ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
![]() ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือในชื่อเดิม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หรือที่นิยมเรียกตามชื่อเดิมของสถานที่ว่า ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium) ตั้งอยู่เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ประวัติศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ตราสัญลักษณ์ที่มาและแนวคิดในการออกแบบแรงบันดาลใจหลักมาจากรูปทรงของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Form) ซึ่งมีความเป็นสากล / ง่ายในการจดจำ / สวยงามแปลกตา และสื่อความหมาย เปรียบเหมือนสัญลักษณ์แทนความเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัวที่สุด รูปทรงจำลองของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (ในแนวขวาง) นี้ยังถือได้ว่าเป็นตัวแทนของการค้นคว้า และศึกษาในศาสตร์แห่งความรู้ ความเข้าใจ ในความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุก ๆ แขนงไม่เพียงแค่เฉพาะคำจำกัดความของทางดาราศาสตร์เท่านั้น ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวสื่อได้ถึงความเป็นศูนย์กลางระดับชาติ สำหรับการศึกษา ค้นคว้า และสะท้อนถึงภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย พร้อมการพัฒนาองค์กรความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่องให้กับทั้งเยาวชนและคนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ ด้วยความสวยงาม จดจำง่าย ทันสมัย และเป็นสากล ทั้งยังเหมาะกับการนำไปใช้ในสื่ออื่นที่เกี่ยวข้องในทุกรูปแบบขององค์กรฯ เองได้อีกด้วย โทนสีที่ใช้เน้นภาพลักษณ์ที่เป็นสากล / ความเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย สีเทา ส่วน สีแดง / (ขาว-พื้นหลัง) / น้ำเงิน แทนความเป็นองค์กรระดับชาติ โดยใช้สีดำเพิ่มความชัดเจนและหนักแน่นให้กับชื่อไทยและอังกฤษ ความสำคัญของตราสัญลักษณ์ใหม่
เครื่องฉายดาวเครื่องฉายดาว ZEISS Mark IV (มาร์ค โฟร์)ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และหอดูดาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ตลอดจนเป็นแหล่งที่เยาวชนสามารถไปชุมนุมหาความรู้ได้ง่าย เยาวชนจะได้เรียนจากของจำลองเหมือนของจริงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและรวดเร็วกว่าการสอนด้วยปากเปล่าทั้งก่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความมีเหตุผลและความเพลิดเพลิน ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองอุปกรณ์การศึกษา กรมวิชาการเป็นเจ้าของในการก่อสร้างและดำเนินการต่อไป คณะรัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างเมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504 โดยมีห้างบีกริม แอนโก กรุงเทพ จำกัด และตัวแทน บริษัท คาร์ลไซซ์ ในสหพันธรัฐเยอรมันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ จนเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและทอดพระเนตรการแสดงทางท้องฟ้า วันที่ 18 สิงหาคม 2507 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดแสดงให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการด้านเทคนิคว่า เครื่องฉายดาวระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ (Opto mechanical)
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ใช้ไซซ์ส รุ่นที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยระบบเครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงที่ประณีตซับซ้อน สามารถแสดงภาพดวงดาวบนท้องฟ้าของประเทศใดก็ตาม ตามวันและเวลาที่ต้องการ โดยมีความสามารถฉายดาวฤกษ์ได้ 9,000 ดวง, ฉายดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ, ฉายภาพกลุ่มดาว ทางช้างเผือก กระจุกดาว ดาวหาง ดาวตก เมฆ แสงรุ่งอรุณ แสงสนธยา, แสดงการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา เส้นศูนย์สูตร เส้นสุริยวิถี เส้นเมอริเดียน ระบบสุริยะ และโลกหมุนรอบตัวเอง เครื่องฉายดาวระบบดิจิตอลเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์การฉายดาวให้มีความทันสมัย สอดรับกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการศึกษา องค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จึงมอบหมายให้ บริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิศวกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่ ที่เป็นผู้นำในงานบริการด้านการจัดหาสินค้า และเทคโนโลยีต่าง ๆ งานประกอบและติดตั้งหรือการบำรุงรักษาอุปกรณ์ รวมทั้งในงานวิศวกรรมวางระบบ โซลูชั่นต่าง ๆ ในเครือดิทโต้ กรุ๊ป และมีพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง บริษัท Evans and Sutherland (E&S) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลกด้านเทคโนโลยีเครื่องฉายดารระบบดิจิตอล เป็นผู้นำเครื่องฉายดาว จำนวน 1 ชุด เข้ามาใช้งานตามโครงการจัดซื้อ โดยเครื่องฉายดาวระบบดิจิตอล ที่นำมาใช้เพิ่มเติมนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนของการฉายใช้เครื่องฉายภาพ ยี่ห้อ คริสตี้ (Christie) ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศว่าเป็นเครื่อง Projector ที่ดีที่สุดอันดับต้น ๆ ในปัจจุบัน คริสตี้ บ๊อกเซอร์ ได้รับการออกแบบเพื่อให้มีน้ำหนักเบาขึ้น พร้อมทั้งยังพัฒนาให้ มีความสว่างที่สูงยอดเยี่ยม คริสตี้ ซึ่งมีความละเอียด 4K ความสว่างต่อเครื่องสูงถึง 30,000 Lumens และได้รับการออกแบบให้เป็น Projector สำหรับการใช้งานในโรงละคร ท้องฟ้าจำลองขนาดใหญ่ รวมถึงยังสามารถรองรับการใช้งานแบบ Heavy Duty ได้เป็นอย่างดี และด้วยเลนส์ Fish eye ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ฉายภาพได้กว้างกว่า Projector ทั่วไป และด้วยการติดตั้งทาง E&S ทำการติดตั้ง Projector โดยให้เลนส์ไม่ให้โดนส่วนบนของเครื่องฉายดาวระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ ทำให้ลำแสงของเครื่องฉายดาวที่ฉายขึ้นไปบนจอโดมเลยจุดกึ่งกลางของจอโดม และส่วนล่างลำแสงที่ฉายออกไปจะไปสิ้นสุดที่ขอบโดมฉายดาว ซึ่งทำให้ทั้ง 2 Projector นั้นมีพื้นที่ซ้อนทับกันด้านบนกลางจอโดม (Blending Region) ซึ่งจะมีการใช้ Software Digistar ส่วนของการควบคุมSoftware โดยการพัฒนามาถึงรุ่นที่ 5 ที่ชื่อว่า Digistar5 เป็น Software ควบคุมการทำงานการฉายภาพบนจอโดม เพื่อให้ภาพจากสอง Projector เป็นภาพเดียวกัน คือการฉายภาพแบบเต็มโดม ซึ่งเทคโนโลยีของ Digistar5 มีระบบ Auto Blending และ Auto Alignment ที่ทำให้ Projector ฉายภาพเป็นภาพเดียวกันได้เสมือนการฉายด้วย Projector เครื่องเดียว ทั้งนี้นอกจากการให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ดำเนินการปรับปรุงศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพรวมถึงการดำเนินการปรับปรุง ตกแต่งบรรยากาศภายในห้องฉายดาว ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ภายใต้แนวความคิด ในการใช้ Theme แสงแห่ง Aurora เพื่อสร้างความสดใส แปลกตา ให้กับห้องฉายดาวที่มีอายุกว่า 52 ปี แต่ยังความคงความทันสมัยให้แก่ผู้ศึกษาได้เพลิดเพลินและสนุกสนาน กับการศึกษาดวงดาวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นแล้ว ดิทโด้ ยังให้ความสำคัญและน่าสนใจมาก อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน รวมถึงผู้ที่สนใจด้านดาราศาสตร์ จังหวัดที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงท้องฟ้าจำลองได้อย่างง่ายดาย ไม่ใช่แค่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมถึง นิทรรศการวิทยาศาสตร์นิทรรศการอาคาร 2 (อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์)
นิทรรศการอาคาร 3 (อาคารสิ่งแวดล้อมโลก)
นิทรรศการอาคาร 4 (อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy)เวลาทำการเวลาทำการงานสำนักงาน
เวลาทำการท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ
การเดินทาง
อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia