แคว้นมากาดัน

แคว้นมากาดัน
Магаданская область
ทิวทัศน์ของทะเลสาบแจ็กลอนดอนที่ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้น
ทิวทัศน์ของทะเลสาบแจ็กลอนดอนที่ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้น
ธงของแคว้นมากาดัน
ธง
ตราราชการของแคว้นมากาดัน
ตราอาร์ม
พิกัด: 62°54′N 153°42′E / 62.900°N 153.700°E / 62.900; 153.700
ประเทศรัสเซีย
เขตสหพันธ์ตะวันออกไกล[1]
เขตเศรษฐกิจตะวันออกไกล[2]
สถาปนา3 ธันวาคม ค.ศ. 1953[3]
ศูนย์กลางการบริหารมากาดัน[4]
การปกครอง
 • องค์กรสภาดูมาแคว้น[5]
 • ผู้ว่าการ[7]เซอร์เกย์ โนซอฟ[6]
พื้นที่[8]
 • ทั้งหมด462,464 ตร.กม. (178,558 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 11
ประชากร
 • ประมาณ 
(2018)[9]
144,091 คน
เขตเวลาUTC+11 ([10])
รหัส ISO 3166RU-MAG
ทะเบียนรถ49
รหัส OKTMO44000000
ภาษาราชการรัสเซีย[11]
เว็บไซต์http://www.magadan.ru/

แคว้นมากาดัน (รัสเซีย: Магаданская область, อักษรโรมัน: Magadanskaya oblast, สัทอักษรสากล: [məgɐˈdanskəjə ˈobləsʲtʲ]) เป็นหน่วยองค์ประกอบของสหพันธรัฐรัสเซีย (แคว้น) ตั้งอยู่ในภูมิภาครัสเซียตะวันออกไกลของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล แคว้นมากาดันมีประชากร 156,996 คนจากการสำรวจสำมะโนประชากร พ.ศ. 2553[12] ทำให้เป็นแคว้นที่มีประชากรน้อยที่สุดและหน่วยองค์ประกอบที่มีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับสามในรัสเซีย

มากาดันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเมืองหลวงของแคว้นมากาดัน ชาวแคว้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองแนวชายฝั่งมีสภาพอากาศที่รุนแรงน้อยกว่าพื้นที่ภายใน แม้ว่าทั้งคู่จะมีอากาศที่หนาวมากสำหรับละติจูดนี้

มีพรมแดนติดกับเขตปกครองตนเองชูคอตคาทางทิศเหนือ ดินแดนคัมชัตคาทางตะวันออก ดินแดนฮาบารอฟสค์ทางทิศใต้และสาธารณรัฐซาคาทางทิศตะวันตก เศรษฐกิจมีพื้นฐานมาจากการขุดเหมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทอง, เงิน และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก

ประวัติ

แคว้นมากาดันถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1953[3] ในดินแดนที่ผู้คนนิยมเรียกว่าคาลึยมา (Kolyma) อันเนื่องมาจากการมีอยู่ของทรัพยากรดิบเป็นจำนวนมาก อาธิ แร่ทอง เงิน สังกะสี และทังสเตน เลยเป็นเหตุให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในบริเวณนั้นเกิดขึ้น เช่นถนนหนทาง ที่อยู่อาศัย ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 ถึง 1940 ที่ซึ่งสร้างโดยองค์กร Dalstroy ก็ดี แรงงานบังคับก็ดี หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของสตาลิน องค์กร Dalstroy ก็ได้มีส่วนรับผิดชอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือก่อสร้างในมากาดันเป็นเสียส่วนใหญ่

หลังจากนั้นเป็นต้นมา การใช้แรงงานที่มีการจ่ายค่าแรงได้มาแทนที่แรงงานบังคับอย่างช้า ๆ อันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในมากาดานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขุดทอง เป็นต้น

ชนพื้นเมืองที่อาศัยยอยู่บริเวณนั้นที่ซึ่งเดิมทีเคยทำมาหากินจากการประมงในทะเลทะเลโอค็อตสค์หรือการต้อนกวางเรนเดียร์ในหุบเขาริมแม่น้ำคาลึยมา ได้รับความทุกข์ยากจากการอุตสาหกรรมวิวัฒน์ในบริเวณนั้น แต่อย่างไรก็ดี ชนพื้นเมืองเหล่านั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรใหญ่ ๆ ณ บริเวณนั้นจนกระทั่งปี 1987 ตอนที่นโยบายเปเรสตรอยคาของรัฐบาลได้ออกมา เลยเป็นเหตุทำให้อาคารต่าง ๆ หรือโรงงานต่าง ๆ เริ่มปิดตัวลงจนทำให้ผู้คนส่วนมากที่มีแหล่งรายได้จากการทำโรงงาน ณ ที่นั้นตกงาน[13]

เขตปกครองตนเองชูคอตคาเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมากาดันแต่ถูกแยกออกจากกันในปี 1991

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1997 แคว้นมากาดัน รวมทั้งแคว้นเบรียนสค์ แคว้นเชเลียบินสค์ แคว้นซาราตอฟ และแคว้นโวลอกดา ได้ลงนามในข้อตกลงการกระจายอำนาจกับสหพันธรัฐรัสเซีย[14] แต่ทว่าข้อตกลงนี้ได้ถูกยกเลิกในวันที่ 30 มกราคม 2002[15]

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ทางผ่าน Burkhalinsky เห็นจากฝั่งของเมืองซูซูมัน (Susuman)

แคว้นมากาดันปกคลุมไปด้วยทะเลทรายภูเขา, ทันดรา และป่าไทกา ทางตอนใต้ของแคว้นมีไม้เบิร์ช วิลโลว์ สน และต้นแอลเดอร์เจริญเติบโตอยู่อย่างน้อย

สัตว์ป่า

สัตว์ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของแคว้นมากาดันส่วนใหญ่มักจะมีแกะหิมะ กวางเรนเดียร์ กวางมูส และหมีสีน้ำตาล รวมทั้งมีนกกับเป็ดหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ในบริเวณแคว้นมากาดันด้วย น่านน้ำชายหาดของทะเลโอค็อตสค์อุดมไปด้วยปลาหลายชนิด บางครั้งสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่บางตัว อาธิ วาฬหัวคันศร[16] มีโอกาสที่จะปรากฎในบริเวณนั้นได้ รวมถึง ณ บริเวณนั้นเป็นแห่งประมงชั้นดีสำหรับปลาพอลล็อค เฮร์ริง ค็อด ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา และแซลมอน รวมทั้งปูและหอยอีกด้วย

อ้างอิง

  1. Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
  2. Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
  3. 3.0 3.1 Decree of December 3, 1953
  4. Charter of Magadan Oblast, Article 38.4
  5. Charter of Magadan Oblast, Article 45
  6. Official website of Magadan Oblast. Official Website Of Magadan Oblast เก็บถาวร 2018-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษารัสเซีย)
  7. Charter of Magadan Oblast, Article 62
  8. Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  9. "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
  10. "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  11. ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
  12. Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  13. Perestroika's Legacy and Indigenous Peoples in Magadan, Winfried K. Dallmann, Norwegian Polar Institute. Retrieved 26 February 2007.
  14. "Moscow Signs Power-Sharing Agreements With Five More Regions". Jamestown (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1997-07-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  15. Chuman, Mizuki. "The Rise and Fall of Power-Sharing Treaties Between Center and Regions in Post-Soviet Russia" (PDF). Demokratizatsiya: 146.
  16. Zvezda (TV channel). 2016. Гренландский кит устроил водное шоу у берега моря в Магадане. Retrieved on September 28, 2017

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia