำดับคะแนน ยกเว้น 2 อันดับสุดท้ายของสัปดาห์ ได้แก่ อั๊ส-ชนัญญา ตั้งบุญจิตร โดยผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ อั๊ส- ชนัญญา ตั้งบุญจิตร ซึ่งอำลาด้วยเพลง นาทีที่ยิ่งใหญ่ สัปดาห์ที่ 4คอนเสิร์ต 2 ตุลาคม พ.ศ. 2547ในสัปดาห์ที่ 4 เป็นการแข่งขันในรอบเพลงร็อก มีรายละเอียดดังนี้
หมายเหตุ: หมายถึง 2 อันดับสุดท้าย (รวมกันได้ 31.25%) จึงไม่สามารถเปิดเผยคะแนนได้ วันประกาศผล 3 ตุลาคม พ.ศ. 2547ในวันประกาศผล ได้มีการทบทวนคะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งและมีพูดคุยกับกรรมการให้วิเคราะห์เรื่องการได้ไปต่อหรือไม่ได้ไปต่อ น่าจะเป็นเพราะเหตุผลใด และมีการร้องเพลงร่วมกันในเพลง รักแล้วรักเลย หลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ไปต่อทีละคนโดยไม่เรียงลำดับคะแนน ยกเว้น 2 อันดับสุดท้ายของสัปดาห์ ได้แก่ ใบเตย-พิมพรรณ จันทร์อุดม โดยผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ ใบเตย-พิมพรรณ จันทร์อุดม ซึ่งอำลาด้วยเพลง ขอให้เหมือนเดิม สัปดาห์ที่ 5ในสัปดาห์ที่ 5 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "เพลงคู่กับศิลปินจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" และ "เพลง Acoustic มีรายละเอียดดังนี้ คอนเสิร์ต 9 ตุลาคม พ.ศ. 2547
คะแนน 10% จาก 100 เสียงในห้องส่ง
วันประกาศผล 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547ในวันประกาศผล ได้มีการทบทวนคะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งและมีพูดคุยกับกรรมการให้วิเคราะห์เรื่องการได้ไปต่อหรือไม่ได้ไปต่อ น่าจะเป็นเพราะเหตุผลใด และมีการร้องเพลงร่วมกันในเพลง ลึกสุดใจ หลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ไปต่อทีละคนโดยไม่เรียงลำดับคะแนน ยกเว้น 2 อันดับสุดท้ายของสัปดาห์ ได้แก่ เอิร์น-สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ โดยผู้ที่ไม่ได้ไปต่อในสัปดาห์นี้คือ เอิร์น-สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ ซึ่งอำลาด้วยเพลง สิ่งสำคัญ สัปดาห์ที่ 6ในสัปดาห์ที่ 6 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "มินิคอนเสิร์ตความยาว 20 นาที" มีรายละเอียดดังนี้ คอนเสิร์ต 16 ตุลาคม พ.ศ. 2547
วันประกาศผล 17 ตุลาคม พ.ศ. 2547ในวันประกาศผล ได้มีการทบทวนคะแนนจาก 100 เสียงในห้องส่งและมีพูดคุยกับกรรมการให้วิเคราะห์เรื่องการได้ไปต่อหรือไม่ได้ไปต่อ น่าจะเป็นเพราะเหตุผลใด และมีการร้องเพลงร่วมกันในเพลง ชีวิตลิขิตเอง หลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ไปต่อเป็นสองคนสุดท้ายเป็นคนแรก คือนิค-รณวีร์ เสรีรัตน์ ซึ่งมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 1 ในสัปดาห์นี้ ทำให้เหลือ 2 คนบนเวทีคือ พีท-พล นพวิชัย กับ เอ็ม-อรรถพล ประกอบของ โดยผู้ที่ไม่ได้ไปต่อเป็นคนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ คือ พีท-พล นพวิชัย อำลาไปในเพลงล้านใจ สัปดาห์ที่ 7ในสัปดาห์ที่ 7 เป็นการแข่งขันในหัวข้อ "มินิคอนเสิร์ตความยาว 30 นาที" มีรายละเอียดดังนี้ คอนเสิร์ต 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547
วันประกาศผล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2547ในวันประกาศผลครั้งสุดท้าย ซึ่งมีการประกาศผล เดอะสตาร์ คนที่ 2 ของเมืองไทย ได้มีการเพิ่มเวลาการออกอากาศของรายการ เป็น 2 ชั่วโมงครึ่ง และย้ายสถานที่ถ่ายทอดสดไปที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี รวมทั้งทางสถานี โมเดิร์นไนน์ทีวี ได้ยกเลิกการออกอากาศข่าวต้นชั่วโมงในช่วงเวลาออกอากาศรายการเดอะสตาร์อีกด้วย โดย 2 คนสุดท้ายจะต้องร้องเพลงปิดท้ายการแข่งกันคนละ 1 เพลง และยังมีคอนเสิร์ตพิเศษจาก 8 คนสุดท้ายของเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 2 อีกด้วย สำหรับเพลงที่ใช้ในคอนเสิร์ตครั้งนี้มีรายการดังนี้
โดยในปีนี้ เดอะสตาร์คนใหม่ของเมืองไทยได้แก่ เอ็ม-อรรถพล ประกอบของ มีเปอร์เซ็นต์ของคะแนนรวมทั้งหมด 50.89% และนิค-รณวีร์ เสรีรัตน์ ที่มีคะแนนเป็นอันดับสอง มีเปอร์เซ็นต์ของคะแนนรวมทั้งหมด 49.19% การประกาศผลครั้งนี้ถือเป็นบทสรุปของการแข่งขันในฤดูกาลที่ 2 นี้ด้วย รางวัลที่ได้รับ8 คนสุดท้าย ของ The Star ค้นฟ้าคว้าดาว ซีซั่น 2 ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัล ท็อปอวอร์ด 2004 ในสาขา ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นผลงานจากอัลบั้มชุด Your Stars Your Songs นับเป็น The Star เพียงซีซั่นเดียว ที่ได้เข้าชิงรางวัลในฐานะศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม และถือเป็นซีซั่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในรอบ 1 ทศวรรษ ของรายการ The Star ค้นฟ้าคว้าดาว อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia