แอนติทรอมบิน
แอนติทรอมบิน (อังกฤษ: Antithrombin; AT) เป็นโมเลกุลของโปรตีนขนาดเล็กที่มีหน้าที่ต้านการทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการการจับลิ่มของเลือดหลายชนิด โดยแอนติทรอมบินนี้จัดเป็นไกลโคโปตีนชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นที่ตับ ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 432 มอนอเมอร์ มีพันธะไดซัลไฟด์ในโมเลกุล 3 ตำแหน่ง และมีตำแหน่งที่สามารถเกิดปฏิกิริยาไกลโคซิเลชั่นได้ 4 ตำแหน่ง โดยแอลฟา-แอนติทรมอบิน (α-Antithrombin) ถือเป็นไอโซฟอร์มของแอนติทรอมบินที่พบได้มากที่สุดในกระแสเลือด ซึ่งตำแหน่งสำหรับการเกิดปฏิกิริยาไกลโคซิเลชั่นทั้ง 4 ตำแหน่งจะมีหมู่โอลิโกแซ็กคาไรด์เกาะอยู่ ส่วนบีตา-แอนติทรมอบิน (β-antithrombin) ที่พบได้น้อยกว่า จะมีตำแหน่งไกลโคซิเลชั่น 1 ตำแหน่งที่ไม่ถูกเกาะติดโดยโอลิโกแซ็กคาไรด์[1] ทั้งนี้ การทำงานของแอนติทรอมบินสามารถถูกกระตุ้นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวได้โดยยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาทิ เฮพาริน ซึ่งจะช่วยให้แอนติทรอมบินสามารถเข้าจับกับแฟคเตอร์ IIa (ทรอมบิน) และแฟคเตอร์ Xa ได้มากขึ้น[2] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia