กวางมูส (อังกฤษ : moose ) คือกวางขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตหนาวและอบอุ่นซีกโลกเหนือ สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือสายพันธุ์อะแลสกา[ 2] สามารถพบได้ในบริเวณป่าไทกา ในทวีปอเมริกาเหนือ จะเรียกว่า มูส ในยูเรเชีย จะเรียกว่า เอลก์ พบมากในบริเวณประเทศแคนาดา , ประเทศลัตเวีย , ประเทศเอสโตเนีย และประเทศรัสเซีย
พวกมันเป็นสัตว์ที่ไม่รวมกันเป็นฝูงและมีขนาดใหญ่แถมยังมีเขาที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้มันเคลื่อนที่ได้ค่อยข้างช้าทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อของนักล่าอย่างหมาป่า และมนุษย์ โดยปกติพวกมันจะเคลือนไหวช้าแต่ถ้าพวกมันโกรธหรือตกใจพวกมันก็สามารถวิ่งได้เร็วเช่นกัน
พวกมันจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงซึ่งช่วงนั้นมันจะมีการต่อสู้อย่างดุเดือดของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมีย
การตั้งชื่อ
คำว่า moose เป็นชื่อเรียกของกวางในอเมริกาเหนือส่วนคำว่า elk เป็นคำเรียกในแถบยูเรเชีย เหตุผลที่ใช้ชื่อเรียกไม่เหมือนกันก็เพราะว่าคำว่า elk ในอเมริกาเหนือนั้นเอาไวใช้ในการเรียกชื่อกวางในสายพันธุ์อื่นไปแล้วนั้นก็คือกวางเอลก์ ซึ่งคำว่า elk ดังเดินมาจากภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษเก่าที่พัฒนาขึ้น[ 3]
ส่วนคำว่า moose เริ่มนำมาใช้ในปี 1606[ 4] ซึ่งยืมมาจากภาษาแอลกองเควียน[ 5] [ 6] คำว่า "กวางมูส" เป็นชื่อของแหล่งกำเนิดในอเมริกาเหนือและชื่อวิทยาศาสตร์ของมันมาจากชื่อภาษาละติน[ 7]
กวางมูสหรือเอลก์สูญพันธุ์ไปจากเกาะบริเตนใหญ่ ตั้งแต่ยุคสำริดซึ่งโครงกระดูกที่พบในประเทศสกอตแลนด์ นั้นมีอายุถึง 3,900 ปี[ 8] แต่คำว่า elkก็ยังใช้เป็นชื่อกวางชนิดอื่นอยู่จนพจนานุกรมของศตวรรษที่ 18 ได้อธิบายว่าความหมายของคำว่า elk ว่าเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่เท่าม้า[ 9]
ที่อยู่อาศัย
อเมริกาเหนือ
ยูเรเชีย
จำนวนประชากรและชนิด
จำนวนประชากร
อเมริกาเหนือ
ในประเทศแคนาดา : มีกวางมูสประมาณ 500,000 ถึง 1,000,000 ตัว[ 10] และในนิวฟันด์แลนด์มีประมาณ150,000ตัว[ 11]
ในสหรัฐอเมริกา : อาจจะมีกวางมูสประมาณ 300,000 ตัว ดังนี้ :
อะแลสกา : มีประมาณ 200,000 ตัวในปี 2011[ 12]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : นักนิเวศวิทยาสัตว์ป่าคาดการณ์ว่ามีประมาณ 50,000 ตัวในปี 2009[ 13]
รัฐในแถบเทือกเขาร็อกกี : คาดการณ์ว่ามีประมาณ 7,692 ตัว ในปี 2009[ 14]
รัฐมิชิแกน : มีประมาณ 433 ตัว[ 15]
ยูเรเชีย
ประเทศฟินแลนด์ : ในปี 2009 มีประมาณ 11,500 ตัว[ 16]
ประเทศนอร์เวย์ : ในปี 2009 มีประมาณ 120,000 ตัว[ 17] ในปี 2015 มีกวางมูสถูกยิง 31,131 ตัวมีกวางมูสตายในปี 1999 จำนวน 39,422 ตัว[ 18]
ประเทศลัตเวีย : ในปี 2015 มีประมาณ 21,000 ตัว[ 19]
ประเทศเอสโตเนีย : 13,260 ตัว[ 20]
ประเทศโปแลนด์ : 2,800 ตัว[ 21]
ประเทศเช็กเกีย : สูงสุด 50 ตัว[ 21]
ประเทศรัสเซีย : ในปี 2008 มีประมาณ 730,000 ตัว[ต้องการอ้างอิง ]
ประเทศสวีเดน : ประชากรฤดูร้อนประมาณ 300,000-400,000 ตัว มีคนล่าพวกมันประมาณ 100,000 ตัว[ 22] [ 23]
ชนิด
เอลก์ยูเรเชีย
A. a. alces
พบในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออกประเทศฟินแลนด์ , ประเทศสวีเดน , ประเทศนอร์เวย์ , ประเทศลัตเวีย , ประเทศเอสโตเนีย และประเทศรัสเซีย ไม่สามารถพบได้ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันตกยกเว้นประเทศโปแลนด์ , ประเทศลิทัวเนีย และประเทศเบลารุส เพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 320 ถึง 475 กก. (705 ถึง 1,047 ปอนด์) และเพศเมียมีน้ำหนัก 275 to 375 กก (606 ถึง 827 ปอนด์) ความสูงถึงไหล่มีความสูงตั้งแต่ 1.7 ถึง 2.1 เมตร (5.6 ถึง 6.9 ฟุต)[ 24]
มูสซาฮาหรือมูสไซบีเรียกลาง/มูสเลนา[ 25]
A. a. pfizenmayeri
พบในไซบีเรีย ตะวันออก, ประเทศมองโกเลีย และแมนจูเรีย ส่วนใหญ่พบในป่าทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย เป็นกวางมูสที่พบมากที่สุดในทวีปเอเชีย มีขนาดใกล้เคียงกับ Western Moose of Canada
มูสอุสซูรีหรือมูสอามูร์[ 25]
A. a. cameloides
พบได้มากทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย สายพันธุ์นี้แตกต่างจากสายพันธุ์กวางมูสพันธุ์อื่น ๆ ตรงที่พวกมันมีขนาดตัวและเขาขนาดเล็ก เป็นกลุ่มย่อยที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียและทั่วโลกโดยทั้งเพศผู้และเพศเมียมีความสูงถึงไหล่เพียง 1.65 ถึง 1.85 เมตร (5.4 ถึง 6.1 ฟุต) และมีน้ำหนักระหว่าง 200 ถึง 350 กิโลกรัม (441 และ 772 ปอนด์)[ 26]
มูสชูคอตคาหรือมูสไซบีเรียตะวันออก[ 25]
A. a. burulini
พบได้ที่ไซบีเรีย เป็นกวางที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเอเชีย สามารถสูงได้ประมาณ 2.15 เมตร (7.1 ฟุต) และมีน้ำหนักระหว่าง 500 ถึง 725 กิโลกรัม (1,102 และ 1,598 ปอนด์) ; เพศเมียค่อนข้างเล็ก
มูสตะวันออก
A. a. americana
ภาคตะวันออกของแคนาดา ได้แก่ ภาคตะวันออกของรัฐออนแทรีโอ, รัฐควิเบกทั้งหมด และรัฐในแถบมหาสมุทรแอตแลนติก; รัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ รัฐเมน, รัฐนิวแฮมป์เชียร์, รัฐเวอร์มอนต์, รัฐแมสซาชูเซตส์, รัฐโรดไอแลนด์, รัฐคอนเนตทิคัต และทางภาคเหนือของรัฐนิวยอร์กใกล้ภูเขาแอดิรอนแด็ก จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น เพศหญิงมีน้ำหนักเฉลี่ย 270 กิโลกรัม (595 ปอนด์) เพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 365 กิโลกรัม (805 ปอนด์) และสูงประมาณ 2 เมตร (6.6 ฟุต)
มูสตะวันตก
A. a. andersoni
รัฐบริติชโคลัมเบีย ไปทางตะวันตกถึงรัฐออนแทรีโอ , ตะวันออกของยูคอน , นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ , ตะวันตกเฉียงใต้ของนูนาวุต , รัฐมิชิแกน (บนคาบสมุทร) รัฐวิสคอนซิน รัฐมินนิโซตา รัฐนอร์ทดาโคตา มันมีน้ำหนักประมาณ 340 ถึง 420 กก. (750 ถึง 926 ปอนด์) ในเพศหญิงและ 450 ถึง 500 กิโลกรัม (992 ถึง 1,102 ปอนด์) ในเพศผู้[ 27]
มูสอะแลสกา
A. a. gigas
พวกมันเป็นสายพันธุ์ที่สามารถพบได้มากที่สุดในอเมริกาเหนือ[ 28]
มูสไชรัส
A. a. shirasi
พบได้ในรัฐไวโอมิง , รัฐไอดาโฮ , รัฐยูทาห์ , รัฐโคโลราโด , รัฐวอชิงตัน , รัฐออริกอน และรัฐมอนแทนา [ 29] สาขาย่อยที่เล็กที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือมีน้ำหนักประมาณ 230 ถึง 344 กิโลกรัม (507 ถึง 758 ปอนด์)
† มูสคอเคซัส
A. a. caucasicus
อยู่บริเวณเทือกเขาคอเคซัส ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้วโดยช่วงที่มีชีวิตอยู่จะอาศัยอยู่บริเวณประเทศอิหร่าน , ประเทศรัสเซีย , ประเทศจอร์เจีย , ประเทศอาเซอร์ไบจาน และประเทศตุรกี
ลักษณะ
อาหาร
กวางมูสเป็นสัตว์กินพืชสมุนไพรและสามารถกินพืชหรือผลไม้ได้หลายชนิด กวางตัวเต็มวัยโดยเฉลี่ยนั้นจะต้องการกินอาหารมากกว่า 9,770 กิโลแคลโลรี่ (40.9 MJ) ต่อวันเพื่อรักษาน้ำหนักตัว[ 30] พลังงานของกวางส่วนใหญ่ได้มาจากพืชซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หญ้าแต่จะเป็นยอดสดจากต้นไม้ เช่น วิลโลว์ , เบิร์ช พืชเหล่านี้มีโซเดียมค่อนข้างต่ำจึงทำให้พวกมันต้องไปกินพืชน้ำที่จะให้โซเดียมเพิ่ม[ 31]
ในช่วงฤดูหนาวพวกมันจะไปตามถนนเพื่อเลียเกลือที่คนน้ำโรยถนน[ 32] กวางมูสโดยทั่วไปจะมีน้ำหนัก 360 กิโลกรัม (794 ปอนด์) และสามารถกินได้ถึง 32 กิโลกรัม (71 ปอนด์) ต่อวัน[ 31]
พวกมันไม่มีฟันบนด้านหน้าแต่มีฟันกรามด้านล่างแปดซี่ อีกทั้งพวกมันยังมีลิ้นยาว มีฝีปากและเหงือกซึ่งช่วยในการกินพืชไม้ยืนต้น พวกมันมีฟันกรามขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บดอาหาร ริมฝีปากบนของกวางมูสมีความสำคัญมากเนื่องจากเพื่อช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างยอดสดและกิ่งไม้ที่แข็งและมันยังมีริมฝีปากจะหย่อนยานเพื่อดักไม่ให้อาหารตกลงพื้น[ 33] [ 34] อาหารของพวกมันนั้นจะขึ้นอยู่ตามถิ่นที่มันอยู่อาศัยแต่โดยปกติแล้วพวกมันจะชอบกินไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น เมเปิล [ 35]
ถ้ามันกินใบไม้ต้นเตี้ย ๆ มันอาจงอหรือย่อตัวให้เตี้ยลงโดยใช้ริมฝีปากปากหรือลำตัว สำหรับต้นไม้ขนาดใหญ่ กวางมูสอาจยืนตรงและใช้ขาหน้าพาดต้นไม้ซึ่งทำให้มันสูงได้ถึง 4.26 เมตร (14.0 ฟุต) [ 36] [ 37]
ขน
ขนของพวกมันมีสองชั้นโดยชั้นแรกจะค่อนข้างยาวเพื่อทำให้ร่างกายของมันอบอุ่น ส่วนชั้นที่สองจะมีกลักษณะเป็นขนอ่อนและเต็มไปด้วยอากาศสำหรับฉนวนกันความร้อนที่ดีและยังช่วยให้มันลอยตัวได้เวลาพวกมันว่ายน้ำ[ 38]
ขนาดและน้ำหนัก
กวางมูสข้ามแม่น้ำ
โดยเฉลี่ยแล้วกวางตัวเต็มวัยจะมีความสูงเฉลี่ย 1.4-2.1 เมตร (4.6-6.9 ฟุต) โดยแค่ไหล่ของมันก็สูงกว่ากวางที่ใหญ่ที่สุดในอันดับถัดไปจึงทำให้มันเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน[ 39]
ตัวผู้โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 380 ถึง 700 กก. (838 ถึง 1,543 ปอนด์) และตัวเมียนั้นโดยปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 200 ถึง 490 กิโลกรัม (441 ถึง 1,080 ปอนด์) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับที่อยู่อาศัย อายุ และอาหารการกินด้วย[ 40] [ 41] ความยางตั้งแต่หัวถึงหางอยู่ที่ 2.4-3.1 เมตร (7.9-10.2 ฟุต) หรืออาจจะยาวกว่านี้ 5-12 เซนติเมตร
สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อะแลสกาชื่อสายพันธุ์คือ A. a. gigas ซึ่งความสูงจกพื้นถึงไหล่คือ 2.1 เมตร (6.9 ฟุต) และยาวประมาณ 1.8 เมตร (5.9 ฟุต) ตัวผู้หนักประมาณ 634.5 กิโลกรัม ( 1,399 lb) และตัวเมียหนักประมาณ 478 กิโลกรัม (1,054 ปอนด์) [ 42]
ขนาดกวางมูสที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบคือในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2440 ซึ่งมีน้ำหนัก 820 กิโลกรัม (1,808 ปอนด์) และสูง 2.33 เมตร (7.6 ฟุต)[ 43]
กวางมูสเป็นสัตว์บกที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปอเมริกา เหนือและยุโรป โดยเป็นรองเพียงวัวไบซัน [ 43]
สังคมและการสืบพันธุ์
กวางมูสส่วนมากจะชอบอยู่ตัวเดียวแต่เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์พวกมันจะอยู่กันเป็นกลุ่มหลายตัว การผสมพันธุ์นั้นจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ตัวผู้จะหาคู่โดยใช้เสียงร้องที่ได้ยินไกลถึง 500 เมตร ในขณะที่ตัวเมียก็จะมีเสียงที่คล้ายกัน และถ้ามันเจอเพศผู้ตัวอื่นมาแย่งตัวเมียมันก็จะสู่กันเพื่อจะได้ตัดสินว่าใครจะได้คุ้มครองตัวเมีย[ 44]
พวกมันจะตั้งครรภ์ 8 เดือนโดยจะออกมาแค่ 1 หรือ 2 ตัว[ 45] ในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน[ 46] กวางมูสที่เกิดใหม่จะมีสีแดงเมื่อเทียบกับขนของตัวเต็มวัย และพวกมันก็จะอยู่กับเม่ของมันจนกว่าแม่จะมีลูกตัวใหม่
อายุโดยเฉลี่ยของกวางมูสอยู่ที่ 15-25ปี
(เกิดใหม่) ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
(3 เดือน) พวกมันจะอยู่กับแม่ตลอดเวลา
(9 เดือน) พวกมันจะเริ่มแยกออกจากแม่
(10–11 เดือน) ช่วงนี้มันจะโดนไล่เพราะแม่ตั้งครรภ์ใหม่
การรุกราน
นักล่าตามธรรมชาติ
ภาพวาดยุคเหล็ก ในไซบีเรีย แสดงรูปการล่ากวางมูสโดยเสือโคร่งไซบีเรีย
กวางมูสกำลังถูกล่าโดยหมาป่า
กวางมูสตัวเต็มวัยนั้นมีศัตรูตามธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิดจะมีก็แค่เสือโคร่งไซบีเรีย ,หมาป่า ที่มาล่ากวางมูสบ่อยๆ[ 47] [ 48] [ 49] แต่หมาป่า ส่วนมากจะล่ากวางตัวเมียหรือลูกกวางมากกว่า[ 50]
หมีสีน้ำตาล [ 42] นั้นก็เป็นหนึ่งในผู้ล่าโดยมันจะล่ากวางที่มันเห็นโดยไม่เกียงขนาดว่าจะใหญ่หรือเล็กและยังเป็นนักล่าเพียงตัวเดียวนอกจากหมาป่าที่ล่ากวางมูสในทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเชีย อย่างไรก็ตามพวกมันก็ขี้เกียจที่จะล่ามันจึงรอตอนที่หมาป่าล่าหรือรอตะครุบกวางเด็กมากกว่าที่จะมาไล่ล่ากวางตัวเต็มวัย[ 51] [ 52] [ 53]
หมีดำ ก็สามารถเป็นล่ากวางมูสได้เช่นกันในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนซึ่งเป็นช่วงที่เหยือหายาก[ 54] [ 55] และรวมถึงวุลเวอรีน ก็ชอนกินกวางมูสเช่นกันแต่ส่วนมากมันจะกินซากกวางหรือรอล่าหวางมูสตอนที่พวกมันอ่อนแอจากฤดูหนาว
วาฬเพชรฆาต เป็นสัตว์ทะเลที่มีการล่ากวางมูสด้วยเช่นกันโดยมันจะมีการล่าในบริเวณชายฝั่งของเกาะในประเทศแคนาดา [ 56] อีกทั้งยังมีการบอกเล่าว่ากวางมูสถูกล่าโดยปลาฉลามกรีนแลนด์ อีกด้วย[ 57]
ในบางพื้นที่นั้นกวางมูสเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับหมาป่า โดยมันมักจะตามล่ากวางเป็นระยะทาง 100 ถึง 400 เมตร (330 ถึง 1,310 ฟุต) บางครั้งเป็นระยะทางถึง 2-3 กิโลเมตร (1.2 ถึง 1.9 ไมล์) โดยการโจมตีของหมาป่านั้นจะทำการล่าเป็นฝูงแล้วต้อนให้จนมุมจากนั้นก็จะมีการต่อสู้เกิดขึ้นโดยกวางอากจะถีบหมาป่าด้วยกีบเท้าที่แข็งและหมาป่าจะพยายามโดมตีที่อกซึ่งจะทำให้เสียเลือดจำนวนมาก หรืออาจโจมตีที่จมูกหรืออวัยวะเพศเพื่อทำให้กวางเป็นลมแล้วลงมือฆ่า[ 58]
หมาป่าส่วนมากจะล่ากวางที่มีอายุน้อยและกวางที่มีอายุเยอะหรือกวางแก่เพราะการล่ากวางที่อยู่ช่วยวัยกลางๆนั้นเป็นเรื่องยากจึงทำให้กวางที่มีอายุ2-8ปีไม่ค่อยโดนฆ่าเท่าไหร่[ 59] การล่ากวางเป็นฝูงจะมีประสิทธิภาพและสำเร็จได้ง่ายกว่าการล่าตัวเดียวนั้นทำให้พวกมันล่าเป็นฝูง[ 60] [ 61]
จากการวิจัยเกี่ยวกับการล่ากวางมูสแสดงให้เห็นว่าพวกมันการตอบสนองต่อภัยคุกคามในการรับรู้ซึ่งได้มาจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาตญาณของมัน เมือก่อนพวกมันถูกล่าจนทำให้ประชากรของพวกมันลดลงเป็นจำนวนมากแต่ในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มค่อนข้างดีขึ้น และจากการศึกษาพบว่าพวกมันได้มีการเรียนรู้และปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสามารถหนีหมาป่าให้ทันด้วยการดมกลิ่นหรือฟังยินเสียงหรือการพบนกกินซากเช่นอีกา[ 62]
กวางมูสยังเป็นโรคต่าง ๆ ในรูปแบบของปรสิตด้วย เช่น การถูกแมลงวันมูส (moose botfly) ฝังไข่ลงในเนื้อ หรือการมีพยาธิ[ 63]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
ประวัติ
อาหาร
อุบัติเหตุ
วิชาที่ว่าด้วยสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์
อ้างอิง
↑ {{{assessors}}} (2008). Alces alces . In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 11 February 2009.
↑ Franzmann, A. W., LeResche, R. E., Rausch, R. A., & Oldemeyer, J. L. (1978). Alaskan moose measurements and weights and measurement-weight relationships . Canadian Journal of Zoology, 56(2), 298-306.
↑ "Online Etymology Dictionary – elk" . สืบค้นเมื่อ 24 January 2013 .
↑ "moose" . Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
↑ "moose" . Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
↑ "moose" . Dictionary.com Unabridged . Random House. สืบค้นเมื่อ 2011-10-25 .
↑ "elk, n.1" . Oxford English Dictionary . สืบค้นเมื่อ 15 December 2010 .
↑ Feral: Rewilding the Land, the Sea, and Human Life By George Monbiot -- University of Chicago press 2014 Page 124
↑ Bailey, Nathan (1731). An Universal Etymological English Dictionary Royal Exchange. Page EL--EM.
↑ "Hinterland Who's Who" . Hww.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25 .
↑ "Newfoundland's 120,000 moose are descended from just four that were introduced a century ago" . Canadacool.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-24.
↑ Interior Alaska Moose News (Fall 2011) , p. 6, "How Do Scandinavia and Alaska Compare?"
↑ "Archived copy" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-08-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ "Wyoming moose numbers fall short" , Billings Gazette , May 28, 2009
↑ "DNRE Survey Results Indicate Approximately 433 Moose in Western Upper Peninsula"
↑ RiistaWeb เก็บถาวร 2010-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Riistaweb.riista.fi. Retrieved on 2011-01-09.
↑ "Elgen truer skogen" (ภาษานอร์เวย์). Aftenposten .
↑ "Elgjakt, 2015/2016" . Statistisk sentralbyrå .
↑ "zm.gov.lv" (ภาษาลัตเวีย). zm.gov.lv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-06 .
↑ "Põtrade arvukust tahetakse oluliselt vähendada." Postimees 06.26.2013. Retrieved on 6-27-2013. (เอสโตเนีย)
↑ 21.0 21.1 "Factsheet: Eurasian Elk (Elk, reindeer, roe deer (Cetartiodactyla Cervidae Capreolinae) > Alces alces)" . Lhnet.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27 .
↑ "jagareforbundet.se" (ภาษาสวีเดน). jagareforbundet.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01 .
↑ "salenalgen.se Om älgar" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20 .
↑ Smith, A. T., Xie, Y., Hoffmann, R. S., Lunde, D., MacKinnon, J., Wilson, D. E., & Wozencraft, W. C. (Eds.). (2010). A guide to the mammals of China . Princeton University Press.
↑ 25.0 25.1 25.2 "Asian Moose" . Bear Creek Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27 .
↑ Jackson, K. (2009). Moose . Reaktion Books.
↑ "Moose in British Columbia" (PDF) . Ministry of Environment, Lands and Parks, British Columbia. สืบค้นเมื่อ 2014-08-18 .
↑ Franzmann, A. W., LeResche, R. E., Rausch, R. A., & Oldemeyer, J. L. (1978). Alaskan moose measurements and weights and measurement-weight relationships . Canadian Journal of Zoology, 56 (2), 298-306.
↑ "Moose Status and Hunting in Washington By Dana L. Base, Associate Wildlife Biologist August 2004" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 21, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-12-07 .
↑ "Info on moose diet from Norwestern University" . Qrg.northwestern.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16 .
↑ 31.0 31.1 Biology by numbers: an encouragement to quantitative thinking By Richard F. Burton – Cambridge University Press 1998 Page 84-85
↑ Journey to New England By Patricia Harris, David Lyon – Patricia Harris-David Lyon 1999 Page 398
↑ Rodgers, Art (2001), Moose , Voyager Press, p. 34, ISBN 0-89658-521-2
↑ Seasons of the Moose By Jennie Promack, Thomas J. Sanker -- Gibbs Smith 1992 Page 21
↑ Moose diet เก็บถาวร 2010-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Mooseworld. Retrieved on 2011-01-09.
↑ North American big-game animals by Byron Dalrymple -- Stoeger Publishing 1983 Page 84
↑ The Land and Wildlife of North America By Peter Farb -- California State department of Education 1966 Page 177
↑ Big Game Hunting in Newfoundland
↑ "Moose Facts from Maine" . Jackmanmaine.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27 .
↑ "Moose" . Env.gov.nl.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 2, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27 .
↑ Franzmann, A. W. (1981). Alces alces . Mammalian Species, 1-7.
↑ 42.0 42.1 Nancy Long; Kurt Savikko (2009-08-07). "Moose: Wildlife Notebook Series – Alaska Department of Fish and Game" . Adfg.state.ak.us. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27 .
↑ 43.0 43.1 Wood, The Guinness Book of Animal Facts and Feats . Sterling Pub Co Inc. (1983), ISBN 978-0-85112-235-9
↑ DW Hartt, Data; Web Coordinator. "Moose Reproduction" . Web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-04-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16 .
↑ Ruff, Sue (1999). The Smithsonian Book of North American Mammals . Washington: Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-845-2 .
↑ "Moose: Minnesota DNR" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-12-07. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11 .
↑ Frasef, A. (2012). Feline Behaviour and Welfare . CABI. pp. 72–77. ISBN 978-1-84593-926-7 .
↑ Tigris Foundation dedicated to the survival of the Amur tiger and leopard in the wild : UK HOME เก็บถาวร 2011-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Tigrisfoundation.nl (1999-11-13). Retrieved on 2011-01-09.
↑ Hayward, M. W., Jędrzejewski, W., & Jedrzejewska, B. (2012). Prey preferences of the tiger Panthera tigris . Journal of Zoology, 286 (3), 221-231.
↑ Nancy Long; Kurt Savikko (2007-12-17). "Wolf: Wildlife Notebook Series – Alaska Department of Fish and Game" . Adfg.state.ak.us. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27 .
↑ Nancy Long; Kurt Savikko (2009-08-07). "Brown Bear: Wildlife Notebook Series – Alaska Department of Fish and Game" . Adfg.state.ak.us. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27 .
↑ Opseth, O. (1998). Brown bear (Ursus arctos) diet and predation on moose (Alces alces) calves in the southern taiga zone in Sweden . Cand Sci Thesis, Norwegian University of Science and Technology, Trondheim.
↑ Mattson, D. J. (1997). Use of ungulates by Yellowstone grizzly bears Ursus arctos . Biological Conservation, 81 (1), 161-177.
↑ Charles C. Schwartz & Albert W. Franzmann (1983). "Effects of Tree Crushing on Black Bear Predation on Moose Calves" (PDF) . Bears: Their Biology and Management . A Selection of Papers from the Fifth International Conference on Bear Research and Management, Madison, Wisconsin, USA, February 1980. 5 : 40. JSTOR 3872518 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2008-12-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-05 .
↑ "Hinterland Who's Who – Cougar" . Hww.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-09-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27 .
↑ Robert W. Baird; Robin W. Baird (31 August 2006). Killer Whales of the World: Natural History and Conservation . Voyageur Press. pp. 23–. ISBN 978-0-7603-2654-1 . สืบค้นเมื่อ 2011-02-02 .
↑ "Moose-eating shark rescued in Newfoundland harbour" . CBC Newfoundland & Labrador . Canadian Broatcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016 .
↑ Graves, Will (2007). Wolves in Russia: Anxiety throughout the ages . Calgary: Detselig Enterprises. p. 222. ISBN 1-55059-332-3 . OCLC 80431846 .
↑ "Watching Wolves On a Wild Ride By Les Line, National Wildlife Federation, December/January 2001, vol. 39 no. 1" . Nwf.org:80. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16 .
↑ "Alaska Science Forum, June 10, 2004 ''Are ravens responsible for wolf packs?'' Article #1702 by Ned Rozell" . Gi.alaska.edu. 2004-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16 .
↑ Carnivores of the World by Dr. Luke Hunter. Princeton University Press (2011), ISBN 9780691152288
↑ Berger, Joel; Swenson, Jon E.; Persson,Inga-Lill Recolonizing Carnivores and Naive Prey: Conservation Lessons from Pleistocene Extinctions. เก็บถาวร 2013-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Science 2/9/2001
↑ Jaenson, Thomas G.T. (2011). "Larver av nässtyngfluga i ögat - ovanligt men allvarligt problem. Fall av human oftalmomyiasis från Dalarna och sydöstra Finland redovisas (summary)" . Lakartidningen . 108 (16). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 21 June 2011 . Moose bot fly larvae are common parasites of moose (Alces alces ) in north and central Sweden. Last year, however, C. ulrichii was on three occasions recorded for the first time from Småland, south Sweden.