พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489) เป็นนายตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร
ประวัติการศึกษา
- มัธยมศึกษา จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร
- รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 23 (นรต.23)
- ปริญญาโท การบริหารงานด้านตำรวจ จากประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาเอก การบริหารงานยุติธรรม จากประเทศสหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร ปรอ.รุ่นที่ 1[1]
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2513 - 2514 ประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ. 2514 - 2519 ประจำสำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ สำนักงานเลขานุการ กรมตำรวจ
- พ.ศ. 2519 - 2520 อาจารย์วิชาภาคปฏิบัติ ภาควิชาการตำรวจ กองกำกับการ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2520 - 2523 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 4 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- พ.ศ. 2523 - 2526 อาจารย์วิชากฎหมาย ภาควิชากฎหมาย กองกำกับการ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2526 - 2526 ผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- พ.ศ. 2527 - 2531 รองผู้บังคับการ กองวิจัยและวางแผน
- พ.ศ. 2531 - 2532 ผู้บังคับการประจำ กองบัญชาการศึกษา
- พ.ศ. 2532 - 2534 ผู้บังคับการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่หัวหน้าส่วนการศึกษา) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2534 - 2535 ผู้ช่วยผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้บัญชาการ) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2535 - 2539 รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2540 - 2543 ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจคนเข้าเมือง
- พ.ศ. 2543 - 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พ.ศ. 2546 - 2547 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- พ.ศ. 2547 - 2548 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
พล.ต.อ.ชิดชัย เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [2] ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[4]ในเดิอน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้รับตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนประจำประเทศไทย
ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559 เชาถูกปลดจากตำแหน่ง นายกสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชีวิตส่วนตัว
พล.ต.อ. ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์ เพียงแต่ใช้คนละนามสกุล[11] ชีวิตครอบครัวสมรสกับ รศ.อัจฉรา วรรณสถิตย์ และมีบุตรสองคน ได้แก่ ออมนุช วรรณสถิตย์ และ ฐปนดล วรรณสถิตย์ และมีความสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัวด้วย[12]
อ้างอิง
- ↑ ประวัติพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ ม.44 ปลด ชิดชัย วรรณสถิตย์ ตั้ง “ศุภชัย” อ.รัฐศาสตร์ จุฬา เป็นนายกฯสภาร.ร.นายร้อยตร.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๗๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 06 10 58
- ↑ ชิดชัย วรรณสถิตย์ "ปฏิวัติอีกครั้ง...ไม่มีทาง!"