ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง (อิตาลี: Regno delle Due Sicilie; อังกฤษ: Kingdom of the Two Sicilies) เป็นชื่อใหม่ที่สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง หรือสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 แห่งเนเปิลส์แห่งราชวงศ์บูร์บงทรงพระราชทานให้แก่บริเวณทางใต้ของอิตาลีและซิซิลีหลังจากสมัยนโปเลียนและการฟื้นฟูอำนาจเมื่อปี ค.ศ. 1816 ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่เนเปิลส์ ที่มาก่อนที่ฝรั่งเศสจะรุกรานในสมัยนโปเลียนราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่ในบริเวณนี้ซึ่งขณะนั้นแบ่งเป็นสองราชอาณาจักร: ราชอาณาจักรเนเปิลส์และราชอาณาจักรซิซิลี พระเจ้าชาลส์ที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสเปน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1759 มาตรา 2 ของสนธิสัญญาเนเปิลส์ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1759 กำหนดให้ทรงตั้งพระราชโอรสองค์ที่สาม เจ้าชายดอนเฟอร์ดินานโด (ที่ทรงตั้งราชโอรสองค์ที่ 4 เพราะต้องยกเว้นราชโอรสองค์แรกเจ้าชายฟิลลิปดยุคแห่งคาลาเบรียผู้ทรงเป็นปัญญาอ่อน) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ทรงได้รับมงกุฏซิซิลีทั้งสองในพระนามพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 แห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์และพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีตามกำหนดของกฎการสืบราชบัลลังก์ (Pragmatic Decree) ของวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1759 ซึ่งกำหนดว่าผู้สืบราชวงศ์จะไปทางพระราชโอรสของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ และถ้าไม่มีพระราชโอรสก็จะไปทางพระอนุชา นอกจากว่ากษัตริย์แห่งสเปนจะรวมกับราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ซึ่งถ้าเกิดขึ้นก็จะตกไปเป็นของพระราชโอรส, พระราชนัดดา หรือ great-grandson ของผู้ครองสองนคร ถ้าสายของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสเปนสิ้นสุดลง มงกุฏราชบัลลังก์ซิซิลีทั้งสองก็จะตกไปเป็นของพระญาติสตรีที่ใกล้ที่สุดกับพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน หลังจากเปลี่ยนชื่อราชอาณาจักรเป็นราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองแล้วเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ก็ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ที่มาของชื่อชื่อ “ซิซิลีทั้งสอง” มาจากการแยกอาณาจักรซิซิลีในปี ค.ศ. 1282 แม้ว่าจะปกครองอย่างเป็นอาณาจักรเดียวมาร่วมร้อยห้าสิบปี เกาะซิซิลีและแผ่นดินใหญ่แยกตัวจากกันเมื่อ Sicilian Vespers แข็งตัวและขับการปกครองของเนเปิลส์ออกจากซิซิลีและยอมรับกษัตริย์จากอารากอนแทนที่ ราชอาณาจักรเนเปิลส์ฝรั่งเศสปกครองบริเวณเนเปิลส์แต่ยังใช้เรียกตนเองว่าราชอาณาจักรซิซิลีเพื่อแสดงว่ายังเป็นเจ้าของซิซิลีอยู่ ฉะนั้นบริเวณเนเปิลส์จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “ราชอาณาจักรซิซิลีทางฝั่งแหลมฟาโร” ตามประภาคารตรงปลายแหลมทางด้านช่องแคบเมสสินา แม้ว่าราชอาณาจักรซิซิลีมิได้ใช้ชื่อเรียกตนเองว่า “ราชอาณาจักรซิซิลี” มาตั้งแต่สัญญาสงบศึกคาลตาเบลลอตตาในปี ค.ศ. 1302 แต่ใช้ชื่อตรีนาเกรียแทนที่ อาณาจักรทั้งสองมิได้เป็นอิสระภายใต้การปกครองของตนเองจนกระทั่งปี ค.ศ. 1735 ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสเปน และมิได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1815 ตามการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ระหว่างปี ค.ศ. 1816 ถึงปี ค.ศ. 1848 เกิดการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของราชวงศ์บูร์บงถึงสามครั้งในอิตาลีรวมทั้งการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพของซิซิลี ปี ค.ศ. 1848 เมื่อซิซิลีเป็นอิสระจากการปกครองของราชวงศ์บูร์บงเป็นเวลา 16 เดือน พระเจ้าแผ่นดินของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ค.ศ. (1816–1861)
ในปี ค.ศ. 1860–1861 ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองสูญเสียอิสรภาพต่อราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย ตำแหน่งอาณาจักรซิซิลีทั้งสองจึงสิ้นสุดลง แต่ก็ยังมีการอ้างสิทธิโดยประมุขของราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลี บุคคลอื่นๆ ในราชวงศ์ซิซิลีทั้งสอง:
ราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสองนอกบัลลังก์ราชวงศ์บางราชวงศ์ยังมีสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสองนอกบัลลังก์รวมทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย, พระเจ้าแผ่นดินแห่งบาวาเรีย, วืร์ทเต็มเบิร์ก และฮาโนเวอร์, พระราชินีแห่งสเปน สมเด็จพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย และ พระสันตะปาปา พระประมุขของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง (ค.ศ. 1861–ปัจจุบัน)
ธงของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
ดูเพิ่มอ้างอิงหนังสืออ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia