เขตปกครองตนเองชูคอตคา

เขตปกครองตนเองชูคอตคา
Чукотский автономный округ
การถอดเสียงอื่น
 • ชูคอตЧукоткакэн автономныкэн округ
ทิวทัศน์ของเทือกเขาซาลาโตยที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของชูคอตคา
ทิวทัศน์ของเทือกเขาซาลาโตยที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของชูคอตคา
ธงของเขตปกครองตนเองชูคอตคา
ธง
ตราราชการของเขตปกครองตนเองชูคอตคา
ตราอาร์ม
เพลง: เพลงสดุดีเขตปกครองตนเองชูคอตคา[1]
พิกัด: 66°40′N 171°00′E / 66.667°N 171.000°E / 66.667; 171.000
ประเทศรัสเซีย
เขตสหพันธ์ตะวันออกไกล[2]
เขตเศรษฐกิจตะวันออกไกล[3]
สถาปนา10 ธันวาคม ค.ศ. 1930[4]
ศูนย์กลางการบริหารอะนาดีร์
การปกครอง
 • องค์กรสภาดูมา[5]
 • ผู้ว่า[7]วลาดิสลาฟ คุซเนตซอฟ[6]
พื้นที่[8]
 • ทั้งหมด737,700 ตร.กม. (284,800 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่7
ประชากร
 (สำมะโนครัวปี 2010)[9]
 • ทั้งหมด50,526 คน
 • ประมาณ 
(2018)[10]
49,348 (−2.3%) คน
 • อันดับ82
 • ความหนาแน่น0.068 คน/ตร.กม. (0.18 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง64.8% คน
 • นอกเมือง35.2% คน
เขตเวลาUTC+12 ([11])
รหัส ISO 3166RU-CHU
ทะเบียนรถ87
รหัส OKTMO77000000
ภาษาราชการรัสเซีย[12]
เว็บไซต์чукотка.рф

เขตปกครองตนเองชูคอตคา (อังกฤษ: Chukotka Autonomous Okrug; รัสเซีย: Чуко́тский автоно́мный о́круг, อักษรโรมัน: Chukotsky avtonomny okrug, สัทอักษรสากล: [tɕʊˈkotskʲɪj ɐftɐˈnomnɨj ˈokrʊk]; ชูคอต: Чукоткакэн автономныкэн округ, Chukotkaken avtonomnyken okrug, สัทอักษรสากล: [tɕukotˈkaken aβtonomˈnəken ˈokɹuɣ]) หรือ ชูคอตคา (รัสเซีย: Чуко́тка, อักษรโรมัน: Chukotka) เป็นหน่วยองค์ประกอบทิศตะวันออก (เขตปกครองตนเอง) ในสหพันธรัฐรัสเซีย มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกไกลของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองของเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล ชูคอตคาเป็นหน่วยองค์ประกอบที่มีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 จำนวน 50,526 คน (สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010) และมีประชากรหนาแน่นน้อยที่สุด[9]

อะนาดีร์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของชูคอตคาและนิคมตะวันออกสุดที่มีสถานะเมืองในรัสเซีย

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ที่ดินในสภาพธรรมชาติที่ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งในชูคอตคาทางเหนือไกล

เขตปกครองตนเองชูคอตกามีอาณาเขตติดกับทะเลชุกชีและทะเลไซบีเรียตะวันออกทางทิศเหนือ; ทะเลและช่องแคบเบริงทางทิศตะวันออก; ดินแดนคัมชัตคาและแคว้นมากาดันทางทิศใต้; และสาธารณรัฐซาคาทางทิศตะวันตก คาบสมุทรชุกชีพาดไปทางทิศตะวันออกเพื่อเป็นการทำให้เกิดช่องแคบเบริงระหว่างไซบีเรียและคาบสมุทรอะแลสกาและเป็นตัวแบ่งระหว่างอ่าวอะนาดีร์กับมหาสมุทรแปซิฟิก แหลมเดจเนฟ (Cape Dezhnyov) ซึ่งเป็นจุดทิศตะวันออกที่สุดในรัสเซียแผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองชูคอตกา

ตามหลักนิเวศวิทยาแล้ว ชูคอตคาสามารถแบ่งได้เป็น 3 โซน ซึ่งได้แก่ทะเลทรายอาร์กติกทางตอนเหนือ ทันดราทางตอนกลาง และป่าไทกาทางตอนใต้ ครึ่งหนึ่งของเขตปกครองตนเองชูคอตคาอยู่ในวงกลมอาร์กติก พื้นที่ของเขตปกครองตนเองชูคอตคามีภูเขาตั้งอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีเทือกเขาชูคอตสกีและที่ราบสูงอะนาดีร์เป็นต้น

แม่น้ำในชูคอตคาส่วนมากมีต้นธารจากภูเขาทางตอนเหนือและตอนกลางของเขตปกครองตนเอง โดยจะมีแม่น้ำอะนาดีร์ แม่น้ำโอโมโลน (Omolon river) และแม่น้ำราอูฉัว (Rauchua river) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของชูโคตกา เป็นต้น

พื้นที่ส่วนมากของชูคอตคาปกคลุมด้วยมอส ไลเคน และพืชในภูมิภาคอาร์กติก ซึ่งเหมือนกันกับอะแลสกาตะวันตก รอบ ๆ อ่าวอะนาดีร์และหุบเขาแม่น้ำมีต้นสน ต้นเบิร์ช ต้นพอปลาร์ และต้นวิลโลว์เจริญเติบโตอยู่ มากกว่า 900 สปีชีส์ของพืชเจริญเติบโตในชูคอตคา ซึ่งรวมทั้งสปีชีส์ 400 กว่าสปีชีส์ของมอสและไลดคนด้วย รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกว่า 220 สปีชีส์และปลาน้ำจืดกว่า 30 สปีชีส์[13]

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของชูคอตคาได้รับผลกระทบจากทะเลที่อยู่รอบข้าง ได้แก่ทะเลเบริง ไซบีเรียตะวันออก และชุกชี สภาพอากาศของชูคอตคาในแต่ละฤดูกาลมักจะได้รับผลกระทบจากลมหนาวจากทางตอนเหนือและลมมรสุมจากทางตอนใต้ แหลมนาวาริน (Navarin cape) ที่ซึ่งตั้งอยู่ในชูคอตกา เป็นพื้นที่ที่โดนพายุเฮอร์ริเคนและพายุต่าง ๆ พัดผ่านมามากที่สุดในประเทศรัสเซีย พื้นที่ที่ติดทะเลหรือชายหาดของชูคอตคามักจะมีลมพัดผ่านตลอดและมีจำนวนฝนที่ตกมาต่อปีที่น้อยมาก คิดเป็น 200 ถึง 400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหูมิจะแตกต่างกันระหว่าง −35 และ −15 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม และมีอุณหภูมิระหว่าง 5 ถึง 14 องศาเซลเซียสในเดือนกรกฎาคม ฤดูกาลปลูกพืชในชูคอตคาถือว่าสั้นมากถ้าเปรียบเทียบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ในโลก โดยจะยาวนานเพียง 80 ถึง 100 วันต่อปีเท่านั้น

ประวัติ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณชูคอตคาเป็นกลุ่มแรกคือนักล่าชาว Paleo-Siberian ที่มาจากภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออก พื้นที่นี้ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของเบอรินเจียที่ซึ่งเป็นสะพานแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]

ก่อนการมาถึงของรัสเซีย

ตามเดิมแล้ว ดินแดนชูคอตคาเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองที่อยู่ที่นั่น โดยหลัก ๆ แล้วจะมีชาวชูคอต (Chukchi), ยูอิท (Siberian Yupiks; Yuit), กอร์ยัก (Koryaks), ชูวาน (Chuvans), อีเวน (Evens; Lamuts), และอีนูอิต[ต้องการอ้างอิง] เป็นต้น ตามข้อมูลในปีคริสต์ศักราช 1930 ประชากรพื้นเมืองส่วนมากที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนชูคอตคาคือชาวชูคอต

การสำรวจและยึดครองโดยรัสเซีย

แผนที่ของชูคอตคาเมื่อปี 1773 แสดงถึงเส้นทางสำรวจของเดชนอฟเมื่อปี 1648

หลังจากการยึดครองคาซานได้โดยรัสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เส้นทางการค้าที่ไปทางเทือกเขายูรัลและไซบีเรียได้เปิดให้ใช้งาน หนึ่งในผู้ที่เดินทางไปตามเส้นทางนั้นคือชาวคอสแซ็ก ชาวคอสแซ็กได้ทำการตั้งป้อมปราการไว้บริเวณตะวันออกของรัสเซียและได้ขดขี่ชนพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณนั้นไปด้วย

ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 รัสเซียได้เดินทางไปถึงบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือไกล การค้นพบของชาวชูคอตครั้งแรกได้ถูกค้นพบโดยชาวคอสแซ็กเมื่อปี 1641 เมื่อปี 1649 นักสำรวจชาวรัสเซีย เซมยอน เดจเนฟ (Semyon Dezhnyov) ได้ทำการสำรวจตะวันออกเฉียงเหนือไกลตามชายฝั่งและได้ตั้งค่ายพักทหารช่วงฤดูหนาวในบริเวณที่ใกล้ต้นน้ำของแม่น้ำอะนาดีร์ที่ซึ่งจะกลายเป็นเมืองในป้อมปราการอะนาดีรสค์ (Anadyrsk) ในเวลาต่อมา เดจนยอฟพยายามที่จะบังคับให้ชาวชูอคตจ่ายบรรณาการให้กับรัสเซียมาเป็นระยะเวลานานกว่าสิบปีแต่ก็ไม่สำเร็จ ป้อมปราการอะนาดีรสค์ได้ถูกทิ้งร้างในภายหลังอันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นจนเกินไปและไม่มีสัตว์ป่าให้ล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ป้อมปราการอะนาดีรสค์ได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากการค้นพบเส้นทางเดินเรือจากอะนาดีรสค์ไปยังคาบสมุทรคัมชัตคา ป้อมปราการนี้ได้ใช้เป็นฐานในปฏิบัติการสำรวจดินแดนคัมชัตคาและที่อยู่อาศัยในบริเวณรอบ ๆ ก็ขึ้นกับอะนาดีรสค์ด้วยเช่นกัน เมื่อนักสำรวจได้ค้นพบว่าคัมชัตคานั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรที่มากมาย รัฐบาลรัสเซียได้ให้ความสนใจและสำคัญกับดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือไกลมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 1725 พระเจ้าซาร์ปิออตร์ที่ 1 มหาราชได้มีกระแสรับสั่งให้ไวทัส เบริงทำการสำรวจบริเวณคัมชัตคาและ Afanasy Shestakov เป็นผู้นำการสำรวจทางการทหารเพื่อบีบบังคัมชาวชูคอตให้ทำการจ่ายเครื่องบรรณาการให้กับทางรัสเซีย แต่ทว่าการสำรวจเหล่านั้นไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อกองเรือได้ชนกับอะไรบางอย่างจังทำให้เรืออัปปางลง ผู้ที่รอดชีวิต รวมทั้ง Shestakov ได้ถูกสังหารโดยชาวชูคอตในเวลาต่อมา

ในปี 1731 ดมิทรี ปัฟลุตสกี (Dmitry Pavlutsky) ได้พยายามอีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือจากชาวคอสแซ็กและชนพื้นเมืองในบริเวณนั้น ปัฟลุตสกีได้เดินเรือขึ้นไปตามแม่น้ำอะนาดีร์และได้ทำลายป้อมปราการของชาวชูคอตในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกได้สำเร็จ การกระทำอันไม่ยอมปราณีของเขาทำให้ชาวชูคอตต้องจ่ายเครื่องบรรณาการให้รัสเซียแค่เพียงเวลาชั่วคราวเท่านั้น จนกระทั่งปี 1747 ชาวชูคอตได้ปราชัยเหนือกองกำลังรัสเซียในบริเวณนั้นและได้สังหารปัฟลุตสกีอีกด้วย

เมื่อรัฐบาลรัสเซียตระหนักได้ว่าการบีบบังคับให้ชาวชูคอตอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียด้วยกำลังทหารนั้นไม่สำเร็จ รัฐบาลรัสเซียได้เปลี่ยนแบบแผนเป็นการเสนอสัญชาติรัสเซียแก่ชาวชูคอต สนธิสัญญาสันติภาพรพหว่างรัสเซียและชาวชูคอตได้ลงนามเมื่อปี 1778 ที่ซึ่งเป็นการยกเว้นการบังคับจ่ายเครื่องบรรณาการขนสัตว์แก่รัฐบาลรัสเซียโดยชาวชูคอต

ในปีเดียวกัน กัปตันชาวอังกฤษ เจมส์ คุก ได้ทำการสำรวจแหลมนอร์ท (ปัจจุบันชื่อว่าแหลม Schmidt) และอ่าว Providence ด้วยความกังวลที่ว่าชาติยุโรปชาติอื่นอาจจะมายึดครองดินแดนนี้เยกาเจรีนามหาราชินีได้ทรงมีพระดำรัสในการมีการสำรวจและทำแผนที่ของพื้นที่ในบริเวณนั้น จากการสำรวจที่นำโดย Joseph Billings และ Gavril Sarychev ที่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1785 ได้เกิดการเขียนแผนที่ของคาบสมุทรชุกชี ชายฝั่งตะวันตกของอะแลสกา และหมู่เกาะอะลูเชียนขึ้น หลังจากนั้นมา เมื่อปี 1821 ถึง 1825 นายพลเรือชาวเยอรมันสัญชาติรัสเซีย Ferdinand von Wrangel และ Fyodor Matyushkin ได้นำการสำรวจตามชายฝั่งทะเลไซบีเรียตะวันออกและสำรวจดินแดนคาลึยมา และแม่น้ำ Bolshoy Anyuy และ Maly Anyuy

อิทธิพลจากชาติตะวันตก

ภาพวาดเสมือนของชาวชูคอตโดย Louis Choris เมื่อปี 1816

ชูคอตคาส่วนมากยังคงไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิรัสเซียทั้งหมด จึงทำให้ชาติมหาอำนาจต่าง ๆ (เช่น อเมริกา อังกฤษ หรือนอร์เวย์) เริ่มทำการล่าและแลกเปลี่ยนสิ่งของกันในบริเวณนั้นตั้งแต่ปี 1820 ขึ้นมา หลังจากการขายอะแลสกาให้กับสหรัฐอเมริกา นักล่าวาฬและพ่อค้าชาวอเมริกันได้ทำการขยายการทำกิจการต่าง ๆ ไปยังดินแดนชูคอตคาและอิทธิพลต่างชาติก็ถึงจุดสูงสุด ณ เวลานั้น หลังจากปี 1880 รัสเซียได้ทำการตอบโต้โดยการสร้างหน่วยสาดตระเวนชายฝั่งขึ้นมาเพื่อหยุดเรืออเมริกันไม่ให้เข้ามาในดินแดนนั้นและยึดทรัพย์สินของเรือเหล่านั้นไปด้วย และในปี 1888 เขตการบริหารอะนาดีร์ได้ถูกจัดตั้งขึ้น แต่ทว่าอำนาจเหนือพื้นที่ชูคอตคาโดยรัสเซียได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้งในช่วงประมาณ 1900 ชาวต่างชาติได้เข้ามาในดินแดนชูคอตคาหลังเหตุการณ์การตื่นทองที่ยูคอนเมื่อปี 1898

ในปี 1909 เพื่อทำให้พื้นที่นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย เขตทั้ง 2 เขตได้ถูกจัดตั้งขึ้นในภูมิภาคอะนาดีร์ ซึ่งก็คือเขตอะนาดีร์และชูคอตคา รัฐบาลรัสเซียได้อนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เช่น Hudson's Bay Company และ US Northeast Siberia Company มีสิทธิในการขุดทอง เหล็ก และแกรไฟต์ในบริเวณชูคอตคาตั้งแต่ปี 1902 และ 1912

เกาะแรงเกลเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำหรับการอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองโดยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปี 1916 รัสเซียได้ทำการอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองเหนือดินแดนเกาะแรงเกลอย่างเป็นทางการ แต่ในปี 1921 ชาวแคนาดานามว่า Vilhjalmur Stefansson ได้พยายามที่จะอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองเกาะนั้นโดยการไปสร้างที่อยู่อาศัยขนาดย่อมบนเกาะนั้น แต่ทว่าในปี 1924 สหภาพโซเวียตได้ยึดครองเกาะนั้นอย่างถาวรและทำการทำลายที่อยู่อาศัยของคนชาติตะวันตกและเนรเทศพวกเขาออกไปจากเกาะแรงเกล อันเป็นจุดจบของอิทธิพลของชาติตะวันตกเหนือดินแดนชูคอตคา

สมัยสหภาพโซเวียต

ในสมัยสหภาพโซเวียตนั้น ดินแดนชูคอตคาเป็นเป้าหมายในการทำนารวมของสหภาพโซเวียต รวมถึงการขับไล่ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แล้วออกจากพื้นที่นั่น แต่ทว่ากระบวรการดังกล่าวจะรุนแรงน้อยกว่าพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในสหภาพโซเวียต[14][15]

เมื่อนาซีเยอรมนีได้รุกรานสหภาพโซเวียตเมื่อปีคริสต์ศักราช 1941 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในชูคอตคาเริ่มมีการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการขุดแร่ดีบุกจากเหมืองในพื้นที่แถบนั้นจนถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจหลักในชูคอตคา แต่ต่อมานักธรณีวิทยาได้สำรวจดินแดนนั้นจนพบปริมาณแร่ทองที่มีจำนวนมากที่ซึ่งจะเริ่มมีการทำเหมืองทองในบริเวณนั้นตอนช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ต่อมา

สมัยสหพันธรัฐรัสเซีย

ประธานาธิบดีดมีตรี เมดเวเดฟ ชูคอตคาเมื่อปี 2008

ในช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 2001 ถึง 2008 ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชูคอตคาในขณะนั้น โรมัน อับราโมวิช ได้ลงทุนกับการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของชูคอตคาด้วยกำลังทรัพย์ของตัวเขาเอง การพัฒนาเศรษฐกิจนี้ได้ทวีคูณผลิตภัณฑ์มวลรวมของเขตปกครองตนเองเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและเพิ่มรายได้ของประชากรที่นั่นเป็นสามเท่าจากเดิม[16] ในปีคริสต์ศักราช 2004 อับราโมวิชได้พยายามที่จะลาออกจากตำแหน่งแต่ดันถูกแต่งตั้งขึ้นให้เป็นผู้ว่าการเขตปกครองตนเองไปอีกหนึ่งสมัยโดยวลาดีมีร์ ปูติน จนกระทั่งในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของปี 2008 ประธานาธิบดีรัสเซียในขณะนั้น ดมีตรี เมดเวเดฟ ได้ยอมรับคำขอของอับราโมวิชในลาออกจากตำแหน่งของเขาถึงแม้โครงการเพื่อการกุศลของเขาในชูคอตกาจะดำเนินอยู่ต่อก็ตาม เงินเดือนโดยเฉลี่ยของประชากรที่นั่นได้เพิ่มจากเพียง 165 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5,550 บาท) ต่อเดือนในปี 2000 ขึ้นไปเป็น 826 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 27,750 บาท) ต่อเดือนในปี 2006[17]

เศรษฐกิจ

ชูคอตคาเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองน้ำมัน แก๊ซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่เงิน แร่ทอง และทังสเตนมาก โดยทรัพยากรเหล่านั้นกำลังถูกขุดไปใช้อย่างช้า ๆ แต่ประชากรในชนบทของชูคอตกาส่วนมากมักจะพึ่งพาการเลี้ยงกวางเรนเดียร์ การล่าวาฬ และการประมงเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ในขณะที่ประชากรที่อยู่ในเมืองมักจะทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับการขุดเหมือง การบริหาร การก่อสร้าง วัฒนธรรม การศึกษา ยารักษาโรค และงานอื่น ๆ ทำ

การเดินทาง

พื้นที่ส่วนมากของชูคอตคานั้นไม่มีถนนตัดผ่าน ดังนั้นการเดินทางทางอากาศจึงเป็นช่องทางหลักในการเดินทางภายในชูคอตคา อย่างไรก็ดี ในชูคอตคาก็ยังมีถนนที่เชื่อมระหว่างที่อยู่อาศัยบางแห่งกับอีกแห่ง เช่น เอกเวกิโนต-อีอุลติน (ยาว 200 กิโลเมตร) เป็นต้น เมื่อถึงช่วงฤดูหนาว ถนนบางเส้นได้ถูกสร้างขึ้นบนแหล่งน้ำที่แข็งตัวลงเป็นกาลชั่วคราวเพื่อเชื่อมระกว่างที่ตั้งถิ่นฐานจากแห่งหนึ่งไปสู่แห่งหนึ่ง

ในปี 2009 การสร้างสะพานลอเรนเพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่างลาฟเรนติยาสู่ลอริโน (ยาว 40 กิโลเมตร) ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการที่สำคัญของเส้นทางการเดินทางภายในชูคอตคา

การปกครองส่วนท้องถิ่น

การแบ่งส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นของชูคอตกา (ตัวเลขจะไปสัมพันธ์กับรายชื่อที่ได้กล่าวไว้)

เขตปกครองตนเองชูคอตคาสามารถแบ่งได้เป็น 6 เขต ดังนี้:

  1. เขตอะนาดีร์สกี (Anadyrsky; Анадырский)
  2. เขตบิลิบินสกี (Bilibinsky; Билибинский)
  3. เขตอีอุลตินสกี (Iultinsky; Иультинский)
  4. เขตปราวิเดนสกี (Providensky; Провиденский)
  5. เขตชาอุนสกี (Chaunsky; Чаунский)
  6. เขตชูคอตสกี (Chukotsky; Чукотский)

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
189712,900—    
192613,500+4.7%
193921,524+59.4%
195946,689+116.9%
1970101,184+116.7%
1979132,859+31.3%
1989157,528+18.6%
200253,824−65.8%
201050,526−6.1%
202147,490−6.0%
แหล่งอ้างอิง: สำมะโนประชากรของรัสเซียและสหภาพโซเวียต

เขตปกครองตนเองชูคอตคามีประชากรอยู่ที่ 47,490 (การสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2021); 50,526 (การสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2010);[9] 53,824 (สำมะโน ค.ศ. 2002);[18] 157,528 (สำมะโน ค.ศ. 1989).[19] อีกทั้ง ชูคอตคาเป็นเพียงไม่กี่ที่ที่มีประชากรชายมากกว่าประชากรหญิงในประเทศรัสเซีย[20]

การคาดหมายคงชีพ

กราฟแสดงถึงการคาดหมายคงชีพในชูคอตกา (ภาษษอังกฤษ)[21][22]

ชาติพันธุ์ของประชากร

ประชากรกว่าร้อยละ 37 เป็นชนพื้นเมืองตากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี 2021 โดยมีชาวรัสเซียคิดเป็นประมาณร้อยละ 54 และชนชาติอื่น ๆ อีกคิดเป็นประมาณร้อยละ 9 โดยในร้อยละเก้านี้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวยูเครน คัลมึค ตาตาร์ และบูร์ยัต รองลงมาตามลำดับ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Law #45-OZ
  2. Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
  3. Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
  4. Resolution of 10 December 1930.
  5. Charter of Chukotka Autonomous Okrug, Article 27
  6. "Putin appointed an official from the "LPR" as the head of Chukotka". Novaya Gazeta Europe (ภาษารัสเซีย). 15 March 2023. สืบค้นเมื่อ 15 March 2023.
  7. Charter of Chukotka Autonomous Okrug, Article 40
  8. Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  9. 9.0 9.1 9.2 Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
  10. "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
  11. "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  12. ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
  13. WWF International, The Bering Sea Ecoregion, Chukotka's Natural Heritage at a Glance ("online version" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 4, 2016.)
  14. "Корякский язык" (ภาษาRussian). UNESCO Moscow Office. สืบค้นเมื่อ 1 March 2024.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  15. Хаковская, Л.Н. (2016). "Коллективизация оленеводческих хозяйств Чукотки в 1940-х гг" [Collectivization of Reindeer Husbandries in Chukotka through the 1940s] (PDF). Proceedings of III Всероссийская конференция, посвященная памяти А. П. Васьковского (ภาษาRussian). Magadan: 358–361. สืบค้นเมื่อ 1 March 2024.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  16. Smale, Will (29 September 2005). "What Abramovich may do with his money". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2009. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
  17. Shaun Walker (4 July 2008). "Abramovich quits job in Siberia to spend more time on Western front". The Independent. London: Independent News and Media Limited. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2008. สืบค้นเมื่อ 4 July 2008.
  18. Russian Federal State Statistics Service (May 21, 2004). "Численность населения России, субъектов Российской Федерации в составе федеральных округов, районов, городских поселений, сельских населённых пунктов – районных центров и сельских населённых пунктов с населением 3 тысячи и более человек" [Population of Russia, Its Federal Districts, Federal Subjects, Districts, Urban Localities, Rural Localities—Administrative Centers, and Rural Localities with Population of Over 3,000] (XLS). Всероссийская перепись населения 2002 года [All-Russia Population Census of 2002] (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ August 9, 2014.
  19. Demoscope Weekly (1989). "Всесоюзная перепись населения 1989 г. Численность наличного населения союзных и автономных республик, автономных областей и округов, краёв, областей, районов, городских поселений и сёл-райцентров" [All Union Population Census of 1989: Present Population of Union and Autonomous Republics, Autonomous Oblasts and Okrugs, Krais, Oblasts, Districts, Urban Settlements, and Villages Serving as District Administrative Centers]. Всесоюзная перепись населения 1989 года [All-Union Population Census of 1989] (ภาษารัสเซีย). Институт демографии Национального исследовательского университета: Высшая школа экономики [Institute of Demography at the National Research University: Higher School of Economics]. สืบค้นเมื่อ August 9, 2014.
  20. "Каталог публикаций::Федеральная служба государственной статистики". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 May 2013.
  21. "Демографический ежегодник России" [The Demographic Yearbook of Russia] (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service of Russia (Rosstat). สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  22. "Ожидаемая продолжительность жизни при рождении" [Life expectancy at birth]. Unified Interdepartmental Information and Statistical System of Russia (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia