เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18.55 น. ตามเวลาในประเทศไทย ได้เกิดเหตุระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และในวันต่อมาได้เกิดเหตุคนร้ายปาระเบิดลงมาจากสะพานตากสิน บริเวณท่าเรือสาทร ทำให้เรือที่จอดอยู่บริเวณใกล้เคียงถูกสะเก็ดระเบิดเล็กน้อย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[5] เบื้องหลังก่อนหน้านี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เกิดระเบิดสองครั้งบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามเหนือแยกราชประสงค์ โดยคนร้ายนำระเบิดไปวางไว้บริเวณประตูของจุดบริการด่วนมหานครสำนักงานเขตปทุมวันซึ่งให้บริการด้านทะเบียนราษฏร์ มีผู้บาดเจ็บสามคน โดยเชื่อว่าสาเหตุมาจากการเมือง[6] และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุการณ์คาร์บอมที่ชั้นใต้ดินของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้บาดเจ็บ 10 คน[7] การระเบิดครั้งแรกวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18.55 น. เกิดระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์ กลางกรุงเทพมหานคร ใกล้กับศาลท้าวมหาพรหม[2] สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่าเป็นระเบิดทีเอ็นทีหนัก 3 กิโลกรัมบรรจุอยู่ในท่อในบริเวณศาลท้าวมหาพรหม หน่วยเก็บกู้ระเบิดไม่ทราบน้ำหนัก แต่เจ้าหน้าที่หน่วยอีโอดีวิเคราะห์ว่ามีรัศมีทำลายล้างประมาณ 100 เมตร[8] ครั้งที่สองวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13.30 น.[9] เกิดระเบิดใกล้ท่าเรือสาทร ฝั่งพระนคร ระเบิดภายในแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ระหว่างท่าสาทรและสถานีสะพานตากสิน โดยคาดว่าต้องการโยนลงท่าเรือสาทรแต่พลาดตกลงแม่น้ำ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[10] หลังเหตุการณ์ทำให้สถาบันการศึกษาโดยรอบยกเลิกการเรียนการสอนในวันดังกล่าวทันที การบาดเจ็บและเสียชีวิต
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งมาเยี่ยมชมศาลท้าวมหาพรหม[2] 12 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ[18] และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลตำรวจอีก 4 ราย มีผู้บาดเจ็บจำนวน 130 คนที่เข้ารักษาตัวตามโรงพยาบาล 19 แห่ง โดยโรงพยาบาลตำรวจเป็นสถานที่รับผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัวมากที่สุด[19] โรงพยาบาลราชวิถีมีผู้ป่วยอยู่ในหน่วยอภิบาล 2 ราย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มี 4 ราย ผลกระทบหลังเกิดเหตุการณ์ บีทีเอสแจ้งปิดทางเดินเชื่อมสกายวอล์คระหว่างสถานีสยามถึงแยกราชประสงค์ชั่วคราว[20]และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ปลัดกรุงเทพมหานครสั่งปิดการเรียนการสอนในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 มีผลต่อโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 438 แห่ง[21] เช่นเดียวกับโรงเรียนหลายแห่งที่อยู่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุ มีการปิดการจราจรตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงแยกสารสินและแยกชิดลมถึงแยกเฉลิมเผ่าหลังเกิดเหตุการณ์จนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เพื่อให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานลงพื้นที่ดำเนินการเก็บวัตถุพยานอย่างละเอียด ทำให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกาศปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถประจำทางมากกว่า 10 เส้นทาง โดยเฉพาะสายที่ผ่านแยกราชประสงค์ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดให้บริการตามปกติ โดยจัดเจ้าหน้าที่เพิ่มเพื่อเข้มงวดด้านความปลอดภัยมากขึ้น[22] อธิบดีกรมการบินพลเรือน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ปรับระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน จำนวน 28 แห่ง เป็นระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับความเข้มงวดสูงสุด[23] ด้านท่าเรือแหลมฉบังได้ประกาศให้มีการยกระดับรักษาความปลอดภัยเป็นระดับ 2[24] รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์และรถไฟฟ้ามหานครต่างเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังเช่นเดียวกัน[25]รวมถึงการขอความร่วมมือจากผู้โดยสารไม่ให้ใส่แว่นตาดำและห้ามสวมหมวกเข้าสถานีรถไฟฟ้า และตรวจสัมภาระทุกชิ้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ ถึงผู้ต้องหา นายอ๊อด พยุงวงศ์ หรือ นายยงยุทธ พบแก้ว ว่าเป็นผู้ต้องหาที่มีตัวตนจริงหรือไม่เนื่องจากไม่มีเลขบัตรประชาชน ในปี พ.ศ. 2561 ผู้ต้องหาตามหมายจับ ถูกจับกุมเพียง 3 ราย จาก 17 ราย อีก 14 รายนั้นไม่สามารถจับกุมได้ ผู้ต้องสงสัยและแรงจูงใจ
พยานเล่าว่า ผู้ต้องสงสัยเป็นชายที่ทิ้งเป้าไว้ในที่เกิดเหตุ โดยมีภาพยืนยันจากกล้องวงจรปิดในบริเวณนั้น[26] ภาพดังกล่าวยังมีการเผยแผร่ในต่างประเทศด้วย เป็นภาพชายมีลักษณะตัวเตี้ยใส่เสื้อเชิ้ตสีเหลืองและทิ้งกระเป๋าเป๋สีดำลง ขณะที่ผู้ต้องสงสัยนั่งบนม้านั่งและเพียง 3-4 วินาทีต่อมาผู้ต้องสงสัยก็ลุกขึ้น และทิ้งเป้ไว้ตรงม้านั่งและเดินจากไปพร้อมทั้งมองโทรศัพท์ของเขาเอง[27] โดยผู้ต้องสงสัยเดินทางโดยตุ๊กตุ๊กและจอดบริเวณหัวลำโพง[28] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกล่าวการโจมตีครั้งนี้เตรียมผ่านอินเทอร์เน็ตและวาดภาพสเก็ตซ์ผู้ต้องสงสัย ตำรวจยังว่ามีผู้ต้องสงสัยอีกสองคนในกล้องวงจรปิดดังกล่าว[27] รัฐบาลไทยกล่าวว่า มั่นใจว่าไม่เป็นการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ[29] ตำรวจกล่าวว่าเหตุการณ์นี้มีผู้มีส่วนร่วมอย่างน้อย 10 คน[30] คาดว่าชาวเคิร์ดร่วมกับคนไทยเป็นผู้ก่อเหตุ[31] ต่อมา คนขับแท็กซี่ผู้หนึ่งยืนยันว่าเขารับผู้ต้องสงสัยขึ้นรถ[32] "อย่างไรก็ดีผู้ต้องสงสัยมีท่าที่จะไม่มีอาการแสดงท่าทีรีบเร่ง แต่ดูจะสงบเงียบ เหมือนลูกค้าทั่วไป และผู้ต้องสงสัยก็ไม่ใช่คนไทย โดยผู้ต้องสงสัยพูดภาษาที่ไม่ชัดเจนที่ระบุไม่ได้ว่าเป็นภาษาอะไรตลอดเวลาบนรถแท็กซี่"[33][34] รุ่งเช้าของวันที่ 18 สิงหาคม ตำรวจสัมภาษณ์วินมอเตอร์ไซค์และคนขับแท็กซี่ที่ผ่านละแวกนั้น ตำรวจได้ส่งรูปผู้ต้องสงสัยจากกล้องวงจรปิด "เมื่อตำรวจส่งรูปมาให้ผม ผมเชื่อว่าเป็นคนที่รับส่งซึ่งเป็นคนเดียวกับผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจกำลังตามหา" นิคม ปันตุลา วินรถจักรยานยนต์รับจ้างสาทร กล่าว พยานสำคัญกล่าวว่า "เขาวิ่งมาอย่างเร่งรีบ โดยพูดว่า "เร็ว ๆ" ผมกำลังขับ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเขายังเร่งให้ขับเร็วขึ้นอีก ระหว่างทาง เขาก้มดูโทรศัพท์ตลอดเวลา และคุยโทรศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่าผมไม่เข้าใจที่เขาพูด ชายคนนี้ขอตลอดให้พาไปโรงแรมใกล้กับโรงพยาบาลอโศกใจกลางกรุงเทพมหานคร"[35] ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยได้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่พูลอนันต์อพาร์ทเมนท์ เขตหนองจอก ทราบชื่อคือ อาเดม คาราดัก หรือบิลาเติร์ก มูฮัมหมัด[36] แต่ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ต่อมาวันที่ 7 กันยายน ทหารได้จับกุมผู้ต้องหาอีกคน ทราบชื่อคือไมไรลี ยูซุฟู เบื้องต้นให้การรับสารภาพ ล่าสุดอาเดมให้การรับสารภาพแต่ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำสารภาพดังกล่าว[37] จนเมื่อได้หลักฐานชี้ชัดจากกล้องวงจรปิดจึงสามารถยืนยันได้[38][39][40] จากนั้นในวันที่ 26 กันยายน ตำรวจพาทั้งคู่ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ[41] นำไปสู่การแถลงปิดคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน[42] ในวันรุ่งขึ้น ตำรวจได้ขอศาลอนุมัติหมายจับอ๊อด พยุงวงศ์ หรือยงยุทธ พบแก้ว ที่มีเบาะแสว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดครั้งนี้ และทราบว่าเขาเคยเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่สมานเมตตาแมนชั่น อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2553 และเหตุระเบิดที่ซอยราษฎร์อุทิศ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์อยู่ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2548 - 2553 และ พ.ศ. 2556 - 2557) ตำรวจจึงยังไม่ตัดประเด็นทางการเมืองทิ้ง[43] ผู้ก่อเหตุที่ถูกออกหมายจับทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกันทั้ง 2 คดี โดยมีผู้ต้องหา 17 คน มีคนไทยร่วมขบวนการ 2 คน คือ วรรณา สวนสันต์ กับยงยุทธ พบแก้ว (อ๊อด พยุงวงศ์) และจนถึงตอนนี้สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้เพียง 2 ราย คือบีลาเติร์ก มูฮัมหมัด และไมไรลี ยูซูฟู ศาลทหารพิจารณาคดีนี้[44] ต่อมา นาง วรรณา สวนสันต์ ถูกจับ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[45] ปฏิกิริยาในประเทศพลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปอย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการระเบิดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มบุคคลใด แต่มีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นกลุ่มเดิม ๆ ที่เสียประโยชน์ทางการเมืองและต้องการสร้างสถานการณ์วุ่นวายในประเทศ ไม่ต้องการเห็นคนไทยมีความสุขสงบ เป็นความอาฆาตมาดร้ายของคนที่เคยกล่าวว่าเมื่อตนไม่สุขก็อย่าหวังที่คนอื่นจะสุขได้[46]ในคืนวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจ อาทิ พลตำรวจเอก ประวุฒิ ถาวรศิริ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลงพื้นที่[47] วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครทำความสะอาดที่เกิดเหตุ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อการค้นหาข้อเท็จจริง ฝ่ายหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบว่า "รัฐบาลไม่ได้ห้าม ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องหลักฐานต่าง ๆ ไม่ได้ห้าม เราก็ต้องทำความสะอาดครับ นี่คือหน้าที่ของ กทม. ครับ ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเราหน่อยนะครับ เราก็โดนมามากแล้วเหมือนกันนะครับ"[48] กรมคุ้มครองสิทธิฯ จ่ายเยียวยาเหยื่อระเบิดราชประสงค์ศพละ 2 แสนบาท ในขณะที่ต่างชาติจ่ายศพละ 5 แสนบาท[49] ด้านเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงประณามคนร้าย[50] มีการเรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคงทั่วประเทศ โดยแยกส่วนประชุมแต่ละจังหวัดอาทิ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่[51] สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งที่ 451/2558 จัดตั้ง ”ศูนย์อำนวยการบริหารข้อมูลการส่งกลับและการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์”[52] พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ สั่งให้จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง มีคำสั่งให้ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทรและให้ พลตำรวจโท ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุดคลี่คลายคดีระเบิด ต่อมาเมื่อพลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งพลตำรวจโท ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล[53] ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทร แทนตนเอง และให้พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ดำเนินการสอบสวนเส้นทางการเงินของกลุ่มผู้ต้องสงสัย คดีนี้แม้พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง จะมีการแถลงปิดคดีไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558 แต่จะมีการสรุปสำนวนคดีในช่วงสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558[54] ต่างประเทศ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia