เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง
เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง (의경세자, พ.ศ. 1981-2 กันยายน พ.ศ. 2000) พระนามเดิม อี ชัง (เกาหลี: 이장) และเดิมถูกเรียกว่า เจ้าชายโทว็อน (เกาหลี: 도원군) เป็นรัชทายาทแห่ง ราชวงศ์โชซ็อน พระองค์เป็นโอรสองค์โตของ พระเจ้าเซโจแห่งโชซ็อน และ พระนางช็องฮี นอกจากนี้ยังเป็นพระเชษฐาของ พระเจ้าเยจงแห่งโชซ็อน พระองค์เป็นพระสวามีของ พระนางอินซู และพระราชบิดาของ พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน พระราชประวัติเจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง ทรงมีพระนามเดิมว่า อี ชัง พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 1981 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน พระเจ้าเซโจ พระราชาลำดับที่ 7 แห่งโชซอนและพระมเหสีจองฮีและเป็นพระราชนัดดาพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าเซจงมหาราช พระราชาลำดับที่ 4 แห่งโชซอน ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกันคือ องค์หญิงลีเซซอน และ เจ้าชายอี ฮวัง ซึ่งในภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชายรัชทายาทแฮยัง และได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าเยจง พระราชาลำดับที่ 8 แห่งโชซอนในเวลาต่อมา ต่อมาเสกสมรสกับ พระชายายินซู จากตระกูลฮัน ธิดาของ ฮันกว๊อก ขุนนางผู้ใหญ่และมีพระโอรสกับพระชายาอินซู 2 พระองค์คือ องค์ชายวอลซาน และ องค์ชายชาซาน มกุฎราชกุมารแห่งโชซอนเมื่อ เจ้าชายซูยัง พระบิดาสามารถโค่นราชบัลลังก์ พระเจ้าทันจง พระราชาลำดับที่ 6 แห่งโชซอนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1998 ก็ทรงเสด็จขี้นครองสิริราชสมบัติทรงพระนามว่า พระเจ้าเซโจ จึงได้ทรงสถาปนา เจ้าชายอี จัง พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นพระรัชทายาท หรือ วังเซจา (王世子 왕세자) ทรงพระนามว่า เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง สวรรคตหลังจากทรงดำรงพระยศรัชทายาทได้เพียง 2 ปีก็ทรงเริ่มมีพระอาการประชวรและพระอาการหนักขึ้นจนสุดความสามารถที่หมอหลวงจะยื้อไว้ได้จึงสวรรคตลงเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2000 ที่พระตำหนักทงกุง (พระตำหนักตะวันออกอันเป็นที่ประทับของรัชทายาท) ใน พระราชวังคย็องบก ขณะมีพระชนมายุได้เพียง 19 พรรษา แต่บางตำนานกล่าวไว้ว่าที่พระองค์สวรรคตเป็นเพราะทรงถูกดวงพระวิญญาณของ พระมเหสีฮยอนด็อก อดีตพระมเหสีใน พระเจ้ามุนจง พระราชาลำดับที่ 5 แห่งโชซอนและพระราชมารดาของ พระเจ้าทันจง คอยหลอกหลอนจนเกิดพระอาการประชวรขึ้นเนื่องจากพระนางไม่พอพระทัยที่ พระเจ้าเซโจ ประทานยาพิษแก่พระโอรสของพระนาง ในปี พ.ศ. 2012 อันเป็นช่วงต้นรัชกาล พระเจ้าซ็องจง ผู้เป็นพระราชโอรสได้สถาปนาพระราชบิดาขึ้นเป็นพระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าท็อกจงแห่งโชซ็อน พระราชวงศ์
พงศาวลี
อ้างอิง |
Portal di Ensiklopedia Dunia