เขาผู่ถัว
เขาผู่ถัว หรือ ผู่ถัวชาน (จีน: 普陀山; พินอิน: Pǔtuó Shān; "ผู่ถัวชาน" ตามสำเนียงจีนกลาง และ "โผวถ่อซัว" ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว; ยืมจากภาษาสันสกฤต เขาโปตาลกะ หรือโปตาลกะบรรพต) เป็นเกาะหนึ่งในกลุ่มเกาะโจวชาน ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน มีชื่อเสียงในพุทธศาสนาของจีนและเกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์กวนอิม เขาผู่ถัวเป็นหนึ่งในภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ในพุทธศาสนาของจีน ในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อ "เหมยเฉินชาน" (梅岑山) และต่อมาเปลี่ยนชื่อตามภูเขาโปตาลกะ (補怛落迦山; Mount Potalaka) ที่มีบันทึกเกี่ยวข้องกับกำเนิดของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดีย (ปัจจุบันสันนิษฐานว่าเป็น ภูเขา Pothigai) เกาะผู่ถัวชานเป็นเกาะขนาดเล็กตั้งอยู่ในทะเลจีนตะวันออก ทางฝั่งใต้ของอ่าวหางโจว ตะวันออกเฉียงใต้ของเซี้ยงไฮ้ ซึ่งมีภูมิประเทศที่รวมความงามของภูเขาและทะเลไว้ด้วยกัน ตั้งอยู่ที่ 29°58′3~30°02′3 ละติจูดเหนือและ 122°21′6~122°24′9 ลองจิจูดตะวันออก[1] มีพื้นที่ประมาณ 12.5 ตารางกิโลเมตร (4.8 ตารางไมล์)[2] และเป็นที่ตั้งของวัดที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติเจ้าแม่กวนอิมทุกปีในวันที่ 19 ค่ำเดือน 2, วันที่ 19 ค่ำเดือน 6 และวันที่ 19 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ประวัติ![]() ![]() เขาผู่ถัวเป็นสถานที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนมานานกว่าพันปี[2] ภายหลังสมัยราชวงศ์ถังเขาผู่ถัวกลายเป็นศูนย์กลางของการนมัสการเจ้าแม่กวนอิม[3] โดยธรรมเนียมวัดหลัก 3 แห่งคือ วัดผู่จี้ (普濟寺, ก่อตั้งพุทธศตวรรษที่ 15) วัดฝ่าหยู่ Fayu (法雨寺, ก่อตั้ง พ.ศ. 2123) และวัดฮุ่ยจี้ (慧濟寺 ก่อตั้งพ.ศ. 2336) ผู้จาริกพุทธสถานเขาผู่ถัวที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระอาจารย์หยิ่นหยวนหลงฉี (隱元隆琦; Ingen Ryūki) พระในนิกายเซน (ฉาน) จากญี่ปุ่น ซึ่งมาที่พุทธสถานนี้ในปีพ.ศ. 1612 เมื่อมีอายุ 20 ปี เพื่อตามหาพ่อซึ่งหายตัวไป 15 ปีก่อนหน้า และพระอาจารย์ไท้ซู (太虚) ซึ่งใช้เวลาหลายปีในการปฏิบัติธรรมที่อาศรมเล็ก ๆ บนเขาผู่ถัว ที่มาของชื่อเขาผู่ถัวแม้เป็นเกาะแต่มีภูมิทัศน์แบบภูเขาจึงเรียกว่า "山" (ชาน หมายถึง เขา ภูเขา)[2] เป็นภูมิประเทศที่รวมความงามของภูเขาและทะเลไว้ด้วยกัน (hilly island) ตำนานเล่าว่าเขาผู่ถัวในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อ เขาเผิงไหล ซึ่งเป็นแหล่งการแสวงหาน้ำอมฤตในรัชสมัยจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "เขานางฟ้ากลางทะเล" (海上仙山) ในบันทึกประวัติศาสตร์ นักบวชลัทธิเต๋าหลายคนมาปลีกวิเวกที่เขาผู่ถัว รวมทั้งนักบวชที่มีชื่อเสียงเช่น เหมย์ฝู (梅福) (หรือ 字子真; จื้อจึเจิน) ในรัชสมัยยฺเหวียนชื่อ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เกาะนี้ถูกเรียกว่าเขา "เหมยเฉินชาน" (梅岑山) จนถึงราชวงศ์ซ่ง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง ปี พ.ศ. 1390 นักบวชจากอาณาจักร Tianzhu มาที่ถ้ำเฉายิน (潮音洞) เพื่อจุดไฟบูชายัญพระพุทธบาท ที่เชื่อว่าทำให้พระโพธิสัตว์กวนอิมปรากฏตัวและมอบสมบัติให้ ซึ่งปัจจุบันห้ามมิให้ทำการนี้อีก[4] ตำนานอื่นเล่าว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง พ.ศ. 1401 ฮุ่ยเอ้อ พระภิกษุชั้นสูงแห่งสำนักรินไซแห่งญี่ปุ่นที่เดินทางมาศึกษาธรรมในประเทศจีนเป็นครั้งที่สาม ได้แอบอัญเชิญรูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิมสิบเอ็ดเศียรจากเขาอู่ไถเพื่อนำกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อล่องเรือมาถึงบริเวณนี้กลับเกิดพายุใหญ่จนแล่นเรือออกไม่ได้ถึงสามครั้ง ราวกับเป็นการบอกว่ารูปปั้นกวนอิมไม่ยอมจากไป ฮุ่ยเอ้อจึงตัดสินใจไม่นำรูปปั้นของท่านกลับไปญี่ปุ่น ชาวประมงในแถบนั้นจึงสร้างศาลเล็ก ๆ ขึ้นและเชิญรูปปั้นของพระโพธิสัตว์ไปประดิษฐานที่จื่อจู๋หลิน (ป่าไผ่ม่วง) ที่เชื่อกันว่าเป็นที่หลบลมพายุของท่านฮุ่ยเอ้อในตำนาน[5] เป็นที่มาของชื่อ ศาลเจ้าแม่กวนอิมปู้เขิ่นชฺวี่ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้คนเห็นว่าเกาะนี้โปร่งโล่งและมีดอกไม้สีขาวเล็ก ๆ มากมาย สอดคล้องกับคำอธิบายในบทสุดท้ายของอวตังสกสูตร (華嚴經; 華嚴部) ที่เรียกคัณฑวยูหสูตร กล่าวถึงที่ประทับของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนใต้ของอินเดียที่เรียกว่า "เขาโปตาลกะ" หรือ เขาโปตละกะ (Mount Potalaka) และรวมกับความเชื่อที่ว่า โพธิสัตว์กวนอิมได้บำเพ็ญเพียรอยู่ที่นี่ ดังนั้นจึงเชื่อว่าภูเขา (เกาะ) นี้คือภูเขาโปตละกะ และค่อย ๆ นิยมเรียกชื่อเป็น เขาผู่ถัวลั่วเจีย ต่อมาชาวบ้านเรียกเกาะใหญ่สองแห่งว่า เขาผู่ถัว และเขาลั่วเจีย โดยทั่วไปประกอบด้วยยอดเขาสองยอด (สองเกาะ) แต่มักเรียกโดยย่อว่า "เขาผู่ถัว"[6] เขาลั่วเจีย (หรือเกาะลั่วเจียชาน) ที่อยู่ใกล้ ๆ กับเกาะผู่ถัวชาน สามารถข้ามเรือไปได้ ซึ่งมีการอุปมาว่า การเดินทางไปเกาะโดยเรือของผู้แสวงบุญ อาจเปรียบเทียบได้กับแนวความคิดทางพุทธศาสนาเรื่องความหลุดพ้นโดยการข้าม "ทะเลแห่งความทุกข์" ตำนานกวนอิม
ตามตำนานเล่าว่า เจ้าแม่กวนอิมได้ปรากฏตัวอย่างปาฏิหาริย์ต่อผู้แสวงบุญที่ถ้ำเฉายิน (ถ้ำเสียงคลื่นน้ำขึ้นน้ำลง) ซึ่งทำเครื่องหมายไว้บนแผนที่นี้ที่มุมล่างซ้ายเพื่อต้อนรับเรือที่อยู่ใกล้เคียง ความสำคัญทางพุทธศาสนา![]() ![]() ![]() เขาผู่ถัว เป็นสังฆาวาสในพุทธศาสนาเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ริมทะเล ท่ามกลางภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ในพุทธศาสนาของจีน ตามคติของพระพุทธศาสนามหายาน หรือเรียก โพธิมัณฑะ (สถานที่บรรลุรรมของโพธิสัตว์)[5][7] ซึ่งประกอบด้วย
วัดด้วยความสำคัญทางพุทธศาสนาเขาผู่ถัวจึงเรียงรายไปด้วยวัดวาอารามจำนวนมากทั้งใหญ่และเล็ก ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของพุทธสมาคมผู่ถัวชาน (普陀山佛教协会) มีภิกษุและภิกษุณีจำนวนมากจากทั่วประเทศและต่างประเทศจำวัดและปฏิบัติธรรมที่นี่ ปัจจุบันมีวัดสำคัญมากกว่า 30 แห่งตั้งอยู่บนเขาผู่ถัว[9] ได้แก่ วัดผู่จี้, วัดฝ่าหยู่ และวัดฮุ่ยจี้ นอกจากอารามและสำนักสงฆ์เหล่านี้แล้ว ยังมีสถาบันพระพุทธศาสนา (Institute of Buddhism) ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน วัดผู่จี้วัดผู่จี้ (普济寺) เป็นวัดใหญ่ที่สุดบนเกาะ มีประวัติเก่าแก่นับพันปี ก่อตั้งในพุทธศตวรรษที่ 15 ตั้งแต่ยุคราชวงศ์ซ่ง หยวน หมิง และชิง แต่เดิมเป็นวัดเล็ก จนกระทั่งได้รับพระราชทานนาม "ผู่จี้" จากจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง ในรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเจิ้นก็ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่จนกลายเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ และสำคัญที่สุดบนเกาะ[5] วัดฝ่าหยู่วัดฝาหยู่ (法雨寺) วัดใหญ่ที่สุดอันดับสองบนเกาะ มีอายุย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์หมิง ก่อตั้ง พ.ศ. 2123 เคยถูกเพลิงไหม้และได้รับการบูรณะหลายครั้ง จนกระทั่งในรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี จึงได้รับพระราชทานชื่อว่า "ฝ่าหยู่ซื่อ"[5] วัดฮุ่ยจี้วัดฮุ่ยจี้ (慧濟寺) ก่อตั้งพ.ศ. 2336 หนึ่งในสามวัดที่ใหญ่ที่สุด มีอีกชื่อว่าวัดโฝติ่งชาน สร้างอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะ ซึ่งเข้าถึงด้วยกระเช้าหรือการขึ้นบันไดประมาณ 1,000 ขั้น[5] ศาลเจ้าแม่กวนยินปู้เขิ่นชฺวี่และจื่อจู๋หลินศาลเจ้าแม่กวนอิมปู้เขิ่นชฺวี่ (不肯去观音院; ศาลเจ้าแม่กวนอิมไม่ยอมไป) และวัดจื่อจู๋หลิน (紫竹林) อยู่ในบริเวณเดียวกันที่ปลายแหลมสุดด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมสิบเอ็ดเศียร หรือเอกทศมุขีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์[7] (Statue of Ekādaśamukha; 十一面觀音; Shíyīmiàn Guānyīn)
พุทธปฏิมากวนอิมแห่งทะเลจีนใต้รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมแห่งทะเลใต้ (南海观音像) รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมสูง 33 เมตร[10] เป็นหนึ่งในรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หนักกว่า 70 ตัน ได้รับทุนและก่อสร้างโดยผู้ศรัทธาชาวจีนทั้งในและต่างประเทศ จัดพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540[5][11] ที่ศาลป่าไผ่ม่วง (ศาลจื่อจู๋หลิน; 紫竹林) อุทยานวัฒนธรรมเจ้าแม่กวนอิมผู่ถัวอุทยานวัฒนธรรมเจ้าแม่กวนอิมผู่ถัว (普陀山观音文化园)[12] ตั้งอยู่ในพื้นที่จุดชมทิวทัศน์จูเจียเจียน ไป๋ชาน บนเกาะจูเจียเจียน ทางใต้ของเขาผู่ถัว (เกาะผู่ถัว) ในเขตผู่ถัว โจวชาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประกอบด้วยวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนเขาผู่ถัว ศาลเจ้าเจ้าแม่กวนอิม วัดต้าเป่ย์ลฺวี่ และประติมากรรมต่าง ๆ [13] ศาลเจ้าเจ้าแม่กวนอิม เป็นอาคารขนาดใหญ่แบบจีนร่วมสมัย พื้นที่ก่อสร้าง 61,900 ตารางเมตร รวมทั้งหมด 9 ชั้น เป็นห้องโถงรูปกลีบดอกบัวภายในประดิษฐานรูปปั้นไม้แกะสลักเจ้าแม่กวนอิมสิบเอ็ดเศียรพันมือขนาดใหญ่[13]
ธรรมชาติพืชพรรณเขาผู่ถัวนอกจากเป็นพุทธศาสนสถานแล้ว ยังมีีคุณค่าในแง่พฤกษศาสตร์ บนเกาะมีไม้ต้นและไม้พุ่มธรรมชาติ 238 ชนิด รวมถึงต้นไม้โบราณที่หายากและมีค่า 63 ชนิด ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งอยู่ใน 37 วงศ์และ 53 สกุล โดยมีไม้ต้นวงศ์ยูคาลิปตัสจำนวนมากที่สุด[14] รายชื่อพืชบนผู่ถัวชาน ได้แก่
พืชหายาก
จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติชายหาดหลักสองแห่ง: หาดร้อยก้าว และหาดพันก้าว ซึ่งคิดค่าเข้าชมและมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เก้าอี้อาบแดด ร่มกันแดด และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น บานาน่าโบ๊ท และควอดไบค์
การขนส่ง![]() เกาะในหมู่เกาะโจวชานหลายแห่งเชื่อมต่อกันด้วยสะพาน ซึ่งสามารถเดินทางไปถึงเขาผู่ถัว (ผู่ถัวชาน) ได้โดยง่ายทางรถบัสจากเซี่ยงไฮ้และหนิงโป สิ้นสุดที่สถานีขนส่ง Shenjiamen และต่อด้วยรถประจำทางไปท่าเทียบเรือ Banshengdong ใช้เวลาโดยสารเรือข้ามฟากด่วน (22 หยวน) ไปยังเขาผู่ถัว 10 นาที จากเซี่ยงไฮ้: สถานีขนส่ง Nanpu Bridge, Shanghai Stadium Sightseeing Bus Center จากหนิงโป: สถานีขนส่ง Shanghai South Long Distance Bus Station ทุกวันไปยัง Shenjiamen (4–5 ชั่วโมง, 138 หยวน) สถานีขนส่งสายเหนือและใต้มีรถออกทุกวันไปยังเซินเจียเหมิน (2–3 ชั่วโมง, 60 หยวน) เป็นประจำทุกวัน เที่ยวบินมีเที่ยวบินทุกวันจากท่าอากาศยานนานาชาติช่างไห่หงเฉียว ไปยังท่าอากาศยานผู่ถัว ซึ่งอยู่ห่างจาก Shenjiamen เพียง 3 กม. (1.9 ไมล์) (ประมาณ 800 หยวน) เรือโดยสารบริการเรือข้ามฟากยังคงเปิดให้บริการอยู่ แม้ปัจจุบันบริการรถโดยสารให้ความสะดวกสบายมากขึ้น โดยทางเรือจากเมืองใหญ่อย่างหนิงโปและเซี่ยงไฮ้ถึงเขาผู่ถัว จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เรือสองเที่ยวต่อวันเชื่อมเขาผู่ถัวและเซี่ยงไฮ้ เที่ยวแรกออกเดินทางในตอนเย็นและข้ามคืน เพื่อถึงตอนเช้าตรู่ อีกเที่ยวเรือโดยสารด่วนออกจากท่าเรือนอกเมืองเซี่ยงไฮ้ในช่วงเช้าตรู่ ซึ่งใช้เวลาสองชั่วโมง รถยนต์ส่วนบุคคลระบบขนส่งของเขาผู่ถัวมีความเข้มงวดอย่างมาก ไม่อนุญาตให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว สามารถเข้าถึงด้วยการขนส่งสาธารณะเท่านั้น เนื่องด้วยพื้นที่ของเขาผู่ถัวมีขนาดเล็กมากและมีถนนสายเดียวที่วิ่งผ่านทั้งเกาะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องควบคุมจำนวนรถบนเกาะเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรคับคั่ง ในเวลาเดียวกันการปล่อยยานพาหนะที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศของเขาผู่ถัว นอกจากนี้เขาผู่ถัวยังเป็นพื้นที่ชันแบบภูเขารถประจำทางจึงปรับใช้กับสภาพทางชันไม่สะดวกนัก และเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เขาผู่ถัว จำนวนรถประจำทางยังไม่เพียงพอ จึงมีการสร้างกระเช้าลอยฟ้าให้เป็นทางเลือกอีกวิธีในการขนส่งบนเกาะ เกาะใกล้เคียงนอกจากนี้ยังสามารถท่องเที่ยวไปยังเกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะโจวชานได้ด้วย เช่นเกาะลั่วเจียชาน ที่มักจะไปเพื่อนำน้ำมนต์กลับมาบูชา และเกาะดอกท้อ (เถาฮฺวาเต่า) ที่มีวัดสำคัญอยู่เช่นกัน อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia