ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
พลตำรวจเอก ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และ 7 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ประวัติธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดนครราชสีมา สมรสกับนางสกุล บุตรศรีภูมิ มีบุตรชาย 3 คน ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 20 รุ่นเดียวกันกับ สันต์ ศรุตานนท์ และสุนทร ซ้ายขวัญ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นอกจากนี้ยังผ่านการอบรมหลักสูตรเอฟบีไอ จากประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสกล บุตรศรีภูมิ (เสียชีวิต) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายวิสุทธิ บุตรศรีภูมิ พ.ต.อ.วุฒิชาติ บุตรศรีภูมิ และนายวุฒิชัย บุตรศรีภูมิ (เสียชีวิต) การทำงานธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ รับราชการตำรวจ เคยดำรงตำแหน่ง ผบ.หมวด สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9, ภาค 7 มีผลงานปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้ายหลายราย เช่น ยูโซะ ท่าน้ำ และถูกยิงได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกับผู้ก่อความไม่สงบถึง 3 ครั้ง โดยก่อนจะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2547[1] ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 โดยระหว่างอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว ได้ควบคุมและจัดการสถานการณ์จนเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นน้อยที่สุด และได้เกษียณอายุราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในชั้นยศ "พลตำรวจโท" หลังจากเกษียณอายุราชการ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ผุ้ทรงคุณวุฒิ) เป็นอนุกรรมการพิจารณาและไตร่สวน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (จากการเลือกตั้งโดยข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ) อีกด้วย ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 พลตำรวจโท ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] กำกับดูแลการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งนี้ ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ เป็นข้าราชการตำรวจเพียงไม่กี่นายที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ Dato จากสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน หลังจากพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในคณะกรรมาธิการหลายคณะในสภาผู้แทนราษฏร อาทิ คณะกรรมาธิการการตำรวจ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยมีบทบาทในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจ อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นพลตำรวจเอกเป็นกรณีพิเศษ[3] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia