บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (อังกฤษ: Financial Institution Asset Management Corporation) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดย พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 [1] เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและเพื่อฟื้นฟูสถานการณ์ดำเนินงานของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ที่ประสบปัญหาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไทย โดยกำหนดให้เป็นองค์กรที่ซื้อและรับโอนทรัพย์สินด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อนำมาบริหารจัดการและจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป โดยมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือลูกหนี้คนไทยที่สุจริตให้ได้รับความเป็นธรรมและผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ด้วยดี ขณะเดียวกันบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน จะหลีกเลี่ยงการขาดทุนและพยายามสร้างผลกำไรนำส่งคืนให้รัฐ เพื่อชดเชยความเสียหายจากปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ หน้าที่ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินมี 3 ประการ คือ
การยุบเลิกกิจการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินถูกยกเลิกตาม พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๙ [2] โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดเหตุผลในการยกเลิกว่า ปัจจุบันระบบสถาบันการเงินของประเทศมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่งทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้ว เพื่อเป็นการลดภาระของภาครัฐ ในการจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินและให้สถาบันการเงินมีบทบาทในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพโดยระบบปกติ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งในระบบสถาบันการเงิน จึงสมควรยุบเลิกบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดและกำหนดวิธีจัดการทรัพย์สินต่อไป อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia