cytochrome P450 family 2 subfamily C member 9 Identifiers Aliases flavoprotein-linked monooxygenase1.14.99.38S-mephenytoin 4-hydroxylasecytochrome P450family 2subfamily Cpolypeptide 9(R)-limonene 6-monooxygenasemicrosomal monooxygenase1.14.13.80xenobiotic monooxygenasecytochrome P-450MPCYPIIC9cytochrome P450 PB-1cytochrome P450 2C9(S)-limonene 6-monooxygenase1.14.13.48cytochrome P-450 S-mephenytoin 4-hydroxylaseCytochrome P450 MP-4CYP2C9(S)-limonene 7-monooxygenase1.14.13.49Cholesterol 25-hydroxylaseCytochrome P450 MP-8External IDs GeneCards : [1] Wikidata
ไซโทโครม P450 2C9 (อังกฤษ : Cytochrome P450 2C9 ; ชื่อย่อ: CYP2C9 ; EC 1.14.13.48 ) เป็นเอนไซม์ ในมหาสกุล ไซโทโครม P450 ซึ่งระบบออกซิเดชันอเนกประสงค์ของร่างกาย โดย CYP2C9 มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดเมแทบอลิซึมของสารกลุ่มซีโนไบโอติคส์ ในร่างกาย ทั้งนี้ เอนไซม์ CYP2C9 ถูกควบคุมโดยยีน CYP2C9 [ 1] [ 2] ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 10 โลคัส 10q23.33 และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 [ 3]
หน้าที่
CYP2C9 เป็นเอนไซม์ที่สำคัญในไซโทโครม P450 ซึ่งทำหน้าที่หลักในการออกซิไดซ์สารซีโนไบโอติก และสารประกอบอื่นภายในร่างกาย โดยปริมาณของ CYP2C9 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 18 ของโปรตีนในไซโทโครม P450 ของไมโครโซมของเซลล์ตับ โดยยาที่ใช้ในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคในปัจจุบันกว่า 100 ชนิดนั้นต้องเกิดการเมแทบอลิซึมผ่าน CYP2C9 นี้ ซึ่งรวมไปถึงยาที่มีขอบเขตการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) อย่างวาร์ฟาริน และเฟนิโทอิน และยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆอีกมากมายที่จำเป็นต้องมีการบริหารยาต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน เช่น อะซีโนคูมารอล โทลบูตาไมด์ ลอซาร์แทน กลิพิไซด์ และยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ บางชนิด ในทางตรงกันข้าม เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบัน CYP2C9 ที่อยู่นอกเนื้อเยื่อตับจำทำหน้าที่ในการเมแทบอไลซ์สารภายในร่างกาย (endogenous compound) ที่สำคัญ เช่น เซโรโทนิน และเนื่องจากการที่ CYP2C9 มีฤทธิ์เป็นเอนไซม์อีพอกซีจีเนส ด้วย ทำให้สามารถเมแทบอไลซ์กรดไขมันไม่อิ่มตัว สายได้ด้วย โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันเหล่านี้ไปเป็นสารชีวเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกายต่อไป[ 4] [ 5]
การเกิดเมแทบอลิซึมของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาวโดย CYP2C9 จะได้สารเมแทบอลไต์ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นกับชนิดของกรดไขมันตั้งต้น โดยการเมแทบอไลซ์กรดอะราคิโดนิก จะให้สารผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มสารสเตอริโอไอโซเมอร์ ของกรดอีพอกไซด์ไอโคแซททริอีโนอิค (EETs) คือ 5R ,6S -epoxy-8Z,11Z,14Z-eicosatetrienoic และ 5S ,6R -epoxy-8Z,11Z,14Z-eicosatetrienoic acids; 11R ,12S -epoxy-8Z,11Z,14Z-eicosatetrienoic และ 11S ,12R -epoxy-5Z,8Z,14Z-eicosatetrienoic acids; และ 14R ,15S -epoxy-5Z,8Z,11Z-eicosatetrainoic และ 14S ,15R -epoxy-5Z,8Z,11Z-eicosatetrainoic acids ส่วนการเมแทบอไลซ์กรดดอคโคซาเฮกซะอีโนอิก จะได้สารเมแทบอไลต์เป็นกรดอีพอกซีดอคโคซาเพนทาอีโนอิก (EDPs; ส่วนใหญ่เป็น 19,20-epoxy-eicosapentaenoic acid ไอโซเมอร์ [10,11-EDPs]) และการเมแทบอไลซ์กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก จะได้สารสุดท้ายเป็นกรดอีพอกซีไอโคซาเตตราอีโนอิก (EEQs, ส่วนใหญ่เป็น 17,18-EEQ และ 14,15-EEQ ไอโซเมอร์)[ 6] ข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดพบว่าสารอีพอกไซด์เหล่านี้มีความเกี่ยวเนื่องกับการลดลงของระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และความผิดปกติอื่นที่จะนำสู่การเกิดพยาธิสภาพแก่หัวใจ; การกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง; การยับยั้งกระบวนการการอักเสบ ; การกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่; และฤทธิ์อื่นๆ ต่อเนื้อเยื่อประสาท ซึ่งรวมไปถึงการปรับสมดุลการหลั่งฮอร์โมนประสาท และการยับยั้งการรับรู้ความปวด (ดูเพิ่มที่ กรดอีพอกซีไอโคแซททริอีโนอิก และอีพอกซีจีเนส )[ 5]
เภสัชพันธุศาสตร์
CYP2C9 ถือเป็นเอนไซม์อีกชนิดหนึ่งที่มีการแสดงออกที่มีความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม ทั้งนี้เนื่องจากยีน CYP2C9 ที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้มีความแปรผันหลากหลายค่อนข้างสูง โดยในปัจจุบัน SNPs ของยีน CYP2C9 มีอยู่มากกว่า 50 ซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม (SNPs) ทั้งในส่วนควบคุม และส่วนกำหนดข้อมูลพันธุกรรม [ 7] ในจำนวนนี้พบว่าบาง SNPs มีความสัมพันธ์กับการลดลงของการทำงานของเอนไซม์ CYP2C9 เมื่อเปรียบเทียบกับเอนไซม์ในหลอดทดลอง[ต้องการอ้างอิง ]
การศึกษาในมนุษย์หลายการศึกษาพบว่ารูปแบบพันธุกรรม หลายรูปแบบของ CYP2C9 ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ มีความสัมพันธ์กับระดับการเกิดเมแทบอลิซึม และขนาดยาต่อวันของซับสเตรต ของ CYP2C9 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว อาการไม่พึงประสงค์จากยา (ADRs) ที่เกิดขึ้นมักเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ CYP2C9 ที่ไม่อาจคาดเดาได้ และถือเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม อีกทอดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซับสเตรตที่สำคัญของ CYP2C9 อย่างวาร์ฟาริน และเฟนิโทอิน ที่อาจถูกเมแทบอไลซ์ได้น้อยลงเนื่องจากความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดพิษจากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ ถึงแม้จะเป็นการบริหารยาในขนาดปกติก็ตาม[ 8] [ 9]
ความถี่อัลลีล (%) ของยีน CYP2C9 ในกลุ่มประชากรต่างๆ
อัลลีล
ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
ชาวแอฟริกันผิวดำ
ชาวปิ๊กมี่
ชาวเอเชีย
ชาวคอเคเซียน
CYP2C9*2
2.9
0-4.3
0
0-0.1
8-19
CYP2C9*3
2.0
0-2.3
0
1.1-3.6
3.3-16.2
CYP2C9*5
0-1.7
0.8-1.8
ไม่มีข้อมูล
0
0
CYP2C9*6
0.6
2.7
ไม่มีข้อมูล
0
0
CYP2C9*7
0
0
6
0
0
CYP2C9*8
1.9
8.6
4
0
0
CYP2C9*9
13
15.7
22
0
0.3
CYP2C9*11
1.4-1.8
2.7
6
0
0.4-1.0
CYP2C9*13
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
0.19-0.45
ไม่มีข้อมูล
ลิแกนด์ของ CYP2C9
การเป็นอีพอกซีจีเนส
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Romkes M, Faletto MB, Blaisdell JA, Raucy JL, Goldstein JA (April 1991). "Cloning and expression of complementary DNAs for multiple members of the human cytochrome P450IIC subfamily". Biochemistry . 30 (13): 3247–55. doi :10.1021/bi00227a012 . PMID 2009263 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Inoue K, Inazawa J, Suzuki Y, Shimada T, Yamazaki H, Guengerich FP, Abe T (September 1994). "Fluorescence in situ hybridization analysis of chromosomal localization of three human cytochrome P450 2C genes (CYP2C8, 2C9, and 2C10) at 10q24.1". The Japanese Journal of Human Genetics . 39 (3): 337–43. doi :10.1007/BF01874052 . PMID 7841444 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ National Center for Biotechnology Information (April 9, 2018). "CYP2C9 cytochrome P450 family 2 subfamily C member 9 [ Homo sapiens (human) ]" . U.S. National Library of Medicine . สืบค้นเมื่อ April 18, 2018 .
↑ Rettie AE, Jones JP (2005). "Clinical and toxicological relevance of CYP2C9: drug-drug interactions and pharmacogenetics". Annual Review of Pharmacology and Toxicology . 45 : 477–94. doi :10.1146/annurev.pharmtox.45.120403.095821 . PMID 15822186 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 5.0 5.1 Spector AA, Kim HY (April 2015). "Cytochrome P450 epoxygenase pathway of polyunsaturated fatty acid metabolism" . Biochimica et Biophysica Acta . 1851 (4): 356–65. doi :10.1016/j.bbalip.2014.07.020 . PMC 4314516 . PMID 25093613 .
↑ Westphal C, Konkel A, Schunck WH (November 2011). "CYP-eicosanoids--a new link between omega-3 fatty acids and cardiac disease?". Prostaglandins & Other Lipid Mediators . 96 (1–4): 99–108. doi :10.1016/j.prostaglandins.2011.09.001 . PMID 21945326 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Sim, Sarah C (2 May 2011). "CYP2C9 allele nomenclature" . Cytochrome P450 (CYP) Allele Nomenclature Committee .
↑ García-Martín E, Martínez C, Ladero JM, Agúndez JA (2006). "Interethnic and intraethnic variability of CYP2C8 and CYP2C9 polymorphisms in healthy individuals". Molecular Diagnosis & Therapy . 10 (1): 29–40. doi :10.1007/BF03256440 . PMID 16646575 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rosemary J, Adithan C (Jan 2007). "The pharmacogenetics of CYP2C9 and CYP2C19: ethnic variation and clinical significance". Current Clinical Pharmacology . 2 (1): 93–109. doi :10.2174/157488407779422302 . PMID 18690857 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
แหล่งข้อมูลอื่น
PharmGKB: Annotated PGx Gene Information for CYP2C9 เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
SuperCYP: Database for Drug-Cytochrome-Interactions เก็บถาวร 2011-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ตำแหน่งจีโนม CYP2C9 ของมนุษย์ และหน้าเพจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับยีน CYP2C9 ใน UCSC Genome Browser
Goldstein JA, de Morais SM (December 1994). "Biochemistry and molecular biology of the human CYP2C subfamily". Pharmacogenetics . 4 (6): 285–99. doi :10.1097/00008571-199412000-00001 . PMID 7704034 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
Miners JO, Birkett DJ (June 1998). "Cytochrome P4502C9: an enzyme of major importance in human drug metabolism" . British Journal of Clinical Pharmacology . 45 (6): 525–38. doi :10.1046/j.1365-2125.1998.00721.x . PMC 1873650 . PMID 9663807 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
Smith G, Stubbins MJ, Harries LW, Wolf CR (December 1998). "Molecular genetics of the human cytochrome P450 monooxygenase superfamily". Xenobiotica . 28 (12): 1129–65. doi :10.1080/004982598238868 . PMID 9890157 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
Henderson RF (June 2001). "Species differences in the metabolism of olefins: implications for risk assessment". Chemico-Biological Interactions . 135–136: 53–64. doi :10.1016/S0009-2797(01)00170-3 . PMID 11397381 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
Xie HG, Prasad HC, Kim RB, Stein CM (November 2002). "CYP2C9 allelic variants: ethnic distribution and functional significance" . Advanced Drug Delivery Reviews . 54 (10): 1257–70. doi :10.1016/S0169-409X(02)00076-5 . PMID 12406644 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
Palkimas MP, Skinner HM, Gandhi PJ, Gardner AJ (June 2003). "Polymorphism induced sensitivity to warfarin: a review of the literature". Journal of Thrombosis and Thrombolysis . 15 (3): 205–12. doi :10.1023/B:THRO.0000011376.12309.af . PMID 14739630 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
Daly AK, Aithal GP (August 2003). "Genetic regulation of warfarin metabolism and response". Seminars in Vascular Medicine . 3 (3): 231–8. doi :10.1055/s-2003-44458 . PMID 15199455 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
บทความนี้รวบรวมข้อมูลจากหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน ซึ่งจัดเป็นสาธารณสมบัติ
เฉลียงภาพ PDB
1og2 : โครงสร้างผลึกของไซโทโครม P450 CYP2C9 ของมนุษย์1og2 : โครงสร้างผลึกของไซโทโครม P450 CYP2C9 ของมนุษย์
1og5 : โครงสร้างผลึกของไซโทโครม P450 CYP2C9 ของมนุษย์1og5 : โครงสร้างผลึกของไซโทโครม P450 CYP2C9 ของมนุษย์
1r9o : โครงสร้างผลึกของไซโทโครม P450 CYP2C9 ของมนุษย์ ซึ่งจับอยู่กับเฟลอร์บิโพรเฟน 1r9o : โครงสร้างผลึกของไซโทโครม P450 CYP2C9 ของมนุษย์ ซึ่งจับอยู่กับ
เฟลอร์บิโพรเฟน
CYP1 CYP2 CYP3 (CYP3A ) CYP4 CYP5-20 CYP21-51
การทำงาน การควบคุม การจำแนก จลศาสตร์ ประเภท