ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 สายทางต่างระดับสีคิ้ว–อุบลราชธานี ปัจจุบันคือ ถนนสีคิ้ว–วารินชำราบ (เดิมเรียก "ถนนโชคชัย–เดชอุดม"), ถนนสถลมารค (ช่วงเดชอุดม–วารินชำราบ) หรือ ถนนสถิตนิมานการ (ช่วงวารินชำราบ–อุบลราชธานี) เป็นทางหลวงสายประธานภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่แยกออกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เดิมกิโลเมตรที่ 0 อยู่ที่ทางแยกโชคชัย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 (ถนนราชสีมา–โชคชัย) ต่อมาได้มีการนับกิโลเมตรที่ 0 ที่ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และต่อขยายจากอำเภอเดชอุดมถึงอำเภอวารินชำราบ เป็นทางหลวงสำคัญที่เชื่อมต่อกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตัดผ่านเขตจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ตามลำดับ โดยถนนสายนี้ส่วนหนึ่งอยู่ใกล้ตัวเมืองใหญ่ และเป็นหนึ่งในเส้นทางสัญจรหลักของประเทศเชื่อมต่อระหว่างภาคกลาง–ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อีกทั้งเป็นถนนสายหลักที่ใช้เชื่อมต่อไปยังประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ในปัจจุบันได้ดำเนินการขยายช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เสร็จสิ้นตลอดทั้งสายแล้ว และอนาคตจะขยาย 6 ช่องจราจร (ช่วงสีคิ้ว–โชคชัย) 8 ช่องจราจร (ช่วงโชคชัย–ขุขันธ์) และ 12 ช่องจราจร (ช่วงขุขันธ์–เดชอุดม) ประวัติทางหลวงหมายเลข 24 เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสำคัญที่ก่อสร้างตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2510–2514 ในยุคสมัยของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยก่อสร้างในรูปแบบถนนคอนกรีตและแอสฟัลต์ ใน พ.ศ. 2513 ช่วงอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง 331 กิโลเมตร เป็นทางหลวงสำคัญในการสัญจรของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยนิยมเรียกกันว่า ถนนโชคชัย–เดชอุดม [2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555–2556 ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการขยายทางหลวงเป็น 4 ช่องจราจร ในช่วงอำเภอสีคิ้ว–อำเภอโชคชัย และได้นับหลักทางหลวงใหม่ที่บริเวณแยกต่างระดับสีคิ้ว เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนสีคิ้ว–อุบลราชธานี และได้มีโครงการขยายช่องจราจรต่อไป ในช่วงอำเภอนางรองถึงอำเภอปราสาท และไปแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2560 รวมเส้นทางที่มี 4 ช่องจราจร 190 กิโลเมตร[3][4] พ.ศ. 2560–2561 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ถูกบรรจุอยู่ในแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 ของกรมทางหลวง [โครงข่ายที่ 7 สาย อำเภอสัตหีบ–อำเภอพนมสารคาม–อำเภอกบินทร์บุรี–อำเภอปักธงชัย–อำเภอโชคชัย–อำเภอนางรอง–อำเภอปราสาท–อุบลราชธานี–มุกดาหาร (รวมอำเภอสีคิ้ว–อำเภอโชคชัย)] ได้มีการขยายช่องจราจรต่อไปในเส้นทางที่เหลือช่วงอำเภอปราสาท–อำเภอขุขันธ์-แยกทางหลวง 2085 ระยะทาง 118.542 กิโลเมตร และแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2562 ทำให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เป็นทางหลวง 4 ช่องจราจรตลอดทั้งสายนับแต่นั้นมา เป็นการเพิ่มความสะดวกในการสัญจรขนส่ง และรองรับการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว และเวียดนาม[5][1] เดิมกรมทางหลวงได้นำหมายเลขของทางหลวงสายนี้ไปเรียกทางหลวงสายตาก-ขอนแก่นอีกด้วย (ปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) รายละเอียดของเส้นทางจังหวัดนครราชสีมาทางหลวงแผ่นดินสายทางต่างระดับสีคิ้ว–อุบลราชธานี เป็นทางหลวงสายประธานภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่แยกออกมาจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ที่หลักกิโลเมตร 102+078 เริ่มต้นทางหลวงที่บริเวณแยกทางต่างระดับสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่าน อำเภอสีคิ้ว อำเภอปักธงชัย อำเภอโชคชัย ผ่านแยกโชคชัย ตำบลโชคชัย ซึ่งเป็นหลักกิโลเมตรเริ่มต้นเดิม ผ่านอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทาง 86.14 กม. จังหวัดบุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษเข้าสู่ จังหวัดบุรีรัมย์ ตัดผ่านพื้นที่ อำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ บริเวณแยกบ้านตะโกสามารถเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2117 เพื่อเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งได้ จากนั้นผ่าน อำเภอประโคนชัย รวมระยะทางในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งสิ้น 85.70 กม. ช่วง จังหวัดสุรินทร์ ผ่าน อำเภอปราสาท ที่แยกกลางเมืองปราสาท สามารถเลี้ยวขวาไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 เพื่อเดินทางเชื่อมต่อไปยังประเทศกัมพูชา ณ ด่านพรมแดนช่องจอม จากนั้นผ่านอำเภอสังขะ รวมระยะทางในเขตจังหวัดสุรินทร์ 90.30 กม. จากนั้นเข้าสู่เขต จังหวัดศรีสะเกษ ผ่านแยกนาเจริญ ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ ซึ่งสามารถเลี้ยวไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 เพื่อไปยังด่านศุลกากรช่องสะงำ เชื่อมต่อไปยังประเทศกัมพูชา จากนั้นผ่านตัวอำเภอขุขันธ์ อำเภอไพรบึง อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอเบญจลักษ์ รวมระยะทาง 85.40 กม. จังหวัดอุบลราชธานีทางหลวงหมายแผ่นดินเลข 24 เข้าสู่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดสุดท้าย ตัดผ่านพื้นที่ อำเภอเดชอุดม จากนั้นจะเลี้ยวออกไปทางซ้าย มุ่งหน้าไปขึ้นทางทิศเหนือ โดยในช่วงอำเภอเดชอุดม ไปจนถึงอำเภอวารินชำราบจะเปลี่ยนชื่อเป็น ถนนสถลมารค (ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกถนนที่ตัดจากตัวเมืองวารินชำราบถึงอำเภอเดชอุดมมาแต่เดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ก่อนจะกลายเป็นทางหลวง) จากนั้นจะเข้าสู่เทศบาลเมืองวารินชำราบ บริเวณแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ไปจนถึงบริเวณก่อนขึ้นสะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 จะเปลี่ยนชื่อเป็น ถนนสถิตนิมานการ (เป็นชื่อที่ใช้เรียกถนนที่ตัดจากวารินชำราบ-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ซึ่งปัจจุบันคือ ทางหลวงหมายเลข 24 ในช่วงเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ และทางหลวงหมายเลข 217 ในช่วงวารินชำราบ-ช่องเม็ก)[6] ทางหลวงแผ่นดินจะสิ้นสุดบริเวณ สะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 ในอำเภอเมือง ในปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 24 เป็นทางหลวง 4 ช่องจราจรตลอดทั้งสาย รวมระยะทางทั้งสิ้น 420.94 กิโลเมตร[7]
พื้นที่ที่ตัดผ่าน
รายชื่อทางแยก
เขตควบคุมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 17 ตอน ได้แก่
ทางหลวงที่เกี่ยวข้องถนนเข้าบ้านนาส่วง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2483)
ทางหลวงหมายเลข 24 ตอนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - อ.เดชอุดม เดิมมีเส้นทางที่ตัดผ่านกลางหมู่บ้านนาส่วง ตำบลนาส่วง ทำให้ยากต่อการขยายพื้นที่จราจร ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 จึงได้มีตัดถนนเลี่ยงเมืองนาส่วงใหม่แล้วตั้งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เพิ่มเติมจากเส้นทางเดิม ช่วงระหว่าง กม.19+300 ถึง กม.27+300 รวมระยะทาง 8.6 กม. เพื่อเลี่ยงบริเวณพื้นที่หมู่บ้านนาส่วง ขยายพื้นผิวจราจร ช่วยรองรับปริมาณการจราจร และเพิ่มศักยภาพสายทางเชื่อมโยงโครงข่ายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน[8] ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขทางหลวงเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2483 สายทางเข้านาส่วง เขตควบคุมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2483
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia