พิธีสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย
พิธีสำเร็จการศึกษา (อังกฤษ: graduation ceremony) เป็นพิธีการพิเศษซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อมอบปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจัดให้มีขึ้นในต่างประเทศมาก่อน เช่นสหรัฐอเมริกาหรือหลายประเทศในทวีปยุโรป ต่อมาประเทศไทยจึงเริ่มรับเอาประเพณีดังกล่าวเข้ามา โดยกราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ เพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน จึงบัญญัติศัพท์ให้เรียกว่า พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ทั้งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ภายหลังมีสถาบันอุดมศึกษาจัดพิธีอย่างเดียวกันโดยมิได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลเชิญพระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนิน หรือทูลเชิญพระอนุวงศ์เสด็จไปทรงเป็นประธาน จึงบัญญัติเป็นศัพท์เรียกขึ้นใหม่ว่า พิธีประสาทปริญญาบัตร พิธีพระราชทานปริญญาบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473[1] และปฏิบัติสืบต่อกันมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นประจำทุกปี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิต (หรือแพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ตึกบัญชาการ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) ในครั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยกราบทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ เรียนเชิญเสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนส่งหนังสือเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ รวม 11 แห่ง อาทิ กรมยุทธศึกษาทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารเรือ สภากาชาดสยาม วชิรพยาบาล มหามงกุฎราชวิทยาลัย ราชบัณฑิตยสภา และโรงเรียนกฎหมาย เอกอัครราชทูตนานาประเทศ เป็นต้น มาร่วมพิธีด้วย ในพิธีดังกล่าว มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์บัณฑิตชั้นโท (หรือมหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น และบัณฑิตชั้นเอก (หรือดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ.จี. เอลลิส คณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น แล้วพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิตจำนวน 34 คน ในจำนวนนั้น 18 คนมาจากปีการศึกษา 2471 และ 16 คนจากปีการศึกษา 2472 เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราโชวาท และเสด็จพระราชดำเนินกลับ ต่อมา สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า "มหาวิทยาลัยขอพระบรมราชานุญาตสงวนธรรมเนียมนี้ไว้คือ ถือว่าการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าพระที่นั่ง หากเสด็จไม่ได้ ก็จะเป็นการถวายปริญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผู้แทนพระองค์" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบแล้วก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามนั้น ธรรมเนียมนี้จึงสืบต่อมาจนปัจจุบัน[1] พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในระหว่างเสด็จฯ นิวัตประเทศไทย เป็นครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์[2] และเมื่อวันที่ 23 เมษายน เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัย โดยในครั้งนั้น มีพระราชประสงค์ให้ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นให้เพียงพอแก่ประชาชน เพราะขณะนั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์รับนักศึกษาแพทย์ได้เพียงปีละ 50 คน ต่อมาจึงก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มตามพระราชประสงค์ดังกล่าว[3] [4] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โดยเสด็จพระราชดำเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2492-2493 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาล หนังสือพิมพ์เคยคำนวณว่า หากเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่มีพระราชกระแสตอบว่า ทรง "เสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย"[5] นอกจากนี้ ทรงเห็นว่า การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีความสำคัญ เนื่องจากบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ดังนั้นจึงมีรับสั่งว่า "จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"[5] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นระยะเวลามากกว่า 50 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 จึงต้องยุติพระราชกิจในการนี้ลง ด้วยพระชนมพรรษามากขึ้นประกอบกับทรงพระประชวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยประดับธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และธงประจำพระองค์ในพระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จแทนพระองค์ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จไปถึง ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ให้ทอดผ้าทิพย์อันประดับด้วยพระครุฑพ่าห์เพื่อสื่อความหมาย เสมือนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง มหาวิทยาลัยเอกชนสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ถือเป็นการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ แต่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์ พระบรมวงศ์จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ตามคำกราบทูลเชิญของมหาวิทยาลัย โดยเมื่อเสด็จถึงสถานที่ประกอบพิธี ให้บรรเลงเพลงมหาชัย ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ไม่ต้องทอดผ้าทิพย์ ไม่มีครุฑพ่าห์อยู่ตรงหน้าที่ประทับ เนื่องจากมิใช่การเสด็จแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประจำทุกปีการศึกษา นอกจากนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาของสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่สถาบันที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินฯ) โดยประดับธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และธงประจำพระองค์ในพระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จแทนพระองค์ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จไปถึง ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ให้ทอดผ้าทิพย์อันประดับด้วยพระครุฑพ่าห์เพื่อสื่อความหมาย เสมือนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2563 ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และการประท้วงในประเทศ ได้มีการวางมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการวัดอุณหภูมิกาย และการเจาะเลือดปลายนิ้ว[6] นอกจากนี้ยังมีการตรวจข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน รวมทั้งประวัติอาชญากรรม มีการถ่ายภาพบุคคล และการส่งรายชื่อผู้ที่เข้ารับหรือไม่เข้าร่วมพิธี[7] ในพิธีดังกล่าว มีข่าวออกไปว่าบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์จะไม่เข้าร่วมพิธีทั้งคณะ แต่มีบัณฑิตให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ มติชน ว่าเป็นข่าวเท็จ[8] ตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ในการมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ[9][10] สถานที่พระราชทานและประทานปริญญาบัตรสถาบันอุดมศึกษารัฐและในกำกับของรัฐ
หมายเหตุ : ในบางปีสมเด็จพระสังฆราชอาจโปรดให้สมเด็จพระราชาคณะเป็นผู้แทนพระองค์ในการประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการทั้งศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ดังกล่าว สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หมายเหตุ: สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งในบางปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงพระบรมวงศานุวงศ์ผู้พระราชทานปริญญาบัตร หรือผู้ประสาทปริญญาบัตร การมอบปริญญาบัตรการมอบปริญญาบัตร เนื่องจากในปัจจุบันมีการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประธานองคมนตรีหรือองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป มีทั้งการมอบปริญญาบัตรที่เป็นประจำและเฉพาะกิจ กรณีที่พระบรมวงศานุวงศ์ที่เป็นผู้แทนพระองค์ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามกำหนดการของทางมหาวิทยาลัยได้ สถาบันอุดมศึกษาที่มีพิธีมอบปริญญาบัตรประจำทุกปี ได้แก่
สถาบันอุดมศึกษาที่มีพิธีมอบปริญญาบัตรเป็นการเฉพาะกิจ ได้แก่
พิธีประสาทปริญญาบัตรพิธีประสาทปริญญาบัตร หรือในภาษาสากลคือ พิธีสำเร็จการศึกษา (อังกฤษ: Graduation ceremony) เป็นพิธีการพิเศษซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อมอบปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจัดให้มีขึ้นในต่างประเทศมาก่อน ต่อมาประเทศไทยจึงเริ่มรับเอาประเพณีดังกล่าวเข้ามา ซึ่งจะเรียกชื่อดังกล่าวข้างต้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจัดขึ้นโดยมิได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลเชิญพระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนิน หรือทูลเชิญพระอนุวงศ์เสด็จไปทรงเป็นประธาน สถานที่ประสาทปริญญาบัตร
ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia