ในทางคณิตศาสตร์ ผลรวม (อังกฤษ: summation) หมายถึงการบวกของเซตของจำนวน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็น ผลบวก (sum, total) จำนวนที่กล่าวถึงอาจเป็นจำนวนธรรมชาติ จำนวนเชิงซ้อน เมตริกซ์ หรือวัตถุอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น ผลรวมไม่จำกัดของลำดับเรียกว่าเป็นอนุกรม
สัญกรณ์
ผลรวมของลำดับ 1, 2, 4 คือ 1 + 2 + 4 = 7 ดังนั้นผลบวกก็คือ 7 และเนื่องจากการบวกมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ จึงไม่สำคัญที่จะแปลผล 1 + 2 + 4 ว่าเป็น (1 + 2) + 4 หรือ 1 + (2 + 4) เพราะถึงอย่างไรก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน ดังนั้นเครื่องหมายวงเล็บจึงมักจะถูกละทิ้งในการเขียนผลรวม นอกจากนั้นการบวกจำนวนจำกัดมีสมบัติการสลับที่ จึงทำให้ลำดับในการบวกจำนวนก่อนหรือหลังก็ไม่ส่งผลต่อผลบวกสุดท้าย (สำหรับสมบัติการสลับที่ของการบวกจำนวนไม่จำกัด ดูเพิ่มที่การลู่เข้าสัมบูรณ์)
ถ้าหากผลรวมหนึ่ง ๆ มีพจน์มากเกินไปเกินกว่าจะเขียนให้แยกออกจากกัน มักจะย่อด้วยจุดไข่ปลาตรงตำแหน่งพจน์ที่หายไป ตัวอย่างเช่น ผลรวมของจำนวนธรรมชาติตั้งแต่ 1 ถึง 100 เขียนได้เป็น 1 + 2 + … + 99 + 100 = 5050
สัญกรณ์ซิกมาตัวใหญ่
คณิตศาสตร์มีสัญกรณ์พิเศษมาใช้เพื่อที่จะเขียนผลรวมให้กะทัดรัดมากขึ้น นั่นคือ สัญลักษณ์ผลรวม ∑ (U+2211) โดยยืมมาจากอักษรกรีกซิกมาตัวใหญ่ Σ ซึ่งนิยามการใช้ไว้ว่า
![{\displaystyle \sum _{i=m}^{n}x_{i}=x_{m}+x_{m+1}+x_{m+2}+\cdots +x_{n-1}+x_{n}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/f17fbe01fd3314286fa9d20dda3a901416e90b1a)
ตัวห้อยที่อยู่ข้างล่าง i เป็นสัญลักษณ์แทนดัชนีของผลรวม m คือขอบเขตล่างของผลรวม และ n คือขอบเขตบนของผลรวม การที่กำหนดให้ i = m หมายความว่าดัชนี i เริ่มตั้งแต่ค่าที่เท่ากับ m พจน์ถัดไปจะถูกสร้างขึ้นโดยเพิ่มค่า i ขึ้นไปทีละหนึ่งของค่าก่อนหน้า และหยุดเมื่อ i = n เราสามารถใช้ตัวแปรอื่นแทน i ก็ได้ เช่น
![{\displaystyle \sum _{k=2}^{6}k^{2}=2^{2}+3^{2}+4^{2}+5^{2}+6^{2}=90}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/c8661bcab0d6cf93fa736b9c78a63a29521ed3e9)
ถึงแม้ว่าชื่อของตัวแปรดัชนีจะไม่มีความสำคัญ เรามักจะใช้อักษรละตินช่วงกลาง (i ไปถึง q) เพื่อใช้แสดงจำนวนเต็มถ้าหากเกิดความสับสนขึ้น
บางครั้งเราอาจพบการเขียนแบบไม่เป็นทางการ โดยการตัดดัชนีและขอบเขตของผลรวมออกไป เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้วในบริบท เช่น
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ ![{\displaystyle \sum _{i=1}^{n}x_{i}^{2}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/b21b6321e8467df079ec54854302d33c46978760)
หรืออาจพบรูปแบบการใส่เงื่อนไขทางตรรกะลงไปแทน ซึ่งผลรวมนั้นตั้งใจที่จะบวกค่าที่ตรงตามเงื่อนไขเข้าด้วยกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น
![{\displaystyle \sum _{0\leq k<100}f(k)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/d13984e3873503b898daa80dda0e048f468d04d4)
คือผลรวมของ f (k) บนทุกจำนวนเต็ม k ที่อยู่ในช่วงดังกล่าว
![{\displaystyle \sum _{x\in S}f(x)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/1cadbb8b4f24f57b92152e3d4245da85c8eefd8c)
คือผลรวมของ f (x) บนทุกสมาชิก x ในเซต S และ
![{\displaystyle \sum _{d|n}\;\mu (d)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/2359c4a55afc821f10d4c31d94b508088c5275b0)
คือผลรวมของ μ (d) บนทุกจำนวนเต็ม d ที่หาร n ได้ลงตัว เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกทางหนึ่งเพื่อนำเสนอแทนการใช้สัญลักษณ์ผลรวมจำนวนมาก เราอาจยุบเข้าด้วยกันได้ เช่น
จะมีความหมายเหมือนกับ ![{\displaystyle \sum _{\ell }\sum _{\ell '}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/fe5a6b9fb7d447956d35d5ef045b71fbf425b317)
สัญกรณ์ภาษาโปรแกรม
ในภาษาโปรแกรมบางภาษาใช้สัญกรณ์อย่างย่อแทนผลรวมคล้ายกับสัญกรณ์คณิตศาสตร์ อย่างเช่นภาษาไพทอน
ภาษาฟอร์แทรนและแมตแล็บ
ภาษาเจ
+/x
ส่วนในภาษาอื่น ๆ ที่ไม่มีสัญกรณ์แทนผลรวม ก็ต้องเขียนเป็นการวนรอบแทน เช่นภาษาวิชวลเบสิก/วีบีสคริปต์
Sum = 0
For I = M To N
Sum = Sum + X (I)
Next I
หรือภาษาซี/ซีพลัสพลัส/ซีชาร์ป/จาวา สมมติว่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องถูกกำหนดค่าแล้ว
int i;
int sum = 0;
for (i = m; i <= n; i++) {
sum += x[i];
}
ในบางกรณี การวนรอบก็สามารถย่อให้สั้นลงได้ อย่างเช่นภาษาเพิร์ล
$sum = 0;
$sum += $x[$_] for ($m..$n) ;
ภาษารูบี
x[m..n].inject{|a,b| a+b}
x[m..n].inject (0) {|a,b| a+b}
สำหรับภาษาซีพลัสพลัส สามารถเรียกใช้ฟังก์ชันจากไลบรารีมาตรฐานได้
std::accumulate (&x[m], &x[n + 1], 0)
สังเกตว่าตัวอย่างข้างต้นจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดให้ตัวแปรผลบวกเป็น 0 ซึ่งเป็นสมาชิกเอกลักษณ์สำหรับการบวก แต่บางภาษาจะกำหนดให้โดยอัตโนมัติ และค่ากลับคืนของตัวอย่างทั้งหมดข้างต้น จะได้เป็นสเกลาร์ค่าหนึ่ง
กรณีพิเศษ
มีความเป็นไปได้ที่ผลรวมจะประกอบขึ้นจากสมาชิกน้อยกว่า 2 ตัว
- ถ้าผลรวมมีพจน์เดียวคือ x ดังนั้นผลบวกก็เท่ากับ x กรณีนี้จะเกิดเมื่อ m = n ตามนิยามข้างบน
- ถ้าผลรวมไม่มีพจน์ใดอยู่เลย ดังนั้นผลบวกก็เท่ากับ 0 เพราะว่า 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก ผลรวมชนิดนี้เรียกว่า ผลรวมว่าง กรณีนี้จะเกิดเมื่อ m > n หรือไม่มีสมาชิกใดตรงตามเงื่อนไขที่ระบุในผลรวม
การประมาณค่าด้วยปริพันธ์
การประมาณค่าของผลรวม สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผลรวมกับปริพันธ์ต่อไปนี้ สำหรับฟังก์ชันเพิ่ม f
![{\displaystyle \int _{s=a-1}^{b}f(s)\ ds\leq \sum _{i=a}^{b}f(i)\leq \int _{s=a}^{b+1}f(s)\ ds}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/bf3d006f8167975b0a425c478414e91593784bc0)
และฟังก์ชันลด f
![{\displaystyle \int _{s=a}^{b+1}f(s)\ ds\leq \sum _{i=a}^{b}f(i)\leq \int _{s=a-1}^{b}f(s)\ ds}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/14dfae6b13068c95ae3511146a5991a06eea9992)
ส่วนการประมาณค่าแบบทั่วไป ดูได้ที่ สูตรออยเลอร์-แมคลอริน (Euler-Maclaurin formula)
สำหรับฟังก์ชัน f ที่สามารถหาปริพันธ์ได้ในช่วง [a, b] ค่าของปริพันธ์สามารถประมาณค่าได้ด้วยผลบวกรีมันน์ (Riemann sum) ตัวอย่างเช่น สูตรต่อไปนี้คือผลบวกรีมันน์ข้างซ้ายที่แบ่งช่วงเป็น n ส่วนเท่ากัน
![{\displaystyle {\frac {b-a}{n}}\sum _{i=0}^{n-1}f\left(a+i{\frac {b-a}{n}}\right)\approx \int _{a}^{b}f(x)\ dx}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/2076dc2d941e6442d708cd0e463045524e6d5477)
ซึ่งการประมาณค่านี้จะแม่นยำมากขึ้น เมื่อ n มีค่ามากขึ้น (ถูกแบ่งเป็นส่วนมากขึ้น) จนเข้าใกล้อนันต์
![{\displaystyle \lim _{n\rightarrow \infty }{\frac {b-a}{n}}\sum _{i=0}^{n-1}f\left(a+i{\frac {b-a}{n}}\right)=\int _{a}^{b}f(x)\ dx}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/d88c736c2dac41501b7bec5fdb8307f4d32253d9)
เอกลักษณ์
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเอกลักษณ์ที่เกี่ยวกับผลรวมที่สำคัญ
เมื่อ C เป็นค่าคงตัว (ดูเพิ่มที่การคูณสเกลาร์)
เมื่อ C เป็นค่าคงตัว
![{\displaystyle \sum _{n=s}^{t}f(n)+\sum _{n=s}^{t}g(n)=\sum _{n=s}^{t}\left[f(n)+g(n)\right]}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/a762d789e2af544d36eeeefc783b61559d64dc84)
![{\displaystyle \sum _{n=s}^{t}f(n)=\sum _{n=s+p}^{t+p}f(n-p)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/f33ec6bf26bc628e6788d43f69779e1d316581f4)
![{\displaystyle \sum _{n=s}^{j}f(n)+\sum _{n=j+1}^{t}f(n)=\sum _{n=s}^{t}f(n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/0ad017bde70562bef91565884b4870bd1299b153)
![{\displaystyle \sum _{i=m}^{n}x=(n-m+1)x}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/9bdb152521783a9a463f45d09987e7b2f16dc515)
เป็นนิยามของการคูณ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มซึ่งเป็นตัวคูณของ x
(ดูเพิ่มที่อนุกรมเลขคณิต)
(กรณีพิเศษของอนุกรมเลขคณิต)
![{\displaystyle \sum _{i=1}^{n}i^{2}={\frac {n(n+1)(2n+1)}{6}}={\frac {n^{3}}{3}}+{\frac {n^{2}}{2}}+{\frac {n}{6}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/ecbbdbc9182dde7a991bfc2ff0b0b751b54e6504)
![{\displaystyle \sum _{i=1}^{n}i^{3}=\left({\frac {n(n+1)}{2}}\right)^{2}={\frac {n^{4}}{4}}+{\frac {n^{3}}{2}}+{\frac {n^{2}}{4}}=\left[\sum _{i=1}^{n}i\right]^{2}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/2d609fc1ed136a7b37209af58ce681f60afe2ba7)
![{\displaystyle \sum _{i=1}^{n}i^{4}={\frac {n(n+1)(2n+1)(3n^{2}+3n-1)}{30}}={\frac {n^{5}}{5}}+{\frac {n^{4}}{2}}+{\frac {n^{3}}{3}}-{\frac {n}{30}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/ff1133ecff7e3e68fcbb6b0f6342676f0eba7d67)
เมื่อ
เป็นจำนวนแบร์นูลลีตัวที่ k
(ดูเพิ่มที่อนุกรมเรขาคณิต)
(กรณีพิเศษของสูตรก่อนหน้านี้ เมื่อ m = 0)
![{\displaystyle \sum _{i=0}^{n}i2^{i}=2+2^{n+1}(n-1)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/91266c7a78b368600497988442182d2dbc7ec419)
![{\displaystyle \sum _{i=0}^{n}{\frac {i}{2^{i}}}={\frac {2^{n+1}-n-2}{2^{n}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/b99d1856e4d48319a206429dbc32ceae3e4e7485)
![{\displaystyle \sum _{i=0}^{n}ix^{i}={\frac {x}{(1-x)^{2}}}(x^{n}(n(x-1)-1)+1)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/275f75a382ae07b221f308693dfe1758d2f5baa3)
![{\displaystyle \sum _{i=0}^{n}i^{2}x^{i}={\frac {x}{(1-x)^{3}}}(1+x-(n+1)^{2}x^{n}+(2n^{2}+2n-1)x^{n+1}-n^{2}x^{n+2})}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/bf98fbd0499ebe6ed115ac5e3f6c7951e6053a21)
(ดูเพิ่มที่สัมประสิทธิ์ทวินาม)
![{\displaystyle \sum _{i=0}^{n-1}{i \choose k}={n \choose k+1}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/d340be6c2ecdde14b4ce651d6272269b1812c264)
![{\displaystyle \left(\sum _{i}a_{i}\right)\left(\sum _{j}b_{j}\right)=\sum _{i}\sum _{j}a_{i}b_{j}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/a9699801fd7300186b559ea7e103a96810f120df)
![{\displaystyle \left(\sum _{i}a_{i}\right)^{2}=2\sum _{i}\sum _{j<i}a_{i}a_{j}+\sum _{i}a_{i}^{2}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/2022a9c1fdac7aa1f932c1e3c6901d82be8ebd49)
![{\displaystyle \sum _{n=a}^{b}f(n)=\sum _{n=b}^{a}f(n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/4dacd8cb5f552b88f74eec3c35ff5a6556c65cfb)
![{\displaystyle \sum _{n=s}^{t}f(n)=\sum _{n=-t}^{-s}f(-n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/f09b5c6c01bcb9dcc4838d2fc6984ed2f5f64d77)
![{\displaystyle \sum _{n=0}^{t}f(2n)+\sum _{n=0}^{t}f(2n+1)=\sum _{n=0}^{2t+1}f(n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/35d9f8da1cf8b14988e6dd6d0159d2686c083c72)
![{\displaystyle \sum _{n=0}^{t}\sum _{i=0}^{z-1}f(z\cdot n+i)=\sum _{n=0}^{z\cdot t+z-1}f(n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/127fe43e8852fbf433283ff6c94202b5e417777e)
(ดูเพิ่มที่ผลคูณของอนุกรม)
![{\displaystyle \sum _{n=s}^{t}\ln f(n)=\ln \prod _{n=s}^{t}f(n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/2dc4a783106935c5bf39f0b9bed3f5996a0e00cd)
(ดูเพิ่มที่ลิมิตอนันต์)
สำหรับการกระจายทวินาม
![{\displaystyle \sum _{n=b+1}^{\infty }{\frac {b}{n^{2}-b^{2}}}=\sum _{n=1}^{2b}{\frac {1}{2n}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/718f9c96632a54d315b94c3af102b8317aa879c5)
![{\displaystyle \left(\sum _{i=1}^{n}f_{i}(x)\right)^{\prime }=\sum _{i=1}^{n}f_{i}^{\prime }(x)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/dd23324d799c6730035e31ac6a5674b4ac004ae4)
![{\displaystyle \lim _{n\to \infty }\sum _{i=0}^{n}f\left(a+{\frac {b-a}{n}}i\right)\cdot {\frac {b-a}{n}}=\int _{a}^{b}f(x)dx}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/29e10aac74d9847831cfb1dfdfb57d3ca5ea7a6b)
อัตราการเติบโต
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการประมาณค่าอัตราการเติบโต โดยใช้สัญกรณ์ทีตา
สำหรับจำนวนจริง c ที่มากกว่า −1
![{\displaystyle \sum _{i=1}^{n}{\frac {1}{i}}=\Theta (\log n)}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/e31c335c5ab83f24cac6f4601ec484cbaa49fe41)
สำหรับจำนวนจริง c ที่มากกว่า 1
สำหรับจำนวนจริง c ที่ไม่เป็นลบ
สำหรับจำนวนจริง c, d ที่ไม่เป็นลบทั้งหมด
สำหรับจำนวนจริง b > 1, c, d ที่ไม่เป็นลบทั้งหมด
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น