แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซิน
แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซิน (อังกฤษ: Alpha 1-antichymotrypsin; สัญลักษณ์ α1AC,[5] A1AC หรือ a1ACT) เป็นไกลโคโปรตีนประเภทแอลฟากลอบูลินในมหาวงศ์เซอร์ปิน ในมนุษย์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกถอดรหัสได้โดยยีน SERPINA3 ถูกจัดเป็นหนึ่งในโปรตีนระยะเฉียบพลันที่ตอบสนองต่อกระบวนการอักเสบในระยะต้น มีหน้าที่ในการต้านเอนไซม์โปรตีเอสที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย[6] หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างหรือเกิดความผิดปกติของ α1AC อาจนำไปสู่การเกิดโรคพาร์คินสัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[7] และโรคอัลไซเมอร์ได้[6] หน้าที่และความสำคัญทางคลินิกแอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินถูกสร้างได้ในตับ จัดเป็นโปรตีนระยะเฉียบพลัน (acute phase protein) ที่ถูกกระตุ้นได้ด้วยกระบวนการอักเสบ โดยจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานเอนไซม์ในกลุ่มโปรตีเอส อาทิ คาเทบซิน จีที่พบในนิวโตรฟิล และไคเมสที่อยู่ในแมสต์เซลล์ ด้วยการเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซม์เหล่านั้นจนทำให้มีรูปร่างหรือโครงรูปที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยปกป้องเนื้อเยื่อต่างๆ จากความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนล่างจากเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนในร่างกาย[6] ภาวะพร่องแอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินมักมีความสัมพันธ์กับโรคตับ โดยตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน SERPINA3 ในผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[7] นอกจากนี้ แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคอัลไซเมอร์ด้วยการกระตุ้นการสร้างเส้นใยแอมีลอยด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดการเสื่อมของระบบประสาทในผู้ป่วยโรคดังกล่าว[6] อันตรกิริยาการทดลองในหลอดทดลองพบว่า แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินสามารถเกิดอันตรกิริยากับ DNAJC1 ซึ่งเป็นโปรตีนจากเซลล์มะเร็งของหนู โดย DNAJC1 จะทำให้คุณสมบัติในการยับยั้งไคโมทริปซินของ α1AC หายไป[8] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia