เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (เยอรมัน: Charles Edward, Duke of Saxe-Coburg and Gotha) หรือพระนามเต็ม เลโอโพลด์ คาร์ล เอดูอาร์ท เกออร์ค อัลแบร์ท (เยอรมัน: Leopold Charles Edward George Albert) หรือพระนามแรกประสูติคือ เจ้าชายชาลส์ เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งออลบานี (อังกฤษ: Charles Edward, Duke of Albany) ทรงเป็นดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา องค์ที่สี่และสุดท้าย และในฐานะพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผ่านทางสายพระราชโอรส พระองค์ทรงเป็นเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งอัลบานีอีกด้วย[1] เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในประเทศอังกฤษ เนื่องจากการมีสถานภาพเป็นศัตรูในฐานะที่ทรงเป็นดยุคครองรัฐแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา อันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ทรงถูกถอดถอนบรรดาศักดิ์ขุนนางและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ของอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1919 ในปี ค.ศ. 1919 พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ และต่อมาได้ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีเยอรมัน ยังความเสื่อมเสียที่ใหญ่หลวงมาให้แก่เจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน ซึ่งเป็นพระภคินีเพียงพระองค์เดียว สมเด็จพระราชินีแมรี พระภคินีในพระเชษฐภรรดา รวมถึงสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ซึ่งเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งด้วย[2][3] พระชนม์ชีพในวัยเยาว์เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ประสูติในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1884 ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ใกล้กับเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ พระชนกของพระองค์คือ เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี พระราชโอรสองค์ที่สี่ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย และ เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี ส่วนพระชนนีคือ ดัชเชสแห่งออลบานี (พระอิสริยยศเดิม เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์) พระองค์มีพระนามเรียกเล่นในหมู่พระประยูรญาติว่า "ชาร์ลี" เนื่องจากว่าพระชนกสิ้นพระชนม์ไปก่อนการประสูติ เจ้าชายจึงทรงสืบพระอิสริยยศทั้งหมดของพระชนกทันทีที่ประสูติและทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้าชายดยุคแห่งออลบานี (His Royal Highness The Duke of Albany) หลังจากการประชวร พระองค์ทรงเข้ารับศีลล้างบาปเป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1884 ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ภายหลังการประสูติได้สองสัปดาห์ และอีกสี่เดือนต่อมาจึงเข้ารับศีลล้างบาปต่อสาธารณชนในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1884 ณ โบสถ์ประจำเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าชายแห่งเวลส์ (ในภายหลังคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7) เจ้าหญิงคริสเตียนแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เจ้าหญิงลูอีส มาร์เชเนสแห่งลอร์น เจ้าหญิงเฟรเดริกาแห่งฮันโนเฟอร์ และเจ้าชายจอร์จ วิกเตอร์ เจ้าชายครองรัฐแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชปิตุลาได้พระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์การ์เตอร์ชั้นอัศวินให้แก่เจ้าชายในปี ค.ศ. 1902
ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาในปี ค.ศ. 1900 ดยุคแห่งออลบานี ที่มีพระชนมายุ 16 พรรษาได้เสวยราชสมบัติในรัฐดยุคครองนครแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาสืบต่อเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระปิตุลาซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วนเจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินบะระ (ซึ่งมีพระนามเรียกเล่น "แอฟฟี่หนุ่ม") พระโอรสองค์เดียวในดยุคแห่งเอดินเบอระสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1899 และดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงสละราชสิทธิ์การสืบราชสมบัติก่อนแล้ว เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต พระโอรสในเจ้าชายอาร์เธอร์ กำลังทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วิทยาลัยอีตันกับเจ้าชายชาร์ลส์ และทรงขู่ที่จะทำร้ายเจ้าชายชาร์ลส์หากไม่ทรงยอมรับการสืบราชสมบัติ เจ้าชายทรงปกครองภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการโดยเจ้าชายแห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กอยู่เป็นเวลาห้าปี เมื่อพระชนมายุครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1905 ดยุกแห่งออลบานีก็ทรงเถลิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่มีพระราชสถานะเป็นดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ในฐานะที่เป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของแกรนด์ดยุคแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5) สมเด็จพระจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์ สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน และสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้แล้วยังเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี แต่จากการดูแลพระญาติหนุ่มพระองค์นี้ของพระจักรพรรดิแสดงให้เห็นว่าเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงเป็นรู้จักในฐานะพระราชโอรสองค์เจ็ดของพระองค์มากกว่า[4] อภิเษกสมรสเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ซึ่งในขณะนี้คือ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1905 ณ ปราสาทกลึกซ์บูร์ก มณฑลฮ็อลชไตน์ กับ เจ้าหญิงวิกตอเรีย อเดลไฮด์แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (วิกตอเรีย อเดลไฮด์ เฮเลนา หลุยซา มารี ฟรีเดริเคอ; 31 ธันวาคม ค.ศ. 1885 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1970) พระธิดาในดยุคฟรีดริช แฟร์ดีนันด์ แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึกซ์บูร์ก ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและธิดา 5 พระองค์ดังนี้
สงครามโลกครั้งที่ 1ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงสนับสนุนประเทศเยอรมนีและทรงปฏิบัติราชการเป็นนายพลในกองทัพบกเยอรมัน (แม้ว่าจะมิเคยทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่) ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 มีพระราชโองการให้ถอดถอนพระนามของเจ้าชายออกจากทะเบียนอัศวินแห่งการ์เตอร์ในปี ค.ศ. 1915 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1917 เพื่อที่จะออกจากพื้นเพที่เป็นเยอรมันของราชวงศ์ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อพระราชวงศ์อังกฤษจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปีนั้นรัฐสภาอังกฤษได้ผ่านพระราชบัญญัติการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ซึ่งให้อำนาจสภาองคมนตรีที่จะสืบสวน "บุคคลใดก็ตามอันมีศักดิ์เป็นขุนนางหรือเจ้าชายอังกฤษ ซึ่งได้ถืออาวุธต่อต้านพระเจ้าอยู่หัวหรือพันธมิตรของพระองค์ หรือซึ่งร่วมเป็นภาคีกับศัตรูของพระเจ้าอยู่หัว" ภายใต้เงื่อนไขในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว พระบรมราชโองการตามคำแนะนำของคณะองคมนตรีลงวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1919 ได้ถอดถอนบรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ ดยุคแห่งออลบานี เอิร์ลแห่งคลาเรนซ์ และบารอนแห่งอาร์คโลว์ของเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ทออกอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้พระองค์และพระโอรสธิดายังทรงสูญเสียฐานันดรศักดิ์เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร รวมทั้งพระอิสริยยศในชั้นเจ้าฟ้า (Royal Highness) อีกด้วย[5] พลเรือนสามัญในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สภาทหารและแรงงานแห่งเมืองโกทาได้ปลดดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาออกจากราชบัลลังก์ อีกห้าวันต่อมา พระองค์ได้ทรงลงนามในประกาศการสละราชสิทธิในการสืบราชสมบัติ เมื่อทรงกลายเป็นพลเรือนสามัญในขณะนี้ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดซึ่งได้ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ทรงเกี่ยวข้ององค์การทางการเมืองและลักษณะแบบทหารฝ่ายขวามากมาย[6] เมื่อปี ค.ศ. 1932 พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งแนวร่วมฮาร์ซบูร์ก ซึ่งพรรค Deutschnationale Partei (พรรคแห่งชาติเยอรมัน) ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคนาซีโดยผ่านทางแนวร่วม พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีและเป็นสมาชิกของ Sturmabteilung (ซึ่งแปลว่า หน่วยพายุ หรือ พวกเสื้อน้ำตาล) โดยขึ้นถึงตำแหน่งของหัวหน้ากลุ่มอาวุโส (Obergruppenführer) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกในรัฐสภาจักรวรรดิตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 ถึงปี ค.ศ. 1943 และประธานสภากาชาดเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ถึงปี ค.ศ. 1945 อีกด้วย พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1936 ในปี ค.ศ. 1936 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ส่งดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาไปยังประเทศอังกฤษในฐานะประธานสมาคมมิตรภาพอังกฤษ-เยอรมัน ภารกิจของพระองค์คือ การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและเยอรมนีและสืบหาความเป็นไปได้ในการทำสัญญาระหว่างทั้งสองประเทศ ดยุคซึ่งทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศพของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในชุดเครื่องแบบของหน่วยพายุ ทรงยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทำสัญญาตกลงกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากการเจรจาครั้งนี้ แต่กระนั้นพระองค์ยังทรงส่งรายงานให้กำลังใจฮิตเลอร์เกี่ยวกับความฝักใฝ่ฝ่ายเยอรมันอันแข็งแกร่งในหมู่ชนชั้นสูงของอังกฤษ ในภายหลังจากวิกฤติการณ์การสละราชสมบัติ พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับอดีตพระมหากษัตริย์และพระชายา ซึ่งในขณะนี้ทรงเป็นดยุคและดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1938 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลทางการทหารอเมริกันในรัฐบาวาเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจอร์จ สมิธ แพ็ตตันได้ทำการกักบริเวณดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาอยู่ภายในพระตำหนักที่ประทับอันเนื่องมาจากการสนับสนุนฝ่ายนาซีเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1946 พระองค์ทรงถูกพิพากษาคดีในศาลการกำจัดระบอบนาซีและทรงถูกปรับอย่างหนัก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในเมืองซัคเซินและโคบวร์คถูกยึดโดยกองทัพโซเวียต ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาทรงดำรงพระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยความโดดเดี่ยว พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1954 ณ เมืองโคบวร์ค โดยเป็นพระราชนัดดาผู้ชายพระองค์ที่ทรงมีอาวุโสมากกว่าในสองพระองค์ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่ง คือ อเล็กซานเดอร์ เมานท์แบ็ตเต็น มาร์ควิสแห่งคาริสบรูค อดีตเจ้าชายแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 พระอิสริยยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia