ฮายาบูซะ 2 (อักษรโรมัน: Hayabusa2; ญี่ปุ่น: はやぶさ2; โรมาจิ: หมายถึงเหยี่ยวเพเรกริน) เป็นโครงการสำรวจและเก็บตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยกลับสู่โลก ดำเนินงานโดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ถือเป็นภารกิจต่อจากภารกิจฮายาบูซะ ซึ่งประสบความสำเร็จในการสำรวจดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตกาวะไปเมื่อปี พ.ศ. 2548[5]
ภาพจำลองยานฮายาบูซะ 2 ขณะที่ไอพ่นกำลังทำงาน
ยานสำรวจฮายาบูซะ2 สร้างโดยบริษัท NEC ของญี่ปุ่น[6] ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่สร้างยานฮายาบูซะ ภารกิจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลการพัฒนาจุดอ่อนและปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในยุคของฮายาบูซะ[7]
ภาพรวมภารกิจ
การปล่อยยานแต่เดิมกำหนดปล่อยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:23 น.[8][9][10] แต่ถูกเลื่อนออกไป 4 วัน เป็นวันที่ 4 ธันวาคม เวลา 13:22 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น[11]
ยานสำรวจฮายาบูซะ2 มีเป้าหมายคือดาวเคราะห์น้อย 162173 รีวงู (ชื่อเดิม 1999 JU3) ตามกำหนดการคาดว่ายานลำนี้จะไปถึงราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 แล้วโคจรสำรวจรอบดาวเคราะห์น้อยเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง ออกจากวงโคจรในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และกลับถึงโลกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563[10]
ยานฮายาบูซะ2 ใช้พลังงานจากเครื่องขับดันไอออน ใช้เทคโนโลยียกระดับการเดินอวกาศยาน การนำทาง สายอากาศและระบบควบคุมการวางตัวของยาน[12] นอกจากนี้ยังบรรทุกอุปกรณ์ระเบิดไปกับยานเพื่อใช้ขุดผิวหน้าดาวเคราะห์น้อยและเก็บตัวอย่างชิ้นส่วน[10]
อุปกรณ์และเครื่องมือ
อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ยานสำรวจฮายาบูซะ2 ได้บรรทุกไปด้วย ได้แก่[13][14]
- เครื่องมือเพื่อการรับรู้ระยะไกล ได้แก่ กล้องนำทางเชิงแสง (Optical Navigation Camera, ONC-T, ONC-W1, ONC-W2) กล้องอินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น (NIR3) กล้องอินฟราเรดความร้อน (Thermal-Infrared Camera, TIR) และไลดาร์ (LIDAR)
- เครื่องมือเพื่อเก็บตัวอย่าง ได้แก่ อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง (SMP) ตัวปะทะติดตัวขนาดเล็ก (Small Carry-on Impactor, SCI) และกล้องปรับได้ (Deployable Camera, DCAM3)
- แลนเดอร์ (ยานลงจอด) และโรเวอร์ (ยานลงจอดเคลื่อนที่ได้) ได้แก่ Mobile Asteroid Surface Scout (MASCOT), MINERVA-II-1 ROVER 1A, MINERVA-II-1 ROVER 1B และ MINERVA-II-2 ROVER 2
อ้างอิง
- ↑ "JAXA Launches Hayabusa2 Asteroid Probe: NEC conducts manufacturing and testing as probe system coordinator" (ภาษาอังกฤษ). NEC. 3 ธันวาคม 2014.
- ↑ "Launch of "Hayabusa2" by H-IIA Launch Vehicle No. 26" (ภาษาอังกฤษ). JAXA. 30 กันยายน 2014.
- ↑ "Hayabusa2 Earth Swing-by Result" (ภาษาอังกฤษ). JAXA. 14 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Japan's Hayabusa 2 spacecraft reaches cosmic 'diamond'" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 27 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2018.
- ↑ Planetary Protection of Hayabusa-2 Mission, a Sample Return from 1999 JU3 เก็บถาวร 2013-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Engineers seek smoother space journey for Hayabusa 2, Takashi Kamiguri, Asahi Shimbun, 9 มิถุนายน 2012
- ↑ Wendy Zukerman (18 สิงหาคม 2010). "Hayabusa2 will seek the origins of life in space". New Scientist.
- ↑ JAXA Report on Hayabusa2, May 21st, 2014 เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Vilas, Faith (25 February 2008), "Spectral characteristics of Hayabusa 2 near-Earth asteroid targets 162173 1999 JU3 AND 2001 QC34", The Astronomical Journal, 135 (4): 1101, Bibcode:2008AJ....135.1101V, doi:10.1088/0004-6256/135/4/1101,
target for the planned Japanese mission Hayabusa2
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Makoto Yoshikawa (6 January 2011), "小惑星探査ミッション「はやぶさ2」- Asteroid Exploration Mission "Hayabusa2"" (PDF), 11th Symposium on Space Science (ภาษาญี่ปุ่น), สืบค้นเมื่อ 20 February 2011[ลิงก์เสีย]
- ↑ Clark, Stephen (3 ธันวาคม 2014), Hayabusa2 launches on audacious asteroid adventure, spaceflightnow
- ↑ Japan's next asteroid probe approved for development
- ↑ はやぶさ2情報源 Fact Sheet 小惑星到着直前版 (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), JAXA, 19 April 2018, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-20, สืบค้นเมื่อ 20 June 2018
- ↑ "Current status of the asteroid explorer, Hayabusa2, leading up to arrival at asteroid Ryugu in 2018" (PDF). JAXA. 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ยานที่กำลังปฏิบัติภารกิจ | |
---|
ยานที่ภารกิจสิ้นสุดแล้ว ตั้งแต่ปี 2000 เรียงตามปี ค.ศ. ที่ภารกิจสิ้นสุด | 2000s |
- 2001
- 2003
- 2004
- 2005
- 2006
- 2008
- 2009
|
---|
2010s |
- 2010
- 2011
- 2012
- 2013
- 2014
- 2015
- 2016
- 2017
- 2018
- 2019
|
---|
2020s | |
---|
|
---|