เหยี่ยวแดง
เหยี่ยวแดง เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางในวงศ์ Accipitridae สามารถพบได้ในอนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย ลักษณะเหยี่ยวแดงมีสีที่ตัดกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งตัวจะมีสีน้ำตาลแดงยกเว้นที่หัวและอกมีสีขาว ปลายปีกมีสีดำ ขามีสีเหลือง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มีความยาวจากปลายปีกจดปลายหาง 51 ซม. ตัวผู้ยาว 43 ซม.[2] นกวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแกมดำคล้ายกับเหยี่ยวดำ แต่มีสีจางกว่า ปีกสั้น และ หางมน เหยี่ยวแดงมีขนาดพอๆกับเหยี่ยวดำและมีลักษณะการบินที่คล้ายกันจากมุมปีก แต่มันมีปลายหางมนเหมือนกับนกในสกุล Milvus ขณะที่เหยี่ยวดำมีหางเป็นแฉก[3] นกทั้งสองสกุลนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก[4] เสียงร้อง:กิ๊ก หรือ เกรออ[3][5] อนุกรมวิธานเหยี่ยวแดงถูกจำแนกครั้งแรกโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวดัตช์ที่ชื่อ พีเทอร์ บอดเดอต์ (Pieter Boddaert) ในปี ค.ศ. 1783 มีด้วยกัน 4 สปีชีส์ย่อย:
การกระจายพันธุ์และสถานะการอนุรักษ์เหยี่ยวแดงสามารถพบได้ในประเทศศรีลังกา, ประเทศอินเดีย, ประเทศปากีสถาน, ประเทศบังกลาเทศ, และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางใต้ไปได้ไกลถึงรัฐนิวเซาท์เวลส์, ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกประจำถิ่น แต่อาจมีการย้ายถิ่นตามฤดูกาลตามปริมาณน้ำฝนในบางบริเวณของพิสัย[6] ส่วนใหญ่จะพบในที่ราบแต่บางครั้งพบที่ระดับความสูง 5000 ฟุตในเทือกเขาหิมาลัย[7] เหยี่ยวแดงถูกประเมินเป็นความเสี่ยงต่ำในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่ นกชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนลง อย่างเช่นใน ชวา[8] สำหรับในประเทศไทย เหยี่ยวแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นนกที่สามารถพบได้หลายพื้นที่ โดยจะพบได้ตามแถบชายฝั่งน้ำ, ที่ราบทุ่งนา, ป่าโปร่ง, ปากอ่าว, ชายฝั่งทะเล รวมถึงเกาะเล็ก ๆ ส่วนใหญ่ชอบอยู่ใกล้หมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านเลนตัก บริเวณาปากแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนประการหนึ่ง[9] พฤติกรรมเหยี่ยวแดงชอบบินอยู่ตัวเดียวหรือ เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพบอาหารมันจะบินเป็นวงกลม พร้อมกับบินดิ่งควงลงมา โฉบอาหารนั้นขึ้นไปกินบนต้นไม้สูงซึ่งอยู่ใกล้ ๆ อาหารได้แก่ กบ เขียด งู นก แมลง หนู ลูกเป็ด ลูกไก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เหยี่ยวแดง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ทำรังตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ วางไข่ครั้งละ 2 - 4 ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่นาน 29 - 31 วัน[10] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Haliastur indus ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Haliastur indus ที่วิกิสปีชีส์ |
Portal di Ensiklopedia Dunia