โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ (ย่อ: ด.ส.) เดิมเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิงชื่อว่า บำรุงกุมารี เปิดสอนพร้อมกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เมื่อ พ.ศ. 2461 ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) และราษฎรได้แยกโรงเรียนมาตั้งบริเวณคุ้มเจ้าหลวงเชียงราย “พระยารัตนาเขต” (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย ดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ปี พ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ประวัติโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ก่อตั้งขึ้นโดยพระยาราชเดชดำรง(ผล ศรุตานนท์) เมื่อปีพ.ศ. 2476 เดิมเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง มีชื่อว่า "บำรุงกุมารี" เปิดสอนพร้อมกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เมื่อ พ.ศ. 2461 ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) และราษฎรได้แยกโรงเรียนมาตั้งบริเวณคุ้มเจ้าหลวงเชียงราย "พระยารัตนาเขต" (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย "ดำรงราษฎร์สงเคราะห์" ปี พ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์" ปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ รายนามผู้บริหาร
อาณาบริเวณโรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 2 งาน 49.4 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 10 หลัง เป็นห้องเรียนทั้งหมด 72 ห้อง และห้องปฏิบัติการทางวิชาการ 37 ห้อง อาคารหลักมี ดังต่อไปนี้ • อาคาร 1 (อาคารบำรุงกุมารี) อาคารเรียนหลังใหม่ 7 ชั้น เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 1 (ภาษาอังกฤษ) ชั้น3 และชั้น4 เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้น5 และชั้น6 เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนชั้นมัธยศึกษาปีที่ 6 ชั้น7 เป็นห้องเรียนนาฏศิลป์ไทย ห้องดนตรีไทย ห้องดนตรีสากล และห้องดาราศาสตร์ • อาคาร 2 (อาคารศรีรัตนาณาเขต) เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา และห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน • อาคาร 3 (อาคารราชเดชดำรง) ชั้นหนึ่ง เป็นที่ตั้งสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานฝ่ายอำนวยการ สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน สำนักฝ่ายวิชาการ สำนักงานนโยบายและแผนงาน สำนักงานการเงิน และห้องรับรองพิเศษ ชั้นสอง เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ 1 (คอมพิวเตอร์) ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ชั้นสาม เป็นห้องสืบค้นข้อมูล (Resource Center) ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนทางไกล(ห้องสีม่วง) ชั้นสี่ เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียน Mini English Program (MEP) จำนวน 3 ห้อง คือ ห้อง ม.1.12, ม.2.12 และ ม.3.12 • อาคาร 4 (อาคารพิทักษ์พงษ์เชียงมั่น) เป็นที่ตั้งสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม • อาคาร 5 (อาคารพันธุมติรัตนา) เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศที่ 2 (ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น) ห้องปฏิบัติการ GHP คณิตศาสตร์ • อาคาร 6 (อาคารพระยอดเชียงราย) เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และดาราศาสตร์ ชั้นล่างเป็นห้องประชุมพงษ์ยอดเพชร • อาคารพงษ์สารภี เป็นที่ตั้งห้องประชุมช่อสารภี ห้องสมุด และโรงอาหาร (ใช้เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 6) • อาคารการงาน เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ2 ชั้นล่างเป็นห้องการงานและห้องเรียนบัญชี ชั้นบนเป็นห้องวงดุริยางค์ • อาคารศิลปะ เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะศึกษา (ศิลปะ) ที่ทำการชมรมทูบีนัมเบอร์วัน • ห้องประชุมศรีดำรง ใช้เป็นห้องประชุม เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนทุนโครงการอาหารกลางวัน • เรือนพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารไม้ครึ่งปูน ชั้นบนจัดเป็นห้องสักการะ พระยารัตนาณาเขต (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) และเป็นห้องดนตรีพื้นเมือง ชั้นล่างเป็นห้องหมอภาษา • เรือนพยาบาล เป็นอาคารไม้ครึ่งปูน เป็นที่ตั้งของห้องพยาบาล • ศาลาดำรงธรรม มีพระพุทธรูป ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวดำรง ประดิษฐานอยู่ในศาลา การศึกษาโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล กับทั้งมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยังจัดโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางสมรรถภาพของผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จัดระดับชั้นละ 12 ห้อง รวม 36 ห้อง ในแต่ละระดับชั้นแบ่งห้องเรียนตามการจัดการศึกษา ดังนี้
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดระดับชั้นละ 12 ห้อง รวม 36 ห้อง ในแต่ละระดับชั้นแบ่งห้องเรียนตามแผนการเรียนรู้ ดังนี้
การดำเนินโครงการ เริ่มจากคัดกรองนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางสาขาวิชานั้นมารับการศึกษาระดับสูงและรอบด้านเพื่อให้แตกฉานในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างแท้จริง ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยจะมีการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษดังกล่าวตลอดทั้งสามปี และผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการนี้จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองเป็นรายปีจากสภาการศึกษา การรับบุคคลเข้าศึกษา
การสำเร็จการศึกษาผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia