การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์วันที่ | 30 ธันวาคม 2563 (2020-12-30) – ปัจจุบัน |
---|
ที่ตั้ง | สิงคโปร์ |
---|
สาเหตุ | การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ |
---|
เป้าหมาย | ฉีดวัคซีนประชากรในประเทศและบรรลุภูมิคุ้มกันหมู่ |
---|
งบประมาณ | ≈ 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ |
---|
จัดโดย | กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ |
---|
ผู้เข้าร่วม | ผู้มีถิ่นพำนักที่มีสิทธิ์ |
---|
ผล | ฉีดแล้วรวม 5,858,571 คน (5 ก.ค. 2564)[1][a] |
---|
เว็บไซต์ | www.vaccine.gov.sg |
---|
- ↑ 3,670,862 คนได้รับแล้วอย่างน้อยหนึ่งโดส และ 2,187,709 คนได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้ว
|
การฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งทำให้เกิดโรคโควิด-19 ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อฉีดวัคซีนให้ผู้อยู่อาศัยที่มีสิทธิ์ในประเทศ เพื่อตอบสนองต่อการระบาดทั่วในประเทศ
แผนการฉีดวัคซีนที่นำโดยรัฐบาลสิงคโปร์ใช้วัคซีนทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค และวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา ซึ่งเป็นชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตายคือวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก ไบโอเทค (โคโรนาแว็ก) นั้นได้รับการอนุมัติให้ใช้โดยสถาบันการแพทย์เอกชน และไม่รวมอยู่ในแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติของสิงคโปร์ โครงการนี้เริ่มในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเริ่มเป็นโครงการแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมดในสิงคโปร์ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน: ≈2.34 ล้านคน (39.80%)
ประชากรที่ได้รับวัคซีนเพียงหนึ่งโดสจากทั้งหมดสองโดส: 1,393,430
[2] (23.63%)
ประชากรที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว: 2,156,751
[2] (36.57%)
วัคซีนที่จัดส่งแบ่งตามบริษัทยา ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
โมเดอร์นา (962,127) (23.77%)
ไฟเซอร์-ไบออนเทค (3,085,524) (76.23%)
ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2563 เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ รัฐบาลสิงคโปร์ได้จองซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากผู้ผลิตวัคซีนทดลอง 3 ราย มูลค่ารวม 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์[3] โดยวางมัดจำล่วงหน้า สำหรับเป็นฐานในแผนการฉีดวัคซีน
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมของปีเดียวกัน วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดยสำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ (HSA)[4] และมาถึงสิงคโปร์ในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา[5][6] สิงคโปร์จึงเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อนุมัติการใช้วัคซีนดังกล่าว และได้เริ่มต้นดำเนินการแผนการฉีดวัคซีน
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 วัคซีนโคโรนาแว็กชุดแรกได้มาถึงสิงคโปร์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม วัคซีนดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติในทันทีจากสำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ[7][8]
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคมของปีเดียวกัน แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของสิงคโปร์ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นแผนการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[9]
เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง และคณะรัฐมนตรี ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสแรก[10]
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 วัคซีนโมเดอร์นา ซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) หน่วยงานวิจัยและพัฒนาขั้นสูงด้านชีวการแพทย์ (BARDA) และบริษัทโมเดอร์นา และผลิตในสหรัฐ ได้รับการอนุมัติจากสำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ใช้วัคซีนนี้[11]
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 สำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อนุมัติการใช้วัคซีนไฟเซอร์สำหรับเยาวชนอายุ 12–15 ปี[12] ภายใต้ช่องทางพิเศษ Pandemic Special Access Route (PSAR) เนื่องจากไม่มีการเตรียมการสำหรับบุคคลเหล่านี้ที่จะได้รับการฉีดวัคซีน ในแผนการฉีดวัคซีนก่อนหน้านี้ ซึ่งจะครอบคลุมผู้ใหญ่ที่มีสิทธิ์ทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม[13] และมีการขยายช่วงเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนสองโดสสำหรับผู้ที่มีสิทธิ์จาก 3–4 สัปดาห์เป็น 6–8 สัปดาห์[14] การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวสิงคโปร์อีก 400,000 คนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดสภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม และเพื่อให้ชาวสิงคโปร์ที่มีสิทธิ์แทบทุกคนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดสภายในต้นเดือนสิงหาคม[15][16] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัคซีนยังคงมาถึงตามแผนที่วางไว้ และประชากรส่วนใหญ่ที่ต้องการรับวัคซีนจะได้รับวัคซีนเข็มแรกภายในครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม ในวันที่ 29 มิถุนายน กระทรวงสาธารณสุขได้ลดช่วงเวลาระหว่างการรับวัคซีนครั้งแรกและครั้งที่สองกลับไปเป็น 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อให้ประชากรจำนวนมากขึ้นจะได้รับการฉีดวัคซีนครบสองครั้งโดยเร็วขึ้น[17][18]
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 หลังจากการใช้วัคซีนโคโรนาแว็กในกรณีฉุกเฉินได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก สำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพก็ทำการอนุมัติใบอนุญาตการใช้ในกรณีฉุกเฉิน และมีการเริ่มฉีดวัคซีนในวันที่ 18 มิถุนายน[19]
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ได้มีการประกาศว่ากระทรวงสาธารณสุขได้บรรลุข้อตกลงในการซื้อวัคซีนโควิด-19 ชนิดหน่วยย่อยโปรตีนกับบริษัทโนวาแวกซ์ (Novavax) โดยคาดว่าจะมีการจัดส่งมายังสิงคโปร์ก่อนสิ้นปี 2564[20]
การรับวัคซีน
ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามชนิดต่อไปนี้ โดยมีมูลค่ารวมที่เปิดเผย 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด รายละเอียดมีดังนี้:
แผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ
สถาบันการแพทย์เอกชน
สิงคโปร์ได้รับวัคซีนโคโรนาแว็กชุดแรกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ[25][26] หลังจากที่องค์การอนามัยโลกอนุมัติโคโรนาแว็กในรายการให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินแล้ว กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ได้ส่งมอบวัคซีนโคโรนาแว็กให้กับสถาบันการแพทย์เอกชนผ่านช่องทางพิเศษ (PSAR) เพื่อให้ผู้สนใจหรือผู้ที่ไม่เหมาะกับวัคซีนชนิด mRNA สมัครรับการฉีดวัคซีน แต่เนื่องจากวัคซีนโคโรนาแว็กไม่ได้อยู่ในแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ ผู้รับวัคซีนชนิดนี้จึงไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผ่านโครงการความช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับการบาดเจ็บจากวัคซีน (Vaccine Injury Financial Assistance Programme, Vifap) ได้[27]
ชื่อวัคซีน
|
ชนิดของวัคซีน
|
สถาบันวิจัยและพัฒนา
|
ประเทศที่วิจัย
|
แหล่งผลิต
|
ประสิทธิผลของการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
|
ปริมาณสั่งซื้อ
|
สถานะการอนุมัติของสิงคโปร์
|
วันที่เริ่มใช้งาน
|
โคโรนาแว็ก
|
วัคซีนเชื้อตาย
|
บริษัทซิโนแว็ก ไบโอเทค
|
สาธารณรัฐประชาชนจีน
|
สาธารณรัฐประชาชนจีน
|
50.4% – 83.5%[28][29][30]
|
301,000
|
2 มิถุนายน 2564 อนุมัติใช้งานฉุกเฉิน
|
4 มิถุนายน 2564 เริ่มฉีดวัคซีน
|
การจัดเตรียมดำเนินการ
สิทธิ์ในการฉีดวัคซีน
โครงการการฉีดวัคซีนนี้จำกัดเฉพาะพลเมืองสิงคโปร์ ผู้มีถิ่นพำนักถาวรหรือระยะยาว และต้องทำการนัดหมายด้วยบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรผู้พำนักระยะยาว[31]
นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิ์ยังคงต้องเข้าร่วมในการฉีดวัคซีนตามลำดับความสำคัญที่มีประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะ ตามข้อตกลงล่าสุดที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 การฉีดวัคซีนนี้จำกัดชั่วคราวเฉพาะผู้มีสิทธิ์รับวัคซีนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป[31] คาดว่าภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ผู้ใหญ่ที่มีสิทธิ์ทั้งหมดในสิงคโปร์จะได้รับการฉีดวัคซีน[16][32]
การฉีดวัคซีนก่อนกำหนด
นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนตามปรกติแล้ว ยังมีตัวเลือก "การฉีดวัคซีนก่อนกำหนด" ภายใต้แผนนี้สำหรับพลเมืองสิงคโปร์หรือผู้มีถิ่นพำนักถาวรที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศอย่างเร่งด่วนแต่ยังไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มลำดับความสำคัญที่ได้รับลำดับ[33]
คำจำกัดความของคำว่า "ต้องรีบไปต่างประเทศ":
- การเดินทางเพื่อการแพทย์ (หากความเจ็บป่วยของผู้สมัครไม่สามารถรักษาโดยสถาบันการแพทย์ในสิงคโปร์)
- ศึกษาต่อต่างประเทศ (หากผู้สมัครต้องลงทะเบียน เข้าเรียน หรือสอบ)
- การจ้างงานในต่างประเทศ
ผู้มีถิ่นอาศัยทุกคนที่ต้องการฉีดวัคซีนก่อนกำหนดจะต้องสมัครและส่งเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องพร้อมกัน เป็นเวลาอย่างน้อย 10 สัปดาห์ก่อนออกเดินทาง
สถานที่ฉีดวัคซีน
ผู้มีสิทธิ์เลือกสถานที่ฉีดวัคซีนได้ 3 แบบ ได้แก่ ศูนย์ฉีดวัคซีนชั่วคราว 37 แห่ง คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไป 20 แห่ง และคลินิกแพทย์เอกชน 22 แห่ง โดยวัคซีนของโมเดอร์นามีเฉพาะในศูนย์ฉีดวัคซีนชั่วคราวบางแห่งเท่านั้น[34] และจุดฉีดวัคซีนอื่น ๆ จะฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ ส่วนวัคซีนโคโรนาแว็กจะมีเฉพาะในคลินิกแพทย์เอกชนเท่านั้น[19]
โครงการความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับการบาดเจ็บจากวัคซีน
หากมีอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงเกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีน ผู้รับวัคซีนสามารถขอรับค่าชดเชยจากรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม แผนค่าตอบแทนนี้ครอบคลุมเฉพาะวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ 2 ชนิดที่รัฐบาลรับผิดชอบในการฉีดวัคซีน และจะไม่รับประกันการฉีดวัคซีนด้วยวัคซีนโคโรนาแว็ก[19]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ "COVID-19 Vaccination". www.moh.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 7 July 2021.
- ↑ 2.0 2.1 MOH (2021-07-03). "COVID Data Tracker". Ministry of Health (Singapore) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "Securing Singapore's access to COVID-19 vaccines". www.gov.sg (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ Daga, John Geddie, Anshuman (2020-12-14). "Singapore approves Pfizer's COVID-19 vaccine in Asia first". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "First shipment of COVID-19 vaccines arrives in Singapore". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Singapore gets first batch of vaccines, says DHL". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "Sinovac vaccine will be used only when HSA gives approval". The New Paper (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "China's Sinovac vaccine arrives in Singapore, but not yet approved for use". www.businesstimes.com.sg. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Singapore begins COVID-19 vaccination campaign". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ 呼吁国人踊跃打疫苗 李显龙:无不适也不痛 Hū xū guó rén yǒng yuè dǎ yì miáo Lǐ Xiǎn Lóng: Wú bù shì yě bù tòng. www.cincainews.com (ภาษาจีน). 精彩大马 Jīng Cǎi Dà Mǎ. 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ Staff, Reuters (2021-02-03). "Singapore approves Moderna's COVID-19 vaccine in Asia first". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ Ng, Abigail (2021-05-18). "Singapore approves Covid vaccine for children ages 12 to 15 as cases surge". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "Singapore seeks COVID-19 vaccination for all adults by August". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ hermesauto (2021-05-18). "S'pore delays 2nd Covid-19 vaccine dose to 6-8 weeks later; those aged 40-44 can register for jabs from Wednesday". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "Singapore seeks COVID-19 vaccination for all adults by August". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ 16.0 16.1 "COVID: Singapore vaccination extended to 12-15 age group, dosing interval now 6-8 weeks". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "Singapore shortens interval between COVID-19 vaccine doses to 4 weeks". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-11. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ hermesauto (2021-06-29). "Second Covid-19 jab can now be booked 4 weeks after first dose, from 6-8 weeks previously". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 数家私人诊所昨起提供科兴疫苗接种服务 Shù jiā sī rén zhěn suǒ zuó qǐ tí gōng Kē Xìng yì miáo jiē zhǒng fú wù. 联合早报 Lián Hé Zǎo Bào (ภาษาจีน). 2021-06-19. สืบค้นเมื่อ 2021-06-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "S'pore may get non-mRNA Novavax Covid-19 vaccine before year-end". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
- ↑ Berkeley Lovelace, Jr.; Noah Higgins-Dunn (2020-11-16). "Moderna says preliminary trial data shows its coronavirus vaccine is more than 94% effective, shares soar". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
- ↑ Zimmer, Carl (2020-11-20). "2 Companies Say Their Vaccines Are 95% Effective. What Does That Mean? You might assume that 95 out of every 100 people vaccinated will be protected from Covid-19. But that's not how the math works". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
- ↑ 輝瑞疫苗運抵新加坡 亞洲第一國 Huī Ruì yì miáo yùn dǐ Xīn Jiā Pō Yà Zhōu dì yī guó. 中央通訊社 Zhōng Yāng Tōng Xùn Shè. 2020-12-22. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Comirnaty: EPAR - Public assessment report" (PDF). European Medicines Agency. 2020-12-21. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ Linette Lai (2021-02-24). "China's Sinovac Covid-19 vaccine arrives in Singapore, but is not yet approved for use". 海峽時報 Hǎi Xiá Shí Bào. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ Clara Chong (2021-03-24). "S'pore has received 200,000 doses of Sinovac Covid-19 vaccine; use subject to HSA approval". 海峽時報 Hǎi Xiá Shí Bào. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ Timothy Goh (2021-06-04). "MOH allows special access to Sinovac Covid-19 vaccine through private healthcare sector". สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑ "Sinovac: Brazil results show Chinese vaccine 50.4% effective". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "Turkey set to receive 'effective' COVID-19 vaccine amid calls for inoculation". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "Indonesia grants emergency use approval to Sinovac's vaccine, local trials show 65% efficacy". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ 31.0 31.1 "Register for COVID-19 Vaccination". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.
- ↑ "Singapore seeks COVID-19 vaccination for all adults by August". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ Appeal for Early COVID-19 Vaccination
- ↑ "Locations: Vaccination Centres". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.
|
---|
|
|
|
|
สถาบัน |
---|
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค | |
---|
โรงพยาบาล และสิ่งเกี่ยวข้อง | |
---|
องค์กร | |
---|
|
|
|
บุคคล |
---|
แพทย์ผู้นำ การปฏิบัติ | |
---|
นักวิจัย | |
---|
เจ้าหน้าที่ | จีน | |
---|
อิตาลี | |
---|
สหราชอาณาจักร | |
---|
สหรัฐ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|
ผู้เสียชีวิต | |
---|
|
|
ข้อมูล (แม่แบบ) |
---|
ทั่วโลก | |
---|
แอฟริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป (แผนภูมิ) | |
---|
อเมริกาเหนือ | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
อเมริกาใต้ | |
---|
|
|
|