บางจาก คอร์ปอเรชั่น
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SET:BCP) เดิมชื่อ บางจากปิโตรเลียม เป็นกลุ่มบริษัทปิโตรเลียมและพลังงานในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อ พ.ศ. 2527 และปัจจุบันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยดําเนินธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ตลอดจนธุรกิจพลังงานยั่งยืนผ่านบริษัทย่อยต่าง ๆ ประวัติบางจากก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2527 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีมติให้จัดตั้งและจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งบริษัทในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ในชื่อ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีหน้าที่หลักคือดำเนินการกลั่นและผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2536 ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใช้ชื่อว่า บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ต่อมากระทรวงการคลัง ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทำให้สิ้นสุดความเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งเป็น บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นปี พ.ศ. 2566 (11 มกราคม) บางจากฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“เอสโซ่”) จาก ExxonMobil Asia Holdings Pte. Ltd. (“ExxonMobil”) ในสัดส่วนร้อยละ 65.99 ซึ่งได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2566[2] เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 บางจากฯ ดำเนินการชำระราคาซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 65.99 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เสร็จสิ้นโดยเครือข่ายสถานีบริการของเอสโซ่ ผลิตภัณฑ์และน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน จะเข้ามาเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์บางจาก ต่อมาจาก กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึงปัจจุบัน ภาพรวมธุรกิจ - 5 กลุ่มธุรกิจบางจากได้ดำเนินกิจการหลักด้วยการประกอบด้วย ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ธุรกิจตลาด ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ รวมถึงได้ขยายกิจการสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติ ธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม และธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านนวัตกรรม กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมันโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex Refinery มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง คือโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนงและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีกำลังการผลิตรวมเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน สามารถผลิตน้ำมันกลุ่มเบนซินและดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่มีมูลค่าสูงได้เป็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันแก๊สโซฮอล์และน้ำมันดีเซลจากโรงกลั่นน้ำมันบางจากเป็นน้ำมันที่ได้คุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐานยูโร 4 ของภาครัฐ [3] มุ่งเน้นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานในกระบวนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการผลิตเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งเสริมกับธุรกิจที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายของบริษัทฯ กลุ่มธุรกิจการตลาดจัดจำหน่ายผ่านช่องทางไปยังภาคอุตสาหกรรม และค้าปลีกน้ำมันผ่านเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,200 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ non-oil เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น Furio EV Charger รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านอาหาร กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้าสีเขียวบริษัทฯ ลงทุนธุรกิจพลังงานไฟฟ้าสีเขียวผ่านการดำเนินการของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินการผลิตไฟฟ้าทั้งในและนอกประเทศผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำและลม กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น ธุรกิจเอทานอลและธุรกิจไบโอดีเซล ผ่านบริษัท บีบีจีไอ จำกัด(มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงและธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาธุรกิจใหม่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่าน OKEA ASA และดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับลิเทียม รวมทั้งนวัตกรรมนอกประเทศไทย สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจบางจากได้จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ หรือมีชื่อย่อว่า BiiC โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง Green Ecosystem เพื่อผลักดันนวัตกรรมต่างๆ โดยเน้นด้านพลังงานสีเขียว (Green Energy) และด้านชีวภาพ (Bio-Based) นำมาต่อยอดขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศจากการวิจัยและพัฒนา จัดการเทคโนโลยีและเครือข่าย พร้อมทั้งบ่มเพาะธุรกิจ Startup สนับสนุนเศรษฐกิจยุค 4.0 โดยมุ่งสู่กลุ่มบริษัทนวัตกรรมสีเขียวชั้นนำในเอเชีย การพัฒนาที่ยั่งยืน/การดำเนินการเรื่องปัญหาสภาพแวดล้อม
รายชื่อประธานกรรมการ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia