ครุยวิทยฐานะไทยครุยวิทยฐานะไทย เป็นชุดพิธีการซึ่งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยถือรับธรรมเนียมปฏิบัติมาจากพิธีการสำเร็จการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทางตะวันตก ปัจจุบันครุยวิทยฐานะใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเพื่อแสดงถึงปริญญาวิทยฐานะที่ได้จากการสำเร็จการศึกษา ครุยวิทยฐานะสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาหรือกฎหมายอื่น ส่วนสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนกำหนดไว้ในข้อบังคับของตน การใช้ครุยวิทยฐานะสำหรับมหาวิทยาลัยรัฐโดยไม่ชอบนั้นมีโทษ อนึ่ง มีการเข้าใจผิดว่าครุยวิทยฐานะไทยเป็นเป็นเสื้อครุยที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีเพียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ภายหลังจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ จึงได้ออกแบบครุยวิทยฐานะขึ้นเองโดยไม่ต้องขอพระราชทาน แต่ถูกเข้าใจผิดว่าครุยวิทยฐานะไทยทั้งหมดเป็นของพระราชทานและให้ความสำคัญในมุมมองของความศักดิ์สิทธิ์ [2] [3] ประวัติประเทศไทยมีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ครุยวิทยฐานะในปี พ.ศ. 2457 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นบัณฑิตจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่สามารถใช้ครุยเพื่อเป็นเกียรติยศได้[1] อย่างไรก็ตามในขณะนั้นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ จัดการเรียนการสอนได้เพียงระดับประกาศนียบัตรเท่านั้น จึงไม่มีการจัดสร้างเสื้อครุยเพื่อแสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาในขณะนั้น เมื่อโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2460 และสามารถจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2471 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีความคิดที่จะสร้างเสื้อครุยสำหรับบัณฑิตจุฬาฯ และออกเป็นพระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2473[4] ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ครุยวิทยฐานะสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาในประเทศไทย เมื่อประเทศไทยได้ขยายการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จึงได้จัดสร้างครุยวิทยฐานะเป็นลักษณะเฉพาะของตนเองมาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบของครุยวิทยฐานะครุยวิทยฐานะไทยในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดรูปแบบของครุยวิทยฐานะให้มีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยสามารถจำแนกเป็นสองแบบหลัก ๆ ดังนี้ รูปแบบตามพระราชพิธีไทยแบบโบราณ![]() ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้มีลักษณะคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ใช้ครุยวิทยฐานะในรูปแบบนี้ ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้สามารถแยกตามชนิดเนื้อผ้าและสีได้ดังนี้
รูปแบบตามแบบตะวันตก![]() ครุยวิทยฐานะประเภทนี้มีลักษณะแบบครุยจะเป็นครุยคลุมใช้เนื้อผ้าทึบสีดำหรือสีอื่น ๆ อาจประดับฮูดหรือหมวกคล้ายกับครุยวิทยฐานะที่ใช้ในประเทศแถบตะวันตก โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ใช้ครุยวิทยฐานะในรูปแบบนี้ ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้สามารถแยกลักษณะได้ดังนี้
ดูเพิ่มวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Academic dress in Thailand อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia