รัฐสุลต่านแซนซิบาร์
รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ (สวาฮีลี: Usultani wa Zanzibar , อาหรับ: سلطنة زنجبار, อักษรโรมัน: Sulṭanat Zanjībār) [1] เป็นรัฐมุสลิมในแอฟริกาตะวันออกที่ปกครองโดยสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ ระหว่าง ค.ศ. 1856 - 1964 [4] ดินแดนของรัฐสุลต่านนีเมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดยุคสมัย และในที่สุด รัฐสุลต่านนี้มีอำนาจอธิปไตยอยู่เหนือเพียง หมู่เกาะแซนซิบาร์ และพื้นที่แนวชายฝั่งของเคนยา 16 กม. ในขณะที่พื้นที่ภายในประเทศเคนยาในตอนนั้นเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ทำให้พื้นที่แถบชายฝั่งถูกบริหารราชการแผ่นดินเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมนั้นโดย พฤตินัย ภายใต้ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1963 สุลต่านแห่งแซนซิบาร์ทรงสละอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ และในวันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน เคนยาก็ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีถัดมา ญัมชิด บิน อับดุลลออฮ์ สุลต่านพระองค์สุดท้าย ทรงถูกปลดออกจากอำนาจและสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือแซนซิบาร์ ซึ่งเป็นดินแดนสุดท้าย อันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐสุลต่าน เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1964 เกิดการปฏิวัติขึ้นในรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ นำโดยพรรคแอฟริกันแอฟโฟร-ชีราซี เพื่อโค่นล้มรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่อยู่เป็นกลุ่มอาหรับ นำโดยกลุ่มคนผิวสีซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐสุลต่าน การปฏิวัติเป็นไปอย่างโหดร้ายทารุณ มีผู้บาดเจ็บล้มตายประมาณ 2,000-20,000 คน พรรคดังกล่าวได้ใช้วิธีการอันโหดร้ายทารุณอย่างยิ่ง เช่น การสังหาร และบางครั้งถึงขั้นข่มขืนชาวอาหรับ ประวัติศาสตร์การก่อตั้งตามที่นักสำรวจในศตวรรษที่ 16 นามว่า เลโอ อาฟริกานุซ กล่าวไว้ว่า แซนซิบาร์ (Zanguebar) เป็นคำที่ชาวอาหรับและเปอร์เซียใช้เรียกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาที่ทอดยาวจากเคนยาไปจนถึงโมซัมบิก ซึ่งปกครองโดยอาณาจักรมุสลิมกึ่งอิสระ 5 อาณาจักร ได้แก่ มอมบาซา มาลินดี กิลวา โมซัมบิก และ โซฟาลา นอกจากนี้ อาฟริกานุซ ยังสังเกตอีกว่าทุกรัฐมีข้อตกลงสวามิภักดิ์ต่อรัฐสำคัญๆ ในแอฟริกากลาง รวมถึง ราชอาณาจักรมูตาปา ด้วย [5] [6] ในปี ค.ศ. 1698 แซนซิบาร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนโพ้นทะเลของโอมาน หลังจากที่ ซะอิฟ บิน ซุลตัน อิหม่ามของโอมาน เอาชนะโปรตุเกสใน มอมบาซา ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศเคนยา ในปีค.ศ. 1832 [7] หรือ 1840 [8] ผู้ปกครองโอมาน ซะอิด บิน ซุลตัน ทรงย้ายราชสำนักของเขาจากกรุงมัสกัตมายังสโตนทาวน์ บนเกาะอุนกุจา (เกาะแซนซิบาร์) พระองค์ได้ทรงสถาปนากลุ่มชนชั้นนำอาหรับและทรงสนับสนุนให้มีการปลูกต้น กานพลู โดยใช้แรงงานทาสบนเกาะ [9] ต่อมมการค้าของแซนซิบาร์ตกอยู่ในมือของพ่อค้าจากอนุทวีปอินเดีย มากขึ้น ซึ่งซะอิดทรงสนับสนุนให้พ่อค้าเหล่านี้มาตั้งถิ่นฐานบนเกาะ หลังจากที่พระองค์สรรคตในปีค.ศ. 1856 พระราชโอรสทั้งสอง คือ มาญิด บิน ซะอิด และ ทูเวไน บิน ซะอิด ได้ต่อสู้กันเพื่อชิงราชบัลลังก์ ดังนั้นแซนซิบาร์และโอมานจึงถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร ที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง ทูเวไน ทรงเป็นสุลต่านแห่งมัสกัตและโอมาน ในขณะที่ มาญิดทรงเป็นสุลต่านองค์แรกของแซนซิบาร์ แต่จำเป็นต้องจ่ายราชบรรณาการประจำปีให้กับราชสำนักโอมานในกรุงมัสกัต [10] [11] ระหว่างการครองราชย์เป็นสุลต่านนาน 14 ปี พระองค์ได้ทรงรวบรวมอำนาจของพระองค์ให้มั่นคงโดยเกี่ยวข้องกับ การค้าทาสในท้องถิ่น ภายใต้แรงกดดันจากอังกฤษ รัชทายาทของพระองค์ พระนามว่า บาร์กัช บิน ซะอิด ได้ทรงช่วยยกเลิก การค้าทาสในแซนซิบาร์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นส่วนใหญ่ [12] สุลต่านคนที่สาม เคาลีฟะฮ์ บิน ซะอิด ยังทรงผลักดันความก้าวหน้าของประเทศในการยกเลิกทาสอีกด้วย [13] การสูญเสียพระราชอำนาจของสุลต่านเหนืออาณาจักรสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของชายฝั่งสวาฮีลี ซึ่งเรียกว่า ซันจญ์ และ เส้นทางการค้าที่ทอดยาวไปในทวีปยุโรป ไปจนถึงคินดู บนแม่น้ำคองโก จนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1884 อย่างไรก็ตาม ในปีนั้นเองสมาคมอาณานิคมเยอรมันได้บังคับให้ผู้นำชนเผ่าในพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่ตกลงที่จะให้เยอรมันเป็นผู้อารักขา จนทำให้สุลต่าน บาร์กัช บิน ซะอิด ทรงออกมาเรียกร้อง ซึ่งในช่วงนั้นเองได้เกิดการประชุมเบอร์ลิน และ การล่าอาณานิคมแอฟริกา เยอรมนีเริ่มสนใจในพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้งในปีค.ศ. 1885 จากการเข้ามาของ บริษัทแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น มีภารกิจในการตั้งอาณานิคมในพื้นที่ดังกล่าว ในปีค.ศ. 1886 อังกฤษและเยอรมันได้พบปะกันเป็นการลับเพื่อหารือถึงจุดมุ่งหมายในการขยายอิทธิพลในเขตเกรทเลกส์ของแอฟริกา โดยมีเขตอิทธิพลที่ตกลงกันไว้แล้วในปีก่อนหน้า โดยอังกฤษจะยึดครองพื้นที่ที่ต่อมาจะกลายเป็นรัฐในอารักขาแอฟริกาตะวันออก (ปัจจุบันคือ เคนยา ) และเยอรมันจะยึด แทนซาเนีย ในปัจจุบัน ทั้งสองได้เช่าพื้นที่ชายฝั่งจากแซนซิบาร์และจัดตั้งสถานีการค้าและป้อมปราการ จนในอีกไม่กี่ปีต่อมา ดินแดนในแผ่นดินใหญ่ของแซนซิบาร์ทั้งหมดถูกปกครองโดยมหาอำนาจจักรวรรดิยุโรป เริ่มตั้งแต่ในปีค.ศ. 1888 เมื่อ บริษัทแอฟริกาตะวันออกของจักรวรรดิอังกฤษ เข้ามาบริหารเมือง มอมบาซา [14] ในปีเดียวกันนั้นบริษัทแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนีได้รับอำนาจในการปกครองโดยตรงอย่างเป็นทางการเหนือพื้นที่ชายฝั่งที่เคยอยู่ภายใต้การคุ้มครองของเยอรมันมาก่อน ส่งผลให้เกิดการลุกฮือของชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า การกบฏอาบูชิรี ซึ่งได้รับการปราบปรามโดยกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมัน และเป็นสัญญาณว่าอิทธิพลของแซนซิบาร์บนแผ่นดินใหญ่จะสิ้นสุดลง การสถาปนารัฐแซนซิบาร์ในอารักขาของอังกฤษจากการลงนามในสนธิสัญญาเฮลิโกลันด์-แซนซิบาร์ ระหว่างสหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิเยอรมัน ในปีค.ศ. 1890 ทำให้แซนซิบาร์เองกลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ [15] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1896 หลังจากการสวรรคตของสุลต่านฮาเม็ด บิน ทูเวไน อังกฤษและแซนซิบาร์สู้รบกันเป็นเวลา 38 นาที ซึ่งถือเป็นสงครามที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ การต่อสู้เพื่อสืบทอดอำนาจเกิดขึ้นเมื่อ คอลิด บิน บาร์กัช พระภาดาในสุลต่านยึดอำนาจ แต่อังกฤษต้องการให้ ฮามูด บิน โมฮัมเหม็ด ขึ้นเสวยราชสมบัติ เนื่องจากอังกฤษเชื่อว่าจะสมารถทำงานร่วมกับพระองค์ได้ง่ายกว่า อังกฤษให้เวลาคอลิดหนึ่งชั่วโมงในการเสด็จอพยพออกจากพระราชวังของสุลต่านในสโตนทาวน์ คอลิดทำไม่ได้และแทนที่จะทำเช่นนั้น กลับทรงรวบรวมกองทัพจำนวน 2,800 นายเพื่อต่อสู้กับอังกฤษ อังกฤษเปิดฉากโจมตีพระราชวังและสถานที่อื่นๆ รอบเมือง หลังจากนั้นคอลิดก็ทรงล่าถอยและเสด็จลี้ภัย ต่อมาเจ้าชายฮามูดได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่าน [16] การสถาปนาแอฟริกาตะวันออกในอารักขาของอังกฤษในปีค.ศ. 1886 รัฐบาลสหราชอาณาจักรสนับสนุนให้ วิลเลียม แม็กคินนอน ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับสุลต่านอยู่แล้วรวมทั้งบริษัทเดินเรือของเขาทำการค้าขายในบริเวณ เกรทเลกส์ของแอฟริกา อย่างกว้างขวาง เพิ่มอิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคนั้น เขาได้ก่อตั้งสมาคมแอฟริกาตะวันออกของอังกฤษซึ่งส่งผลให้ บริษัทแอฟริกาตะวันออกของอังกฤษ ได้รับพระราชทานตราตั้งในปี 1888 รวมทั้งได้รับพระราชทานอำนาจสิทธิในการบริหารราชการในดินแดนชายฝั่ง 240 กม. ที่ทอดยาวจาก แม่น้ำจูบบา ผ่านเมืองมอมบาซาไปจนถึง แอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี ซึ่งเช่ามาจากสุลต่าน “เขตอิทธิพล”ของอังกฤษที่เป็นไปตามตกลงกันใน การประชุมเบอร์ลิน ในปี 1885 นี้ ได้ขยายออกไปทางชายฝั่งและภายในประเทศเคนยาในอนาคต และหลังจากปี พ.ศ. 2433 ก็รวมถึง ยูกันดา ด้วยเช่นกัน มอมบาซาเป็นศูนย์กลางการบริหารในขณะนั้น [14] อย่างไรก็ตาม บริษัทเริ่มล้มเหลว และในวันที่ 1 กรกฎาคม 1895 รัฐบาลอังกฤษประกาศให้ แอฟริกาตะวันออกเป็นรัฐในอารักขา และการบริหารราชการได้ถูกโอนไปยังกระทรวงต่างประเทศ ต่อมาในปี 1902 การบริหารราชการได้ถูกโอนกลับไปยัง กระทรวงอาณานิคมอีกครั้ง อีกทั้งดินแดนของยูกันดาก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐในอารักขาด้วย ในปี 1897 ลอร์ดเดลาเมียร์ ผู้บุกเบิกการตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาว ได้เดินทางมาถึงที่ราบสูงของเคนยา ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐในอารักขา [17] : 761 ลอร์ดเดลาเมียร์มีแนวคิดว่าการเกษตรในพื้นที่นี้น่าจะประสบผลสำเร็จดี ในปี 1902 เขตแดนของดินแดนในอารักขาได้รับการขยายออกไปเพื่อรวมพื้นที่ที่เคยเป็นจังหวัดทางตะวันออกของ ยูกันดา [17] : 761 [18] นอกจากนี้ในปีปีเดียวกัน สมาคมแอฟริกาตะวันนออกยังได้รับดินแดนจำนวน 1,300 km2 (500 sq mi) เพื่อส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาวในเขตภูเขา ลอร์ดเดลาเมียร์เริ่มทำเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง และในปี 1905 เมื่อผู้อพยพจำนวนมากมาจากอังกฤษและแอฟริกาใต้ ดินแดนในอารักขาจึงถูกโอนจากอำนาจของกระทรวงต่างประเทศไปเป็นอำนาจของกระทรวงอาณานิคม [17] : 762 เมืองหลวงถูกย้ายจากมอมบาซาไปที่ ไนโรบี ในปี 1905 รัฐบาลและสภานิติบัญญัติได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมติสภาในปี 1906 [17] : 761 รัฐบาลนี้กำหนดให้ผู้บริหาร เป็นข้าหลวง และจัดให้มีสภานิติบัญญัติและสภาบริหาร พันโท เจ. เฮย์ส แซดเลอร์ เป็นข้าหลวงและผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรก มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับชนเผ่าในพื้นที่ แต่ประเทศก็ถูกเปิดโดยรัฐบาลอาณานิคมโดยมีการนองเลือดเพียงเล็กน้อย [17] : 761 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้อพยพจากอังกฤษและแอฟริกาใต้เดินทางมาเพิ่มมากขึ้น และในปี 1919 ประชากรยุโรปมีจำนวนประมาณ 9,000 คน [17] : 761 การสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือเคนยาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.1920 พื้นที่ภายในรัฐของอารักขาแอฟริกาตะวันออกถูกผนวกเป็นดินแดนของอังกฤษ ส่วนหนึ่งของอดีรัฐในอารักขาถูกสถาปนาขึ้นเป็นอาณานิคมของเคนยา และตั้งแต่นั้นมาสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ก็ไม่มีพระราชอำนาจเหนือดินแดนนั้นอีกเลย พื้นที่แนวชายฝั่ง 16 กม. ยังคงเป็นรัฐในอารักขาภายใต้ข้อตกลงกับสุลต่านของแซนซิบาร์ ส่วนแถบชายฝั่งที่เหลือซึ่งอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของสุลต่านแห่งแซนซีบาร์ ต่อมาก็ถูกตั้งขึ้นเป็นรัฐในอารักขาเคนยาในปี 1920[14] รัฐในอารักขาเคนยาได้รับการปกครองโดยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเคนยา ตามข้อตกลงระหว่างสหราชอาณาจักรและสุลต่านลงวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 [17] : 762 [19] โดยสรุปแล้ว “อาณานิคมเคนยา” หมายถึงดินแดนภายในประเทศ “รัฐในอารักขาเคนยา” เป็นพื้นที่ชายฝั่ง 16 กม. รวมทั้งเกาะบางเกาะซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ จนกระทั่งเคนยาได้รับเอกราช อาณานิคมเคนยาและรัฐในอารักขาเคนยาสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963 สหราชอาณาจักรได้สละอำนาจอธิปไตยเหนืออาณานิคมเคนยา และภายใต้ข้อตกลงลงวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1963 สุลต่านทรงเห็นพ้องและทรงพร้อมกับการประกาศเอกราชของเคนยา สุลต่านจะทรงยุติอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐในอารักขาเคนยา [17] : 762 ดังนั้น เคนยาจึงกลายเป็นประเทศเอกราชภายใต้พระราชบัญญัติเอกราชของเคนยา ค.ศ. 1963 หลังจากนั้น 12 เดือน ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1964 เคนยาได้กลายเป็นสาธารณรัฐภายใต้ชื่อ "สาธารณรัฐเคนยา" [17] : 762 สิ้นสุดรัฐแซนซิบาร์ในอารักขาของอังกฤษและการถอดถอนสุลต่านเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1963 รัฐในอารักขาซึ่งครั้งหนึ่งมีอาณาบริเวณเหนือเกาะแซนซิบาร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1890 ได้ถูกยุติลง สหราชอาณาจักรไม่ได้ให้เอกราชแก่แซนซิบาร์ เนื่องจากสหราชอาณาจักรไม่เคยมีอำนาจอธิปไตยเหนือแซนซิบาร์ ในทางกลับกัน โดยพระราชบัญญัติแซนซิบาร์ ค.ศ. 1963 ของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรได้ยุติการเป็นรัฐในอารักขาและจัดให้มีการปกครองตนเองเต็มรูปแบบในแซนซิบาร์ในฐานะรัฐอิสระภายในเครือจักรภพ เมื่อรัฐในอารักขาถูกยกเลิก แซนซิบาร์ก็กลายเป็นรัฐที่มีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญภายในเครือจักรภพภายใต้การปกครองของสุลต่าน [20] สุลต่านญัมชิด บิน อับดุลลอฮ์ ทรงถูกโค่นล้มและถอดถอนจากราชสมบัติในหนึ่งเดือนต่อมาในช่วงการปฏิวัติแซนซิบาร์ [21] ญัมชิดทรงลี้ภัย และรัฐสุลต่านเปลี่ยนการปกครองเป็น สาธารณรัฐประชาชนแซนซิบาร์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 การดำรงอยู่ของสาธารณรัฐสังคมนิยมนี้สิ้นสุดลงด้วยการรวมกับแทนกันยีกา เพื่อก่อตั้ง สหสาธารณรัฐแทนกันยีกาและแซนซิบาร์ ซึ่งหกเดือนต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ แทนซาเนีย [8] ข้อมูลประชากรในปีค.ศ. 1964 ประเทศนี้เป็นประเทศที่มี การปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ โดยมีสุลต่านญัมชิด ทรงปกครอง [22] แซนซิบาร์มีประชากรประมาณ 230,000 คน ซึ่งบางคนอ้างว่ามีบรรพบุรุษเป็นชาวเปอร์เซีย และเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่าชาวชีราซี [2] ยังมีกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่สำคัญจำนวน 50,000 คน ที่เป็นชาวอาหรับ และประชากรราว 20,000 คน ที่เป็นชาวเอเชียใต้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในธุรกิจและการค้า [2] กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เริ่มผสมปนเปกัน และความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ก็เริ่มเลือนลาง [22] ตามที่นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งกล่าวไว้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่สุลต่านญัมชิดได้รับการสนับสนุนโดยทั่วไปก็คือความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของพระราชวงศ์ [22] อย่างไรก็ตาม ชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในเกาะซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ มักมีฐานะร่ำรวยกว่าชาวพื้นเมือง [23] พรรคการเมืองหลักๆ จัดตามกลุ่มชาติพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ โดยชาวอาหรับครองอำนาจในพรรคชาตินิยมแซนซิบาร์ (ZNP) และชาวพื้นเมืองครองอำนาจใน พรรคแอฟโฟร-ชีราซี (ASP) [22] ดูเพิ่มเติมภาพ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia