สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด
สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด (อังกฤษ: Protein Z-dependent protease inhibitor หรือ ZPI) เป็นโปรตีนที่พบในกระแสเลือดของมนุษย์ ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของแฟคเตอร์ Xa และ XI ในกระบวนการจับลิ่มของเลือด ถูกถอดรหัสได้จากยีน SERPINA10 บนโครโมโซมคู่ที่ 14 โดย ZPI จัดเป็นโปรตีนในกลุ่มสารยับยั้งซีรีนโปรตีเอส (เซอร์ปิน) เคลดเอ ในขั้นตอนการออกฤทธิ์ เพื่อให้ ZPI สามารถต้านการทำงานของเอนไซม์เป้าหมายได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องอาศัยโปรตีนแซดเพื่อให้ช่วยในการเกิดปฏิกิริยา จึงเป็นที่มาของการกำหนดชื่อโปรตีนชนิดนี้ ซึ่งโปรตีนแซดดังกล่าวก็จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการจับลิ่มของเลือด โดยจะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของแฟคเตอร์ X ZPI มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 72 กิโลดัลตัน ถูกสร้างขึ้นที่ตับ โครงสร้างประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำนวน 444 มอนอเมอร์ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1998 ระหว่างการศึกษาการทำงานของโปรตีนแซด[1] และสามารถจำลองโครงสร้างได้สำเร็จในปี ค.ศ. 2000[2] และมีการศึกษาทางคลินิกที่พบว่า ภาวะพร่อง ZPI มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (thrombophilia) โดยพบผู้ที่มีความผิดปกติของ ZPI ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) มากถึงร้อยละ 4.4[3] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia