การตั้งชื่อเอนไซม์

การตั้งชื่อเอนไซม์ ได้ตกลงเป็นสากลว่า ชื่อของเอนไซม์จะต้องประกอบด้วยหน้าที่ของเอนไซม์แล้วลงท้ายด้วยคำว่า -เอส (-ase) ตัวอย่างเช่น แอลกอฮอล์ ดีไฮโดรเจเนส (alcohol dehydrogenase), ดีเอ็นเอ พอลิเมอเรส (DNA polymerase), ไคเนส (Kinase) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายหมู่ฟอสเฟต

เอนไซม์ต่างกันแต่ทำหน้าที่เหมือนกันจะมีชื่อพื้นฐานที่เหมือนกัน ดังนั้นจึงนำจุดสังเกตความแตกต่างในคุณสมบัติอื่น ๆ มาประกอบ เช่น การใช้ pH ที่เหมาะสมมาประกอบ ตัวอย่างคือ "อัลคาไลน์ ฟอสฟาเทส" (alkaline phosphatase) หรือตำแหน่งที่มันอยู่ เช่น เมมเบรน เอทีเพส (membrane ATPase)

ยิ่งไปกว่านั้น การย้อนกลับของปฏิกิริยาเคมี มีความหมายว่าทิศทางสรีรวิทยาของการทำงานของเอนไซม์อาจจะไม่สามารถสังเกตได้ในห้องทดลอง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เอนไซม์ตัวเดียวกันแต่ถูกตั้งชื่อแตกต่างกันป็นสองชื่อเช่น ชื่อหนึ่งได้จากข้อมูลการทดลองในห้องปฏิบัติการ อีกชื่อหนึ่งได้จากข้อมูลการสังเกตพฤติกรรมในเซลล์

สหภาพนานาชาติชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล ได้ช่วยกันพัฒนาระบบการตั้งชื่อ (nomenclature) เอนไซม์ โดยใช้ หมายเลข อีซี (Enzyme Commission number) ซึ่งเป็นรูปแบบการจำแนกประเภทเชิงตัวเลขสำหรับเอนไซม์ โดยอิงจากปฏิกิริยาเคมีที่เอนไซม์เร่งปฏิกิริยา[1] หมายเลข EC ทุกหมายเลขจะเชื่อมโยงกับชื่อที่แนะนำสำหรับปฏิกิริยาที่เร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง

หมายเลข EC ไม่ได้ระบุเอนไซม์แต่ระบุปฏิกิริยาที่เร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ หากเอนไซม์ต่างชนิดกัน (เช่น จากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน) เร่งปฏิกิริยาเดียวกัน เอนไซม์เหล่านั้นก็จะได้รับหมายเลข EC เดียวกัน[2] นอกจากนี้ จากวิวัฒนาการแบบเบนเข้า โปรตีนที่มีรูปแบบการพับตัวต่างกันโดยสิ้นเชิงสามารถเร่งปฏิกิริยาที่เหมือนกันได้ (บางครั้งเรียกว่าเอนไซม์ไอโซฟังก์ชันที่ไม่คล้ายคลึงกัน)[3] และด้วยเหตุนี้จึงได้รับหมายเลข EC เดียวกัน ในทางตรงกันข้าม ตัวระบุ UniProt จะระบุโปรตีนอย่างเฉพาะเจาะจงโดยใช้ลำดับกรดอะมิโน[4]

ซึ่งเอนไซม์แต่ละตัวจะถูกระบุโดยชุดของเลข 4 ตัว แล้วนำหน้าด้วย "EC" หมายเลขแรกเป็นชั้นของเอนไซม์ที่กำหนดโดยกลไกการทำงานของมัน:

หมู่ ปฏิกิริยาที่เร่ง
(Reaction catalyzed)
ตัวอย่างปฏิกิริยา
(Typical reaction)
ตัวอย่างเอนไซม์
(Enzyme example(s) with trivial name)
EC 1
ออกซิโรดักเทส (Oxidoreductase)
เพื่อเร่ง ออกซิเดชัน/ปฏิกิริยารีดักชัน (reduction reactions); โดยการเคลื่อนย้าย H และ O อะตอม หรือ อิเล็กตรอน จากสสารหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง AH + B → A + BH (รีดิวซ์)
A + O → AO (ออกซิไดซ์)
ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase), ออกซิเดส (Oxidase)
EC 2
ทรานสเฟอเรส (Transferase)
การย้ายหมู่ฟังก์ชัน จากสารหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง อาจเป็นหมู่ เมทิล- อะคิล- อะมิโน- หรือหมู่ฟอสเฟต AB + C → A + BC ทรานซามิเนส (Transaminase), ไคเนส (kinase)
EC 3
ไฮโดรเลส (Hydrolase)
การเกิดสองผลิตภัณฑ์จากตัวถูกเปลี่ยน 1 ตัว โดยไฮโดรไลซิส (hydrolysis) AB + H2O → AOH + BH ไลเปส (Lipase), อะไมเลส (amylase), เปปติเดส (peptidase)
EC 4
ไลเอส (Lyase)
การเพิ่มแบบนอน-ไฮโดรไลติก หรือการกำจัดหมู่จากตัวถูกเปลี่ยน พันธะ C-C, C-N, C-O หรือ C-S อาจแยกออก RCOCOOH → RCOH + CO2
EC 5
ไอโซเมอเรส (Isomerase)
การจัดเรียงภายในโมเลกุลเช่น ไอโซเมอไรเซชัน เปลี่ยนภายในหนึ่งโมเลกุล AB → BA ไอโซเมอเรส (Isomerase), มิวเทส (mutase)
EC 6
ไลเกส (Ligase)
การเชื่อมต่อระหว่าง สองโมเลกุลโดยการสังเคราะห์ใหม่ พันธะ C-O, C-S, C-N หรือ C-C ด้วยการสลายตัวเองของ ATP X + Y+ ATP → XY + ADP + Pi ซินเธเทส (Synthetase)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Webb, E. C. (1992). Enzyme nomenclature 1992: recommendations of the Nomenclature Committee of the International Union of Biochemistry and Molecular Biology on the nomenclature and classification of enzymes. Academic Press. ISBN 978-0-12-227164-9.
  2. "ENZYME (Enzyme nomenclature database)". ExPASy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2019.
  3. Omelchenko MV, Galperin MY, Wolf YI, Koonin EV (2010). "Non-homologous isofunctional enzymes: a systematic analysis of alternative solutions in enzyme evolution". Biology Direct. 5 (1): 31. doi:10.1186/1745-6150-5-31. PMC 2876114. PMID 20433725.
  4. Apweiler R, Bairoch A, Wu CH, Barker WC, Boeckmann B, Ferro S, Gasteiger E, Huang H, Lopez R, Magrane M, Martin MJ, Natale DA, O'Donovan C, Redaschi N, Yeh LS (มกราคม 2004). "UniProt: the Universal Protein knowledgebase". Nucleic Acids Research. 32 (Database issue): D115–9. doi:10.1093/nar/gkh131. PMC 308865. PMID 14681372.

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia