จันทรยาน-1
จันทรยาน-1 (ฮินดี: चंद्रयान-1; เตลูกู: చంద్రయాన్-1) เป็นยานอวกาศสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ของอินเดีย ออกแบบและสร้างโดยองค์การวิจัยด้านอวกาศแห่งอินเดีย (Indian Space Research Organisation - ISRO) ส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 06.22 น. ตามเวลาในท้องถิ่น หรือ 00:52 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด[4] จากศูนย์อวกาศสาทิศธาวัน รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย จันทรยาน-1 เข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[5] ส่วนตัวยานลูก Moon Impact Probe ที่จันทรยาน-1 นำขึ้นไปด้วย ได้ลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน จันทรยาน-1 เป็นยานสำรวจรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ น้ำหนัก 1.3 ตัน มีภารกิจโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อทำแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์แบบ 3 มิติ และแผนที่ส่วนประกอบและแร่ธาตุ โดยเฉพาะการสำรวจเพื่อค้นหาฮีเลียม 3 และน้ำแข็ง โดยจะส่งยานลูก (Moon Impact probe - MIP) น้ำหนัก 30 กิโลกรัม กระทบพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อวิเคราะห์อนุภาคฝุ่น อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ จันทรยาน-1
|
Portal di Ensiklopedia Dunia