รัดเกล้า สุวรรณคีรี
รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2525) ชื่อเล่น เนเน่ ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี (นาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และเป็นรองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ประวัติรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นบุตรคนที่ 3 ของไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และนุช สุวรรณคีรี ด้านครอบครัวสมรสกับ นายกฤษฏิ์ อินทวงศ์ มีบุตรสาว 2 คน[1] หลังการสมรส รัดเกล้าได้นำชื่อสกุลของสามี (อินทวงศ์) มาเป็นชื่อกลาง แต่ตอนหาเสียงใช้ชื่อ "รัดเกล้า สุวรรณคีรี" เพื่อความกระชับและง่ายต่อการจดจำ รัดเกล้า สำเร็จการศึกษามัธยมปลายจาก Geelong Gramma School ประเทศออสเตรเลีย ระดับปริญญาตรี ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นและวิชวลเอฟเฟกต์ จาก Academy of Art University (USA) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จาก UCL Institute of Education (UK) (มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก ด้านการศึกษา 9 ปีซ้อน) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ใบที่ 2) จากคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (CUIR รุ่นที่ 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต เพื่อนร่วมรุ่น อาทิ แพทองธาร ชินวัตร พชร นริพทะพันธุ์ การทำงานรัดเกล้าเริ่มทำงานครั้งแรกในตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์เกม Lair และ The Sims ก่อนย้ายมายังสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ, กลุ่ม ปตท., และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ด้านสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2561 อีกสองปีต่อมาเธอย้ายมาเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านการสร้างเครือข่ายและการสร้างภาพลักษณ์องค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และผู้อำนวยการสายงานสื่อสาร บริษัท โทเทิล แอ็คเซส คอมมูนิเคชัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ[2] งานการเมืองรัดเกล้าเริ่มทำงานการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี)[3] ปีต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2566 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขตเลือกตั้งที่ 33 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนไป 18,628 คะแนน [4] เดือนตุลาคมปีเดียวกันรัดเกล้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี" [5][6] เดือนธันวาคมในปีเดียวกัน เธอได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม) โดยได้รับเลือกให้เป็น "กรรมาธิการและโฆษกคณะกรรมาธิการ"[7][8] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia