ชาดา ไทยเศรษฐ์
ชาดา ไทยเศรษฐ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี เขต 2 อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี ประวัติชาดา เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ในครอบครัวมุสลิมปาทาน เป็นบุตรของเดชา กับปาลี้ ไทยเศรษฐ์[2] พี่ชายชื่อ ชัยยศ ไทยเศรษฐ์ และน้องสาวชื่อ มนัญญา ไทยเศรษฐ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[2] บิดาถูกลอบสังหารในปี พ.ศ. 2511 ตั้งแต่เขาอายุ 7 ขวบ อีกเจ็ดปีต่อมา พ.ศ. 2518 มารดาถูกลอบสังหาร และในอีก 8 เดือนถัดมา พี่ชายก็เสียชีวิตด้วยสาเหตุการลอบสังหารเช่นเดียวกัน[3] เขาสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโทสาขาเดียวกัน ในช่วงวัยรุ่น ชาดาเคยประสบอุบัติเหตุ ทำให้กระดูกคอมีปัญหา[4] ต้องพบแพทย์เพื่อฉีดยาระงับอาการป่วยซึ่งกำเริบเป็นระยะ[5] เขาเคยสมรสกับเตือนจิตรา แสงไกร และอัจฉรา ทองเทพ มีบุตรชายและบุตรสาวทั้งหมด 7 คน เป็นบุตรในสมรส 4 คน และเป็นบุตรนอกสมรสที่รับรองแล้วอีก 3 คน[2] การทำงานชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลของจังหวัดอุทัยธานี[5] เริ่มเข้าสู่การเมืองในปี พ.ศ. 2535 โดยลงสมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี และได้รับการเลือกตั้ง สามปีต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี[6] และในปี พ.ศ. 2543 เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคถิ่นไทย[7] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ในระหว่างดำรงตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎร ชาดา ไทยเศรษฐ์ ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์สภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการงบประมาณ หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจการปกครองในปี พ.ศ. 2557 เขาถูกจับตามองจาก คสช.[8] และเคยถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามคำสั่ง คสช. ตรวจค้นบ้านของเขาในปี พ.ศ. 2560[9] ในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้งปีถัดมา จากนั้นในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็น สส. อีกสมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[10] ต่อมาเขาได้รับมอบหมายจากอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้คัดกรองบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในส่วนท้องถิ่นและปราบปรามผู้มีอิทธิพล[11] โดยเขาได้กำหนดนโยบายให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งฝ่ายปกครอง ทหาร และตำรวจ บูรณาการการปฎิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลไปในทิศทางเดียวกัน[12] ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือการปราบปรามผู้มีอิทธิพลอันเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการกวาดล้างแหล่งผลิต โรงงานยาเสพติด(ยาบ้า)ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การปราบปรามคลังเก็บยาเสพติดในพื้นที่ชั้นในของประเทศไทย การสกัดกั้นกลุ่มเครือข่ายลำเลียงยาเสพติดจากชายแดนทางภาคเหนือ และภาคตะวันตก การกวาดล้างกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดต่างๆในหลายพื้นที่ ผลงานของเขาเป็นที่ประจักษ์และนับว่าเป็นการปราบปรามผู้มีอิทธิพลอันเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุดยุคหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เขาได้เปิดปฎิบัติการกวาดล้างนอมินีนายทุนต่างชาติในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยเขาสั่งการให้ชุดปราบปรามผู้มีอิทธิพล กระทรวงมหาดไทย และชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดและรักษาความสงบ กรมการปกครอง “DOPA Force” เข้าตรวจค้น-จับกุมโรงเเรม 22 เเห่ง ย่านป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งนับเป็นการเปิดปฎิบัติกวาดล้างนอมินีต่างชาติครั้งแรกของกระทรวงมหาดไทย ผลงานสุดท้ายของเขาในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคือเขาได้ดำเนินนโยบายกดดันจนทำให้ทุนยักษ์ใหญ่จีน ที่ลงทุนสูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในฝั่งส่วยโก๊กโก่ รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา บริเวณตรงข้ามบ้านวังแก้ว ต.แม่ปะ และบ้านวังผา ตำบลแม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของทหารกะเหรี่ยงบีจีเอฟ. ( กองกำลังพิทักษ์ชายแดน) ได้ประกาศยกเลิกธุรกิจส่วยโก๊กโก่อย่างถาวร โดยเขาได้สั่งการในคำสั่งให้ชุดปราบปรามผู้มีอิทธิพล กรมการปกครอง กรมโยธาธิการและผังเมือง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บูรณาการร่วมกับ กสทช. ในการเปิดปฎิบัติการเชิงรุกบังคับใช้กฎหมาย แก้ไขปัญหาแก็งคอลเซ็นเตอร์ และเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์โดยได้ดำเนินการรื้อถอนเสาสัญญาณ ตัดการจ่ายไฟฟ้า และตัดสัญญาณสื่อสารผิดกฎหมาย มากกว่า 30 จุด ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด และอีกหลายพื้นที่ จังหวัดตาก อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ชาดาได้ประกาศถอนตัวออกจากรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยส่งบุตรสาว ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ เข้าไปดำรงตำแหน่งเดิมแทนตน[13] คดีความชาดา เคยถูกจับกุมเมื่อปี พ.ศ. 2546 ในข้อหาจ้างวานฆ่าสมเกียรติ จันทร์หิรัญ เลขานุการของประแสง มงคลศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย สุดท้ายศาลพิพากษายกฟ้องในปี พ.ศ. 2548[14] และเคยถูกจับกุมในปี 2545 คดีจ้างวานฆ่านางนิตยา เททายบรรลือ ผู้จัดการบัญชีของบริษัทรับเหมา ต่อมาศาลชั้นต้นยกฟ้องในปี 2548[15][16] รางวัลและเกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
หมายเหตุอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia