ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว
ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว หรือ ท่าอากาศยานหงเฉียว (IATA: SHA, ICAO: ZSSS) เป็นหนึ่งในสองท่าอากาศยานนานาชาติของเซี่ยงไฮ้ และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญของจีน ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ สนามบินนี้ตั้งอยู่ใกล้กับย่านหงเฉียวในเขตฉางหนิง และเขตหมิ่นหัง อยู่ห่าง 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง และเป็นท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้กับใจกลางเมืองมากกว่าท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง ท่าอากาศยานหงเฉียวเป็นศูนย์กลางการบินของ สายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์, เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์, จูนเยาแอร์ไลน์ และ สปริงแอร์ไลน์ ในปี 2559 สนามบินหงเฉียวให้บริการผู้โดยสาร 40,460,135 คน นับเป็นสนามบินที่พลุกพล่านอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็นอันดับที่ 45 ของโลก[2] ในปลายปี 2554 ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการ 22 สายการบินที่ให้บริการผู้โดยสาร 82 เส้นทางการบิน[3] ในปี 2562 ท่าอากาศยานหงเฉียวได้รับการรับรองด้วยคะแนนสนามบินระดับ 5 ดาวของสกายแทรกซ์ (Skytrax) ในด้านการให้การอำนวยความสะดวก ความสะดวกสบายของอาคารผู้โดยสาร ความสะอาด การช็อปปิ้ง การให้บริการอาหารเครื่องดื่ม และการบริการพนักงาน[4] ประวัติการก่อสร้างท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเริ่มสร้างขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2464 เมื่อสำนักงานกิจการการบินของรัฐบาลเป่ย์หยาง ร่างโครงการสายการบินปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ ซึ่งวางแผนเส้นทางบินไปยังเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2466 ท่าอากาศยานเปิดใช้งานแบบผสมทางทหารและพลเรือน ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นจุดเกิดเหตุของ 'อุบัติการณ์โอยาม่า' ในปี 2480 ที่ร้อยโทญี่ปุ่นถูกสังหารโดยทหารรักษาสันติภาพของจีน และเป็นเหตุหนึ่งในการนำไปสู่การยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองท่าอากาศยานถูกครอบครองโดยทหารญี่ปุ่นและใช้เป็นฐานทัพอากาศ และยังใช้เป็นฐานทัพอากาศอย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาต่อมาหลังจากถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลต่อมาคือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนพฤศจิกายนปี 2506 สภาแห่งรัฐได้อนุมัติการขยายสนามบินหงเฉียวไปเป็นท่าอากาศยานเพื่อการพาณิชย์ระหว่างประเทศ โครงการขยายแล้วเสร็จในปี 2507 และเปิดใหม่ในเดือนเมษายน 2507 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2515 กองทัพอากาศถอนตัวออกจากสนามบินหงเฉียวอย่างเป็นทางการ ในเดือนมีนาคม 2527 โครงการอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวได้ขยายอีกครั้งและโครงการขยายเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน หลังจากการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารพื้นที่ใช้งานนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับในอดีต ในปี 2531 การบินพลเรือนเซี่ยงไฮ้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรการบริหารที่สำคัญโดยแยกสนามบินออกจากสายการบิน ท่าอากาศยานซ่างไห่ได้ดำเนินการแยกต่างหากและกลายเป็นองค์กรอิสระทางเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนของปีเดียวกัน ในเดือนธันวาคม 2531 การขยายตัวครั้งที่สามของอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ท่าอากาศยานยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวทำหน้าที่เป็นท่าอากาศยานหลักของเซี่ยงไฮ้จนกระทั่งสนามบินนานาชาติผู่ตงเสร็จสมบูรณ์ในปี 2542 เมื่อเที่ยวบินระหว่างประเทศเกือบทั้งหมดถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานผู่ตง ในปัจจุบันท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินในประเทศ และห้าเส้นทางระหว่างประเทศ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว กรุงโตเกียว, ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ กรุงโซล, ท่าอากาศยานไถเป่ย์ซงซาน, ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และ ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า ในฐานะส่วนหนึ่งของการเตรียมการสำหรับเอ็กซ์โป 2010 จึงมีแผนพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว ท่าอากาศยานหงเฉียวได้ดำเนินโครงการปรับขยายในปี 2549 โดยวางแผนที่จะเพิ่มรันเวย์และอาคารผู้โดยสาร[5] โครงการเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 ก่อน เอ็กซ์โป 2010 (Shanghai World Expo 2010) จากแผนที่กำหนดไว้[6] โดยได้เสร็จสิ้นโครงการปรับขยายที่มีมูลค่า 1.53 หมื่นล้านหยวนตามแผน 5 ปี ทั้งนี้รวมถึงรันเวย์ที่สอง ขนาด 3,300 เมตร และอาคารผู้โดยสารใหม่ 2 อาคาร ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถของท่าอากาศยานหงเฉียวให้รองรับผู้ใช้งาน 40 ล้านคน/เที่ยวต่อปี อาคารผู้โดยสารที่ 2 นี้มีขนาดใหญ่กว่าอาคารผู้โดยสารที่ 1 ถึงสี่เท่า และอาคารผู้โดยสารที่ 2 ยังใช้สำหรับรองรับสายการบินร้อยละ 90 จากทั้งหมดของท่าอากาศยานหงเฉียว (อาคารผู้โดยสาร 1 ใช้สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศเท่านั้น และรวมถึงสปริงแอร์ไลน์ และ เซียะเหมินแอร์ ) ด้วยทางวิ่ง (รันเวย์) ใหม่ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแรกในประเทศจีนที่มี 5 รันเวย์เพื่อการพาณิชย์ (ท่าอากาศยานผู่ตงและท่าอากาศยานหงเฉียวรวมกัน) และ ในปัจจุบันมีแผนการขยายจำนวนรันเวย์ให้เป็นเจ็ด รันเวย์ที่สองและอาคารผู้โดยสารแห่งที่สองแล้วเสร็จและเปิดในวันที่ 11 มีนาคมและ 16 มีนาคม 2010 ตามลำดับ[7] อย่างไรก็ตามควรสังเกตว่าไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่ง ผู้โดยสารต้องใช้รถบัสรับส่งระยะสั้นในขณะนั้น และรถไฟใต้ดินสาย 10 หรือรถไฟสายอื่น ๆ เพื่อเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งในเวลาถัดมา ตั้งแต่ปลายปี 2557 อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานหงเฉียวแห่งที่ 1 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2464 โครงการทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2560[8] เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 อาคาร A ของอาคารผู้โดยสารที่ 1 ได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้งานอีกครั้ง[9] ต่อมาอาคาร B ถูกปิดเพื่อปรับปรุงใหม่ โครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารที่ 1 ทั้งสองส่วนแล้วเสร็จในวันที่ 15 ตุลาคมปี 2018[9]
สายการบินและจุดหมายปลายทางสายการบินพาณิชย์อาคารรับส่งผู้โดยสารอาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 1
อาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 2
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆสนามบินมีสำนักงานใหญ่ของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคาร China Eastern Airlines, [13] [14] และเป็นสำนักงานใหญ่ของ สายการบิน China Airlines [15] อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
การขนส่งติดต่อทางบกอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ของท่าอากาศยานหงเฉียว ( 31°11′46″N 121°19′18″E / 31.19611°N 121.32167°E ) เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกับ สถานีรถไฟ Shanghai Hongqiao ( 31°11′46″N 121°18′58″E / 31.19611°N 121.31611°E ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางรถไฟที่สำคัญ ให้บริการ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ที่ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-หางโจว และ เส้นทางรถใฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-หนานจิง อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 ( 31°11′50″N 121°20′32″E / 31.19722°N 121.34222°E ) อยู่ฝั่งตรงข้ามอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 โดยมีรันเวย์คั้นกลาง สถานีรถไฟใต้ดิน ภายในท่าอากาศยานและสถานีรถไฟหงเฉียว 3 สถานี คือ
ข้อเสนอในการขยายรถไฟแม็กเลฟเซี่ยงไฮ้ จากสถานีถนนหลงหยาง ผ่านสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้สายใต้ ไปยังท่าอากาศยานหงเฉียว ที่จะเชื่อมต่อสนามบินทั้งสองด้วยความเร็วสูงสุดจะใช้เวลาเพียง 15 นาทีในการเดินทาง 55 กม. แผนเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จการขยายเชื่อมต่อในปี 2553 (ปี 2010) ให้ทันสำหรับงานเอ็กซ์โป 2010 อย่างไรก็ตามข้อเสนอการขยายนี้ ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากการประท้วง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Shanghai Hongqiao International Airport |
Portal di Ensiklopedia Dunia