พระวรสารนักบุญมัทธิว
พระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปีค.ศ. 70 จุดประสงค์หลักของพระวรสารนักบุญมัทธิวมีสองด้าน ในด้านปฏิบัติคือ เพื่อยืนยันต่อผู้อ่านที่เป็นชาวยิวว่า พระเยซูคือพระเมสสิยาห์ของพวกเขา เนื่องจากชาวยิวที่กลับใจมาเชื่อพระเยซู มีจำนวนน้อยกว่าชาวยิวที่ไม่ได้เชื่อ จึงมีผู้ที่ใส่ร้ายและแพร่คำโกหกเกี่ยวกับพระเยซู รวมถึงพยายามหาผลประโยชน์โดยการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของตนเอง มัทธิวจึงต้องการให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา และตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับพระเยซูได้ ในด้านเทววิทยา ประการแรก มัทธิวตระหนักถึงความสำคัญของคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิม ซึ่งสำเร็จในชีวิตของพระเยซู แท้จริงแล้วเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตพระเยซู ผู้เผยพระวจนะได้บันทึกไว้ล่วงหน้ามาแล้วในพระคัมภีร์เดิม ก่อนพระเยซูจะประสูติหลายร้อยปี ประการที่สอง มัทธิวต้องการยืนยันให้ผู้อ่านชาวยิวมั่นใจว่า พระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขาเฝ้ารอคอยจริง ๆ จากเหตุผลในประการแรกที่ว่า พระเยซูเป็นบุคคลเดียวเท่านั้น ที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปตามคำพยากรณ์ล่วงหน้า ประการที่สาม มัทธิวต้องการบอกว่า แม้ว่าพระเมสสิยาห์เป็นชาวยิว แต่พระองค์เสด็จมาเพื่อคนทุกหมู่เหล่า พระองค์จึงทรงสั่งให้สาวกออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ เพื่อให้ได้รับความรอดเช่นเดียวกัน ประการที่สี่ มัทธิวต้องการกล่าวถึงการก่อตั้งคริสตจักร และแนวทางในการจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายในคริสตจักร ประการที่ห้า สำคัญที่สุด มัทธิวบันทึกคำสอนของพระเยซูไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนของคริสเตียน เช่น ความโกรธ [1] การล่วงประเวณี [2] การหย่าร้าง [3] การสบถสาบาน [4] การตอบแทน [5] รักศัตรู [6] เป็นต้น พระวรสารนักบุญมัทธิว ใช้ “มัทธิว” หรือ “มธ” ในการอ้างอิง โครงร่าง1. ปฐมวัยของพระเยซู 1:1 - 4:25 2. คำเทศนาบนภูเขา 5:1 - 7:29 3. การปรนนิบัติของพระเยซู เหตุการณ์และคำสอน 8:1 - 12:50 4. คำอุปมาของพระเยซู 13:1 - 52 5. การปรนนิบัติของพระเยซู เหตุการณ์อื่นและคำสอน 13:53 - 19:30 6. พระเยซูในกรุงเยรูซาเลม 20:1 - 25:46 7. การตรึงพระเยซูที่กางเขน การสิ้นพระชนม์ การถูกฝัง และการคืนพระชนม์ของพระเยซู 26:1 - 28:20 อ้างอิงThai Holy Bible, Thailand Bible Society, 1998 Walter A. Elwell, The Pocket Bible Handbook, Harold Shaw Publisher, 1997 ดูเพิ่ม |
Portal di Ensiklopedia Dunia