นครเซบู
Dakbayan sa Sugbu Lungsod ng Cebu
นครหนาแน่น
นครเซบู
สมญา: นครราชินีแห่งแดนใต้ เมืองหลวงแห่งแรก เมืองที่เก่าที่สุดของประเทศ
ประเทศ ฟิลิปปินส์ เขต กิตนางคาบีซายาอัน จังหวัด เซบู (ในเชิงภูมิศาสตร์เท่านั้น) District 1st (North) and 2nd (South) districts of Cebu City รวมตัวเป็นนคร 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 บารังไกย์
Adlaon
Agsungot
Apas
Babag
Bacayan
Banilad
Basak Pardo
Basak San Nicolas
Binaliw
Bonbon
Budlaan
Buhisan
Bulacao
Buot-Taop
Busay
Calamba
Cambinocot
Capitol Site
Carreta
Cogon Pardo
Cogon-Ramos
Day‑as
Duljo Fatima
Ermita
Guadalupe
Guba
Hipodromo
Inayawan
Kalubihan
Kalunasan
Kamagayan
Kamputhaw
Kasambagan
Kinasang‑an
Labangon
Lahug
Lorega-San Miguel
Lusaran
Luz
Mabini
Mabolo
Malubog
Mambaling
Pahina Central
Pahina San Nicolas
Pamutan
Parian
Paril
Pasil
Pit‑os
Poblacion Pardo
Pulangbato
Pung‑ol Sibugay
Punta Princesa
Quiot
Sambag I
Sambag II
San Antonio
San Jose
San Nicolas Proper
San Roque
Santa Cruz
Santo Niño
Sapangdaku
Sawang Calero
Sinsin
Sirao
Suba (Suba San Nicolas)
Sudlon I
Sudlon II
T. Padilla
Tabunan
Tag-bao
Talamban
Taptap
Tejero (Villa Gonzalo)
Tinago
Tisa
Toong
Zapatera
การปกครอง • ประเภท Sangguniang Panlungsod • นายกเทศมนตรี Edgardo Labella (PDP-Laban ) • รองนายกเทศมนตรี Michael Rama (UNA ) พื้นที่[ 1] • นคร 315.00 ตร.กม. (121.62 ตร.ไมล์) • รวมปริมณฑล 1,062.88 ตร.กม. (410.38 ตร.ไมล์) ความสูง 5 เมตร (16 ฟุต) ประชากร • นคร 922,611 คน • ความหนาแน่น 2,900 คน/ตร.กม. (7,600 คน/ตร.ไมล์) • รวมปริมณฑล 2,849,213 คน • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล 2,700 คน/ตร.กม. (6,900 คน/ตร.ไมล์) • ผู้เลือกตั้ง (2016)[ 3] 630,003 คน เดมะนิม Cebuano Cebuana เขตเวลา UTC+8 (เวลามาตรฐานฟิลิปปินส์)รหัสไปรษณีย์ 6000 ไอดีดี : รหัสโทรศัพท์ +63 (0)32 ระดับรายได้ ระดับที่ 1 PSGC 072217000 เว็บไซต์ www .cebucity .gov .ph
นครเซบู (เซบัวโน : Dakbayan sa Sugbu; ฟิลิปปินส์ : Lungsod ng Cebu ) เป็นนครหนาแน่นในจังหวัดเซบู เขตกิตนางคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ แต่ปกครองอย่างอิสระจากตัวจังหวัด ใน ค.ศ. 2015 มีประชากร 922,611 คน เป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ และมากที่สุดในกลุ่มเกาะวิซายัส และใน ค.ศ. 2016 มีผู้ที่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ 630,003 คน นครเซบูถือเป็นศูนย์กลางสำคัญในด้านพาณิชยกรรม การค้า การศึกษา ของวิซายัส
นครเซบูตั้งอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของเกาะเซบู และเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครเซบู ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของนครคาร์คาร์ , ดาเนา , ลาปู-ลาปู , มันดาเว , นากา , ตาลิไซ และเทศบาลอีกหลายแห่ง เมโทรเซบูมีประชากร 2,849,213 คน (ค.ศ. 2015) เป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของประเทศ รองจากเมโทรมะนิลา บนเกาะลูซอน [ 4]
นครเซบู เป็นนครที่เก่าแก่ที่สุดของฟิลิปปินส์ เนื่องจากจักรวรรดิสเปน เดินทางมาตั้งถิ่นฐานที่นี่เป็นที่แรก[ 5] และเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศ ที่นี่ถือศูนย์รวมคริสตศาสนิกชน แห่งตะวันออกไกล และเป็นมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศรองจากเมโทรมะนิลา [ 6] [ 7] [ 8] [ 9]
นครเซบูมีท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งของบริษัทขนส่งหลายแห่ง ทางทิศตะวันออกของนครก็มีช่องแคบและเกาะมักตัน
ภูมิศาสตร์
นครเซบูมีพื้นที่ 315 ตารางกิโลเมตร (122 ตารางไมล์) มีอาณาเขตติดต่อกับนครและเมืองอื่น ๆ ดังนี้
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับมันดาเว และเมืองโคนโซลาซิโอน
ทิศตะวันตก ติดกับนครโตเลโด เมืองบาลัมบัน และอัสตูรีอัส
ทิศใต้ ติดกับนครตาลีไซ และเมืองมิงลานิลลา
ทิศตะวันออก ติดกับช่องแคบมักตัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครลาปู-ลาปู ถัดไปคือเกาะโบโฮล
ย่านทางทิศเหนือ
ย่านทางทิศเหนือ
ท่าเรือนครเซบู
ภูมิอากาศ
นครเซบูมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยจะมีฤดูฝน ที่ยาว และฤดูแล้ง ที่สั้น ซึ่งฤดูแล้งมีเพียงสองเดือนเท่านั้น คือมีนาคมและเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง 29 องศาเซลเซียส (84 องศาฟาเรนไฮต์) บริมาณน้ำฝนต่อปีอยู่ที่ 1,700 มิลลิเมตร (67 นิ้ว)
ข้อมูลภูมิอากาศของนครเซบู
เดือน
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
30.3 (86.5)
30.6 (87.1)
31.7 (89.1)
33.0 (91.4)
33.2 (91.8)
32.4 (90.3)
31.5 (88.7)
31.7 (89.1)
31.7 (89.1)
31.5 (88.7)
31.3 (88.3)
30.6 (87.1)
31.6 (88.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
26.4 (79.5)
26.6 (79.9)
27.3 (81.1)
28.4 (83.1)
28.8 (83.8)
28.2 (82.8)
27.6 (81.7)
27.7 (81.9)
27.7 (81.9)
27.5 (81.5)
27.3 (81.1)
26.8 (80.2)
27.5 (81.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
22.6 (72.7)
22.6 (72.7)
23.0 (73.4)
23.9 (75)
24.5 (76.1)
24.1 (75.4)
23.7 (74.7)
23.8 (74.8)
23.7 (74.7)
23.5 (74.3)
23.4 (74.1)
23.0 (73.4)
23.5 (74.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)
106.5 (4.193)
67.6 (2.661)
54.4 (2.142)
50.4 (1.984)
107.6 (4.236)
183.5 (7.224)
206.5 (8.13)
184.4 (7.26)
196.7 (7.744)
195.5 (7.697)
157.5 (6.201)
127.3 (5.012)
1,638.2 (64.496)
ความชื้น ร้อยละ
79
78
75
72
75
80
82
80
81
82
81
81
79
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.10 mm)
12
10
9
7
11
16
16
16
16
19
15
15
162
แหล่งที่มา: PAGASA [ 10]
ประชากร
ใน ค.ศ. 2007 มีประชากร 799,762 คน ต่อมาใน ค.ศ. 2010 ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 866,171 คน จาก 161,151 ครัวเรือน และใน ค.ศ. 2016 มีผู้ที่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ 630,003 คน หมายความว่ามีประชากรร้อยละ 18 ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาเซบัวโน [ 11]
ศาสนา
ศาสนาหลักคือ ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก โดยมีผู้นับถือ 80% ของประชากรทั้งหมด ชาวคริสต์ส่วนที่เหลือก็นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ
เศรษฐกิจ
คำว่า เซบู มาจากการรวมกันของ "เซบู" และ "บูม" เป็นคำที่ใช้สื่อถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของจังหวัดเซบู และนครเซบูในช่วงคริสตทศวรรษ 1990[ 12]
นครเซบูมีเกาะ ชายหาด โรงแรม รีสอร์ต จุดดำน้ำ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามาก สามารถเดินทางมาที่นี่ได้โดยทางอากาศและทางทะเล นครเซบูยังเป็นประตูสู่ฟิลิปปินส์ตอนกลางและตอนใต้อีกด้วย ท่าเรือเซบู เป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศ รองจากท่าเรือมะนิลา[ 13]
ตัวนครเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการจ้างทำกระบวนการธุรกิจ ที่สำคัญ โดยใน ค.ศ. 2013 เซบูถูกจัดอันดับที่ 8 "จุดหมายปลายทางการจ้างทำกระบวนการธุรกิจ 100 แห่งของโลก" จัดทำโดยบริษัทโทลอนส์[ 14] [ 15] ใน ค.ศ. 2012 มีรายได้จากการจ้างทำกระบวนการธุรกิจไอทีในเซบู 484 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 16]
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวคือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของนคร นครเซบูเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียนใน ค.ศ. 1998 และการประชุมการท่องเที่ยวเอเชียตะวันออกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002
มีสิ่งก่อสร้างในยุคอาณานิคมของสเปนหลายแห่ง อาทิ ป้อมซันเปโดร , Basilica del Santo Niño , Magellan's Cross และอาสนวิหารมหานครเซบู [ 17] นอกจากนี้ก็ยัง Museo Sugbo , พิพิธภัณฑ์คาซา โกโรร์โด และวัดเต๋าเซบู
การขนส่ง
ท่าอากาศยานนานาชาติมักตัน–เซบู
สามารถเดินทางอากาศยานมาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติมักตัน–เซบู ซึ่งตั้งอยู่ที่นครลาปู-ลาปู มีเที่ยวบินไปยังต่างประเทศโดยตรง อาทิ ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ดูไบ เกาหลีใต้ และรัสเซีย [ 18] [ 19] นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางไปยังจุดหมายในทวีปอื่น ๆ โดยการเปลี่ยนเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน ส่วนการขนส่งทางทะเล ท่าเรือเซบู ซึ่งให้บริการโดยการท่าเรือเซบู มีเรือเดินทางมาที่นี่ประมาณ 80% ของประเทศ และมีเส้นทางเรือให้บริการไปยังวิซายัส และมินดาเนา [ 13]
การขนส่งภายในตัวนคร ได้แก่ รถจี๊ปนีย์ รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ และมีโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ตั้งแต่ ค.ศ. 2012[ 20] [ 21] โครงการนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 330,000 คนต่อวัน และจะมีรถโดยสารให้บริการ 176 คัน จำนวนสถานีทั้งหมด 33 สถานี[ 22] [ 23] โครงการนี้มีชื่อว่า ทรานส์เซบู และถูกตั้งเป้าให้เปิดใช้งานภายใน ค.ศ. 2017[ 24] แต่ปัจจุบันโครงการนี้ล่าช้ากว่ากำหนดประมาณสองปี และค่าใช้จ่ายโครงการเพิ่มสูงถึง 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 25]
เมืองพี่น้อง
ต่างประเทศ
ในประเทศ
อ้างอิง
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26 .
↑ "2016 National and Local Elections Statistics".
↑ "Highlights of the Philippine Population 2015 Census of Population | Philippine Statistics Authority" . psa.gov.ph . สืบค้นเมื่อ 2016-10-31 .
↑ "History of Cebu" . Cebu City Tour. สืบค้นเมื่อ February 22, 2013 .
↑ "Cebu & Philippines - International Eucharistic Congress 2016" . สืบค้นเมื่อ 24 June 2016 .
↑ "Cebu—Cradle of the Philippine Church and Seat of Far-East Christianity." International Eucharistic Congress 2016, December 4, 2014, accessed December 4, 2014, http://iec2016.ph/wp-content/uploads/2014/12/Cebu%E2%80%94Cradle-of-the-Philippine-Church-and-Seat-of-Far-East-Christianity.pdf
↑ "Cebu Archdiocese Philippines - Archdiocese of Cebu Philippines - Ucanews" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016 .
↑ Aeon (29 December 2014). " 'Cradle of Christianity' or 'Seat of Christianity' in the Far East?" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016 .
↑ "Climatological Normals of the Philippines (1951-1985) (PAGASA 1987)" (PDF) . PAGASA . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016 .
↑ "Statistical Tables on Sample Variables from the results of 2010 Census of Population and Housing - Cebu" .
↑ Cebu Daily News, Fernando Fajardo (January 11, 2013). "Has 'Ceboom' returned?" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2013.
↑ 13.0 13.1 Victorina Zosa (August 2004). "Philippine – Japan Economic Linkages: A Case Study of Cebu" (PDF) . Discussion Paper Series No. 2004-33 . Philippine Institute for Development Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ March 16, 2017 .
↑ "Cebu rises to 8th best site for BPOs" . Sun Star Cebu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-03-17. สืบค้นเมื่อ March 18, 2013 .
↑ "Metro Manila, Cebu among top global BPO destinations" . Yahoo! Philippines. สืบค้นเมื่อ March 18, 2013 .
↑ "Non-voice overtakes voice operation in Cebu" . Sun Star Cebu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-05. สืบค้นเมื่อ June 25, 2013 .
↑ Department of Tourism Philippines official website page on Cebu เก็บถาวร 2009-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Accessed 28 September 2009.
↑ Cebu Pacific Air (18 กรกฎาคม 2549). "Cebu Pacific adds flights to Cagayan de Oro, Tacloban and Tagbilaran to meet demand" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-11-01. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26 .
↑ "Mactan Cebu airport to set aside P300M for expansion" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26 .
↑ Mosqueda, M. W. (30 May 2014). "NEDA okays bus rapid transit system for Cebu" . Manila Bulletin . สืบค้นเมื่อ 23 September 2015 .
↑ "Funding for Cebu Bus Rapid Transit system approved" . Rappler . 27 August 2014. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015 .
↑ Agcaoili, L. (8 June 2015). "DOTC eyes consultant for P10.6-B bus rapid transit system in Cebu" . The Philippine Star . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-01-06. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015 .
↑ "Gov't signs WB loan for Cebu bus rapid transit project" . Rappler . 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015 .
↑ Montalbo, C. M. (10 April 2015). "The dignity of travel: The Cebu BRT project" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-04-24. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014 .
↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Cebu_City#CITEREFCebu_Daily_News2017
↑ "Cebu, Chengdu sign sister-city pact" . SunStar . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "International Friendship Commission" . City of Chula Vista. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Sister Cities, Public Relations" . Guadalajara municipal government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 2, 2012. สืบค้นเมื่อ March 12, 2013 .
↑ "International Relations and Sister-City Program: Cebu, Philippines" . City of Honolulu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Haarlemmermeer Officials sojourn here" . City of Cebu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 21, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2016 .
↑ "Sister & Friendly Cities" . Kaohsiung City Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 6, 2018. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018 .
↑ "Cebu City renews sister city ties with Belgium's Kortrijk" . Cebu Daily News. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Cebu City renews sister ties after 18 years" . The Philippine Star . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 22, 2015. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Cebu City, Sabrosa formalizes sister-city agreement in Ferdinand Magellan's birthplace" . Embassy of the Philippines in Portugal. October 2, 2014. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Sister Cities" . City of Salinas. July 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Seattle International Sister City: Cebu, Philippines" . City of Seattle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 22, 2014. สืบค้นเมื่อ June 7, 2014 .
↑ "Let's not reject old allies" . SunStar Cebu . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-12-27. สืบค้นเมื่อ December 10, 2016 .
↑ "Russian-Philippines Relations" . Embassy of the Russian Federation in the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 15, 2013. สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
↑ "Rama renews ties with Xiamen City" . The Philippine Star . สืบค้นเมื่อ July 12, 2014 .
↑ "Cebu Yokohama Cities joint survey mission" . City of Cebu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 21, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2016 .
↑ "Sokor execs in Cebu City to strengthen partnership" . The Philippine Star . สืบค้นเมื่อ July 29, 2019 .
บรรณานุกรม
Cebu Daily News, Doris C. Bongcac & Tweeny M. Malinao (June 22, 2012). "Guadalupe plebiscite scheduled on July 28" .
Bunachita, Jose Santino S. (January 3, 2017). "Road right-of-way costs up for BRT" . Cebu Daily News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2017.
Foreman, John (1906). The Philippine Islands. A political, geographical, ethnographical, social and commercial history of the Philippine Archipelago and its political dependencies, embracing the whole period of Spanish rule (3rd ed.). New York: Charles Scribner's Sons .
Gonzales, Glenda R. (December 2004). "Metro Cebu: A Metropolitan Area in Need of Coordinative Body" (PDF) . Discussion Paper . 2004–49. PIDS . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2016. สืบค้นเมื่อ February 16, 2016 .
"A 'megadome' for Cebu City: Councilor Jack" . SunStar . May 16, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 16, 2010. สืบค้นเมื่อ June 11, 2009 .
"Wenceslao: Banawa-Englis dream shot down" . SunStar . August 1, 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
นครที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์
อันดับ
ชื่อ
เขต
ประชากร
อันดับ
ชื่อ
เขต
ประชากร
เกซอนซิตี มะนิลา
1
เกซอนซิตี
เขตนครหลวงแห่งชาติ
2,936,116
11
ปารานาคี
เขตนครหลวงแห่งชาติ
665,822
คาลูคัน
2
มะนิลา
เขตนครหลวงแห่งชาติ
1,780,148
12
ดาสมารีนัส
เขตคาลาบาร์โซน
659,019
3
ดาเบา
เขตดาเบา
1,632,991
13
บาเลนซูเวลา
เขตนครหลวงแห่งชาติ
620,422
4
คาลูคัน
เขตนครหลวงแห่งชาติ
1,583,978
14
บาคูร์
เขตคาลาบาร์โซน
600,609
5
เซบูซิตี
เขตกิตนางคาบีซายาอัน
922,611
15
เจเนรัลซันโตส
เขตโซกซาร์เจน
594,446
6
ซัมบวงกาซิตี
เขตตังไวนางซัมบวงกา
861,799
16
ลัสปีนัส
เขตนครหลวงแห่งชาติ
588,894
7
ตากีก
เขตนครหลวงแห่งชาติ
804,915
17
มากาตี
เขตนครหลวงแห่งชาติ
582,602
8
อันตีโปโล
เขตคาลาบาร์โซน
776,386
18
ซันโฮเซเดลโมนเต
เขตกิตนางลูโซน
574,089
9
ปาซีก
เขตนครหลวงแห่งชาติ
755,300
19
บาโคโลด
เขตคันลูรังคาบีซายาอัน
561,875
10
คากายันเดอโอโร
เขตฮีลากังมินดาเนา
675,950
20
มุนตินปูลา
เขตนครหลวงแห่งชาติ
504,509
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ อื่น ๆ