จักรพรรดิคังซี (จีน : 康熙皇帝 ; พินอิน : Kāngxī huángdì ; เวด-ไจลส์ : K'ang-hsi-ti ; มองโกเลีย : Enkh Amgalan Khaan ) หรือมีพระนามเดิม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิราชวงศ์ชิงองค์ที่ 2 ที่ปกครองเหนือแผ่นดินจีน
จักรพรรดิคังซีครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 61 ปี (จากปี ค.ศ. 1661 ถึงปี ค.ศ. 1722) ทำให้พระองค์เป็นจักรพรรดิที่ครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดใน ประวัติศาสตร์จีน (แม้ว่าพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเฉียนหลง จะมีพระราชอำนาจ โดยพฤตินัย ในช่วงสมัยที่ยาวนาน) และเป็นหนึ่งใน พระมหากษัตริย์ที่ครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก [ 1] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระองค์เสด็จขึ้นครองบัลลังก์เมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษา อำนาจที่แท้จริงตลอดหกปีอยู่ที่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สี่คนและพระอัยยิกาของพระองค์ จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวง
จักรพรรดิคังซีถือเป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน[ 2] พระองค์ปราบกบฏสามเจ้าศักดินา โจมตีอาณาจักรทุงหนิง ในไต้หวัน และกบฏมองโกลจำนวนมากในภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อให้ยอมจำนนต่อการปกครองของต้าชิง และปิดกั้น อาณาจักรซาร์รัสเซีย ใน แม่น้ำอามูร์ และปกป้องแมนจูเรียภายนอก และแมนจูเรียตะวันตกเฉียงเหนือภายนอก
รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนำมาซึ่งเสถียรภาพอันยาวนานและความมั่งคั่งสัมพัทธ์หลังจากหลายปีของสงครามและความวุ่นวาย พระองค์เริ่มสมัยที่เรียกว่า ยุครุ่งเรืองของคังซีและเฉียนหลง ซึ่งคงอยู่ต่อไปหลายชั่วอายุคนหลังจากที่พระองค์สวรรคต ราชสำนักของพระองค์ยังประสบความสำเร็จในด้านวรรณกรรมเช่นการรวบรวม พจนานุกรมคังซี
ต้นรัชสมัย
จักรพรรดิคังซีประสูติเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1654 เป็นพระราชโอรสของ จักรพรรดิชุ่นจื้อ และ จักรพรรดินีเซี่ยวคังจาง ที่ พระตำหนักจิ่งเหริน พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง จักรพรรดิคังซีมีพระนามเดิมว่า เสฺวียนเย่ (จีน : 玄燁 ; พินอิน : Xuanye ) พระองค์ขึ้นครองสิริราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษา (หรือ 8 ตามการคำนวณอายุแบบเอเชียตะวันออก) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1661[ a] ศักราช คังซี ของพระองค์เพิ่งจะเริ่มใช้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1662 วันแรกของปีจันทรคติถัดมา
เฮอร์เบิร์ต ไจลส์ นักวิชาการจีนศึกษาพรรณนาถึงจักรพรรดิคังซีโดยอาศัยแหล่งข้อมูลร่วมสมัยว่า "ค่อนข้างสูงและสมส่วน พระองค์ชอบการออกกำลังกายแบบลูกผู้ชาย และอุทิศเวลาสามเดือนต่อปีในการออกล่า ดวงพระเนตรขนาดใหญ่เป็นประกายบนพระพักตร์ของพระองค์ ซึ่งมีไข้ทรพิษเป็นรูพรุน"
ก่อนที่จักรพรรดิคังซีจะเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวง (ในพระนามของ จักรพรรดิชุ่นจื้อ ) ได้แต่งตั้งบุคคลผู้ทรงอำนาจคือ สั่วหนี เอ๋าไป้ ซูเค่อซาฮา และ เออปี้หลุน เป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สั่วหนีถึงแก่กรรมหลังจากที่หลานสาวของเขากลายเป็น จักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน ทิ้งให้ซูเค่อซาฮากับเอ๋าไป้อยู่ในการเมือง ในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจอันดุเดือด เอ๋าไป้ประหารชีวิตซูเค่อซาฮาและยึดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว
ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1662 ผู้สำเร็จราชการมีคำสั่งให้กวาดล้างครั้งใหญ่ในภาคใต้ของจีนโดยการอพยพประชากรออกจากชายทะเลเพื่อตอบโต้ขบวนการต่อต้านที่เริ่มต้นโดยผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิงภายใต้การนำของขุนพลหมิงในไต้หวัน เจิ้ง เฉิงกง หรือ โคซิงกา
ในปี ค.ศ. 1669 จักรพรรดิคังซีได้จับกุมเอ๋าไป้ด้วยความช่วยเหลือจากพระอัยยิกาของพระองค์ จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง พระพันปีหลวง ที่ได้เลี้ยงดูพระองค์[ 5] และเริ่มต้นปกครองจักรวรรดิด้วยพระองค์เอง พระองค์ระบุประเด็นที่น่ากังวลสามประเด็น การควบคุมอุทกภัยของ แม่น้ำหวง ซ่อมแซม คลองใหญ่ ปราบ กบฏสามเจ้าศักดินา ในจีนทางตอนใต้ พระอัยยิกามีอิทธิพลต่อพระองค์อย่างมากและพระองค์ดูแลพระนางด้วยพระองค์เองจนกระทั่งพระนางสวรรคตในปี ค.ศ. 1688[ 5]
ความสำเร็จทางทหาร
กองทัพ
กองทัพหลักของจักรวรรดิต้าชิง กองทัพ แปดกองธง เสื่อมถอยลงภายใต้จักรพรรดิคังซี โดยมีขนาดเล็กกว่าที่เคยอยู่ในจุดสูงสุดภายใต้จักรพรรดิ หฺวัง ไถจี๋ และช่วงต้นรัชสมัยของ จักรพรรดิชุ่นจื้อ อย่างไรก็ตามยังมีขนาดใหญ่กว่าในรัชสมัยของ จักรพรรดิยงเจิ้ง และ จักรพรรดิเฉียนหลง นอกจากนี้ กองธงเขียวยังคงทรงพลังด้วยขุนพลเช่น ตูไห่ เฟย์ หยางกู จาง หย่ง โจว เพ่ย์กง ชื่อ หลัง มู่ จาน ชุน ชื่อเก๋อ และ หวัง จิงเป่า
สาเหตุหลักของการเสื่อมถอยนี้คือการเปลี่ยนแปลงระบบระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคังซีและจักรพรรดิเฉียนหลง จักรพรรดิคังซียังคงใช้ระบบทหารตามอย่างรัชกาลก่อน ซึ่งมีประสิทธิภาพและเข้มงวด ตามระบบ แม่ทัพที่กลับมาจากการสู้รบเพียงลำพัง (คนของเขาตายหมด) จะถูกประหารชีวิต เช่นเดียวกันสำหรับทหารราบ สิ่งนี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นทั้งแม่ทัพและทหารต้องต่อสู้อย่างกล้าหาญในสงครามเพราะไม่มีประโยชน์สำหรับผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวในการต่อสู้
โดยรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ผู้บัญชาการทหารหละหลวม และการฝึกของกองทัพก็ถือว่ามีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงจักรพรรดิรัชกาลก่อน
กบฏสามเจ้าศักดินา
หลังจากต้าชิงเข้ายึดครองประเทศจีนในปี ค.ศ. 1644 พื้นที่ส่วนใหญ่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกมอบให้เป็นศักดินาแก่ 3 ขุนพลหมิงที่ได้ช่วยเหลือราชวงศ์ชิง ในปี ค.ศ. 1673 ระบบศักดินาทั้งสามถูกควบคุมโดย อู๋ซานกุ้ย , เกิงจิ้งจง และ ซ่างจื่อซิน จักรพรรดิคังซีปฏิเสธคำแนะนำของที่ปรึกษาส่วนใหญ่ของพระองค์ จักรพรรดิคังซีพยายามบังคับเจ้าศักดินาให้สละที่ดินและเกษียณอายุใน แมนจูเรีย ก่อให้เกิดการกบฏที่กินเวลานานแปดปี หลายปีหลังจากนั้น จักรพรรดิคังซี ครุ่นคิดเกี่ยวกับความผิดพลาดของพระองค์และโทษตัวของพระองค์เองว่ามีส่วนทำให้มีการเสียชีวิตระหว่างการจลาจล<ref>Spence, Jonathan D. (1974). Emperor of China: Self-portrait of Kʻang-hsi (Vintage books ed.). New York. pp. xvi–xvii, 36–38. ISBN 0-679-72074-X . OCLC 18931977 . <
ปลายรัชสมัย
ตั้งแต่ ค.ศ.1720 พระองค์มีสุขภาพย่ำแย่ลง ทรงพระประชวรบ่อยครั้ง
พระบรมวงศานุวงศ์
พระภรรยาเจ้าและพระภรรยา
พระอัครมเหสี (皇后) - หวงโฮ่ว
พระอัครราชเทวี (皇贵妃 หวงกุ้ยเฟย)
พระอัครราชเทวีเชวี้ยฮุ่ย (悫惠皇贵妃) จากสกุลถงเจีย (佟佳)
พระอัครราชเทวีตุนอี๋ (惇怡皇贵妃) จากสกุลกัวเอ่อร์เจีย (瓜尔佳)
พระอัครราชเทวีจิ้งหมิ่น (敬敏皇贵妃) จากสกุลจางเจีย (章佳)
พระวรราชเทวี (贵妃 กุ้ยเฟย)
พระวรราชเทวีเวินซี (温僖贵妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (钮祜禄)
พระราชเทวี (妃 เฟย)
พระราชเทวีซุ่นอี้มี่ (顺懿密妃) จากสกุลหวัง (王)
พระราชเทวีฉุนอี้ฉิน (纯裕勤妃) จากสกุลเฉิน (陈)
พระราชเทวีฮุ่ย (惠妃) จากสกุลน่าลา (那拉)
พระราชเทวีอี้ (宜妃) จากสกุลกัวลั่วหลัว (郭络罗)
พระราชเทวีหรง (荣妃) จากสกุลหม่าเจีย (马佳)
พระราชเทวีติ้ง (定妃) จากสกุลว่านหลิวฮา (万琉哈)
พระราชเทวีซวน (宣妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
พระราชเทวีชายาเฉิง (成妃) จากสกุลไต้เจีย (戴佳)
พระราชเทวีเหลียง (良妃) จากสกุลเว่ย (卫)
พระราชเทวีผิง (平妃) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
พระราชเทวีฮุ่ย (慧妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
พระชายา (嬪 ผิน)
พระชายาอัน (安嬪) สกุลหลี่ (李)
พระชายาจิ้ง (敬嬪) สกุลจางเจีย (章佳)
พระชายาตวน (端嬪) สกุลต่ง (董)
พระชายาซี (僖嬪) สกุลเหอเซ่อหลี่ (赫舍里)
พระชายาทง (通嬪) สกุลหน่าลา (纳喇)
พระชายาเซียง (襄嬪) สกุลเกา (高)
พระชายาจิ่น (谨嬪) สกุลเซ่อเฮ่อถู (色赫图)
พระชายาจิ้ง (静嬪) สกุลฉือ (石)
พระชายาซี (熙嬪) สกุลเฉิน (陈)
พระชายามู่ (穆嬪) สกุลเฉิน (陈)
เจ้าคุณพระ (贵人 กุ้ยเหริน)
เจ้าคุณพระกัว (郭贵人) สกุลกัวลั่วหลัว (郭络罗)
เจ้าคุณพระปู้ (布贵人) สกุลจ้าวเจีย (兆佳)
เจ้าคุณพระหยวน (袁贵人) สกุลหยวน (袁)
เจ้าคุณพระอี (伊贵人) สกุลอี้ (易)
เจ้าจอม จากสกุลเฉิน (陳)
เจ้าคุณพระ สกุลหน่าลา (纳喇)
เจ้าคุณพระ สกุลหน่าลา (纳喇)
เจ้าคุณพระซิน (新貴人)
เจ้าคุณพระหม่า (馬貴人)
เจ้าคุณพระอิ่น (尹貴人)
เจ้าคุณพระเลย (勒貴人)
เจ้าคุณพระเหวิน (文貴人)
เจ้าคุณพระหลาน (藍貴人)
เจ้าคุณพระฉาง (常貴人)
เจ้าจอมมารดา (庶妃 ชู่เฟย)
เจ้าจอมมารดา สกุลนิ่วฮู่ลู่ (钮祜禄)
เจ้าจอมมารดา สกุลจาง (张)
เจ้าจอมมารดา สกุลหวาง (王)
เจ้าจอมมารดา สกุลหลิว (刘)
เจ้าจอม (常在 ฉางจ้าย)
เจ้าจอมอิ่น (尹常在)
เจ้าจอมเซ่อ (色常在)
เจ้าจอมลู่ (路常在)
เจ้าจอมโช่ว (壽常在)
เจ้าจอมฉาง (常常在)
เจ้าจอมรุ่ย (瑞常在)
เจ้าจอมกุ้ย (貴常在)
เจ้าจอมสวี (徐常在)
เจ้าจอมฉือ (石常在)
หม่อม (答应 ตาอิ้ง)
หม่อมหลิง (靈答應)
หม่อมชุน (春答應)
หม่อมเสี่ยว (曉答應)
หม่อมชิ่ง (慶答應)
หม่อมซิ่ว (秀答應)
หม่อมจื้อ (治答應)
หม่อมเมี่ยว (妙答應)
หม่อมจี๋ (即答應)
หม่อมหนี่ (旎答應)
หม่อมชู (菽答應)
หม่อมฮ่าว (好答應)
พระราชโอรส
ลำดับ
พระนาม
ประสูติ
สิ้นพระชนม์
พระมารดา
หมายเหตุ
องค์ชายเฉิงรุ่ย 承瑞
5 พฤศจิกายน 1667
10 กรกฎาคม 1670
พระราชเทวีหรง สกุลหม่าเจีย
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายเฉิงฮู่ 承祜
4 มกราคม 1669
3 มีนาคม 1672
จักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน สกุลเฮ่อเซ่อหลี่
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายเฉิงชิ่ง 承慶
21 มีนาคม 1670
26 พฤษภาคม 1671
พระราชเทวีฮุ่ย สกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายไซ่อินฉาฮุน 賽音察渾
24 มกราคม 1671
6 มีนาคม 1674
พระราชเทวีหรง สกุลหม่าเจีย
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
1
องค์ชายอิ้นถี 胤禔
12 มีนาคม 1672
7 มกราคม 1735
พระราชเทวีฮุ่ย สกุลน่าลา
สถาปนาเป็นจื้อจวิ้นหวัง ในปี 1698 ปลดจากพระอิสริยยศในปี 1708
องค์ชายฉางหัว 長華
11 พฤษภาคม 1674
12 พฤษภาคม 1674
พระราชเทวีหรง สกุลหม่าเจีย
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
2
องค์ชายอิ้นเหริง 胤礽
6 มิถุนายน 1674
27 มกราคม 1725
จักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน สกุลเฮ่อเซ่อหลี่
พระนามเดิม “องค์ชายป่าวเฉิง” (保成) สถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร (皇太子) เมื่อปี 1675 ปลดจากพระอิสริยยศในปี 1708 สถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร อีกครั้งในปี 1709
องค์ชายชางเซิง 長生
12 สิงหาคม1675
27 เมษายน 1677
พระราชเทวีหรง สกุลหม่าเจีย
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายหวั่นผู 萬黼
4 ธันวาคม 1675
11 มีนาคม 1679
พระชายาทง สกุลหน่าลา
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
3
องค์ชายอิ้นจื่อ 胤祉
23 มีนาคม 1677
10 กรกฎาคม 1732
พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย
สถาปนาเป็นเฉิงจวิ้นหวัง ในปี 1698 ลดพระอิสริยยศเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1699 สถาปนาเป็นเฉิงชินหวัง ในปี 1709 ลดพระอิสริยยศเป็นเฉิงจวิ้นหวัง ในปี 1728 และสถาปนาเป็นจิ้งชินอ๋อง ในปี 1730 ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1730 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “หยิ่น” (隐)
4
องค์ชายอิ้นเจิน 胤禛
13 ธันวาคม 1678
8 ตุลาคม 1735
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน สกุลอูหย่า
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698 สถาปนาเป็นยงชินหวัง ในปี 1709 ขึ้นครองราชสมบัติเป็น จักรพรรดิยงเจิ้ง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 1722
องค์ชายอิ้นจ้าน 胤禶
10 เมษายน 1679
30 เมษายน 1680
พระชายาทง สกุลหน่าลา
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
5
องค์ชายอิ้นฉี 胤祺
5 มกราคม 1680
10 กรกฎาคม 1732
พระราชเทวีอี้ สกุลกัวลั่วหลัว
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698 สถาปนาเป็นเหิงชินหวัง ในปี 1698 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เวิน” (溫)
6
องค์ชายอิ้นจั้ว 胤祚
5 มีนาคม 1680
15 มิถุนายน 1685
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน สกุลอูหย่า
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
7
องค์ชายอิ้นโย่ว 胤祐
19 สิงหาคม 1680
18 พฤษภาคม 1730
พระราชเทวีเฉิง สกุลไต้เจีย
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698 สถาปนาเป็นฉุนจวิ้นหวัง ในปี 1709 สถาปนาเป็นฉุนชินหวัง ในปี 1723 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “ตู้” (度)
8
องค์ชายอิ้นซื่อ 胤禩
29 มีนาคม 1681
5 ตุลาคม 1726
พระอัครชายาเหลียง สกุลเว่ย
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698 สถาปนาเป็นเหลียนชินหวัง ในปี 1723 ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1726 และถูกบังคับให้เปลี่ยนพระนามเป็น "อาฉีน่า" คืนพระอิสริยยศในปี 1778
องค์ชายอิ้นจุ่ย 胤䄔
13 กันยายน 1683
17 กรกฎาคม 1684
เจ้าคุณพระกัว สกุลกัวลั่วหลัว
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
9
องค์ชายอิ้นถัง 胤禟
17 ตุลาคม 1683
22 กันยายน 1726
พระอัครชายาอี้ สกุลกัวลั่วหลัว
สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709 ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1726 และถูกบังคับให้เปลี่ยนพระนามเป็น "ไซซือเฮย" คืนพระอิสริยยศในปี 1778
10
องค์ชายอิ้นเอ๋อ 胤䄉
28 พฤศจิกายน 1683
18 ตุลาคม 1741
พระราชเทวีเวินซี สกุลหนิ่วฮู่ลู่
สถาปนาเป็นตุนจวิ้นอ๋อง ในปี 1709 ถูกปลดลงเป็นฝู่กั๋วกงในปี 1724
11
องค์ชายอิ้นจือ 胤禌
8 มิถุนายน 1685
22 สิงหาคม 1696
พระราชเทวีอี้ สกุลกัวลั่วหลัว
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
12
องค์ชายอิ้นเถา 胤祹
18 มกราคม 1686
2 กันยายน 1763
พระอัครชายาติ้ง สกุลว่านหลิวฮา
สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709 สถาปนาเป็นลวี่จวิ้นอ๋อง ในปี 1722 สถาปนาเป็นลวี่ชินอ๋อง ในปี 1735 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “อี้” (懿)
13
องค์ชายอิ้นเสียง 胤祥
16 พฤศจิกายน 1686
18 มิถุนายน 1730
พระอัครราชเทวีจิ้งหมิ่น สกุลจางเจีย
สถาปนาเป็นอี๋ชินอ๋อง ในปี 1722 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เสียน” (賢)
14
องค์ชายอิ้นที 胤禵
16 มกราคม 1688
13 มกราคม 1756
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน สกุลอูหย่า
สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709 สถาปนาเป็นสวินจวิ้นอ๋อง ในปี 1723 ลดพระอิสริยยศเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1725 ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1726 สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1747 สถาปนาเป็นสวินจวิ้นอ๋อง ในปี 1748 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “ฉิน” (勤)
องค์ชายอิ้นจี้ 胤禨
23 กุมภาพันธ์ 1691
30 มีนาคม 1691
พระราชเทวีผิง สกุลเฮ่อเซ่อหลี่
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
15
องค์ชายอิ้นอู๋ 胤禑
24 ธันวาคม 1693
8 มีนาคม 1731
พระราชเทวีซุ่นอี้มี่ สกุลหวัง
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1726 สถาปนาเป็นหยูจวิ้นอ๋อง ในปี 1730 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เค่อ” (恪)
16
องค์ชายอิ้นลู่ 胤祿
28 กรกฎาคม 1695
20 มีนาคม 1767
พระราชเทวีซุ่นอี้มี่ สกุลหวัง
สถาปนาเป็นจวงชินอ๋อง ในปี 1723 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เค่อ” (恪)
17
องค์ชายอิ้นหลี่ 胤禮
24 มีนาคม 1697
21 มีนาคม 1738
พระอัครชายาฉุนอี้ฉิน สกุลเฉิน
สถาปนาเป็นกั่วจวิ้นอ๋อง ในปี 1723 สถาปนาเป็นกั่วจวิ้นอ๋อง ในปี 1728 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “อี้” (毅)
18
องค์ชายอิ้นเซี่ย 胤祄
15 พฤษภาคม 1701
17 ตุลาคม 1708
พระราชเทวีซุ่นอี้มี่ สกุลหวัง
สิ้นพระชนม์ที่สถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อ ด้วยพระโรคไข้ป่า
19
องค์ชายอิ้นจี๋ 胤禝
25 ตุลาคม 1702
28 มีนาคม 1704
พระชายาเซียง สกุลเกา
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
20
องค์ชายอิ้นอี 胤禕
1 กันยายน 1706
30 มิถุนายน 1755
พระชายาเซียง สกุลเกา
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1726 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เจี่ยนจิ้ง” (簡靖)
21
องค์ชายอิ้นสี่ 胤禧
27 กุมภาพันธ์ 1711
26 มิถุนายน 1758
พระชายาซี สกุลเฉิน
สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1730 และสถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปีเดียวกัน สถาปนาเป็นเชิ่นจวิ้นอ๋อง ในปี 1735 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “จิ้ง” (靖)
22
องค์ชายอิ้นหู 胤祜
10 มกราคม 1712
12 กุมภาพันธ์ 1744
พระชายาจิ่น สกุลเซ่อเฮ่อถู
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1730 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “กงฉิน” (恭勤)
23
องค์ชายอิ้นฉี 胤祁
14 มกราคม 1714
31 สิงหาคม1785
พระชายาจิ้ง สกุลฉือ
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1730 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เฉิง” (誠)
24
องค์ชายอิ้นมี่ 胤祕
5 กรกฎาคม 1716
3 ธันวาคม 1773
พระชายามู่ สกุลเฉิน
สถาปนาเป็นเสียนอ๋อง ในปี 1733 พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เค่อ” (恪)
องค์ชายอิ้นย่วน 胤禐
2 มีนาคม 1718
2/3 มีนาคม 1718
เจ้าคุณพระสกุลเฉิน
สิ้นพระชนม์หลังจากประสูติ
พระราชธิดา
ลำดับ
พระนาม
ประสูติ
สิ้นพระชนม์
พระมารดา
1
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
23 ธันวาคม 1668
พฤศจิกายน 1671
เจ้าจอมมารดาสกุลจาง
2
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
17 เมษายน 1671
8 มกราคม 1674
พระชายาตวน สกุลต่ง
3
องค์หญิงกู้หลุนหรงเซียน 固倫榮憲公主
20 มิถุนายน 1673
29 พฤษภาคม 1728
พระราชเทวีหรง สกุลหม่าเจีย
4
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
16 มีนาคม 1674
1678
เจ้าจอมมารดาสกุลจาง
5
องค์หญิงเหอซั่วตวนจิ้ง 和碩端靜公主
9 มิถุนายน 1674
เมษายน 1710
เจ้าคุณพระปู้ สกุลจ้าวเจีย
6
องค์หญิงกู้หลุนเค่อจิ้ง 固倫恪靖公主
4 กรกฎาคม1679
1735
เจ้าคุณพระกัว สกุลกัวลั่วหลัว
7
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
5 กรกฎาคม 1682
กันยายน 1682
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
8
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
13 กรกฎาคม1683
สิงหาคม 1683
จักรพรรดินีเซี่ยวอี้เหริน
9
องค์หญิงกู้หลุนเวินเซี่ยง 固倫溫憲公主
10 พฤศจิกายน 1683
กันยายน 1702
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
10
องค์หญิงกู้หลุนเฉวียนเฉวี่ย 固倫純愨公主
20 มีนาคม 1685
1710
พระชายาทง สกุลหน่าลา
11
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
24 ตุลาคม 1685
มิถุยน หรือ กรกฎาคม 1686
พระวรราชเทวีเวินซี สกุลหนิ่วฮู่ลู่
12
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
14 มิถุนายน 1686
มีนาคม 1697
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
13
องค์หญิงเหอซั่วเวินเค่อ 和碩溫恪公主
1 มกราคม 1688
สิงหาคม 1709
พระอัครราชเทวีจิ้งหมิ่น สกุลจางเจีย
14
องค์หญิงเหอซั่วเฉว่จิ้ง 和碩愨靖公主
16 มกราคม 1690
1736
เจ้าคุณพระหยวน สกุลหยวน
15
องค์หญิงเหอซั่วตุนเค่อ 和碩敦恪公主
3 กุมภาพันธ์ 1691
มกราคม 1710
พระอัครราชเทวีจิ้งหมิ่น สกุลจางเจีย
16
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
27 พฤศจิกายน 1695
พฤศิกายน 1707
เจ้าจอมมารดาสกุลหวาง
17
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
12 มกราคม 1699
ธันวาคม 1700
เจ้าจอมมารดาสกุลหลิว
18
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
17 พฤศจิกายน1701
ไม่ทราบปี
พระอัครราชเทวีตุนอี๋ สกุลกัวเอ่อร์เจีย
19
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
30 มีนาคม 1703
lมีนาคม 1705
พระชายาเซียง สกุลเกา
20
องค์หญิง (ไม่มีพระนาม)
20 พฤศจิกายน 1708
กุมภาพันธ์ 1709
เจ้าจอมมารดาสกุลนิ่วฮู่ลู่
บุญธรรม
องค์หญิงกู้หลุนฉุนสี่ 固伦纯禧公主
1671
1741
พระธิดาในองค์ชายฉางหนิง
ราชตระกูล
บรรณานุกรม
↑ Note that Xuanye was born in May 1654, and was therefore less than seven years old at the time. Both Spence 2002 harvnb error: no target: CITEREFSpence2002 (help ) and Oxnam 1975 harvnb error: no target: CITEREFOxnam1975 (help ) (p. 1) nonetheless claim that he was "seven years old." Dennerline 2002 harvnb error: no target: CITEREFDennerline2002 (help ) (p. 119) and Rawski 1998 harvnb error: no target: CITEREFRawski1998 (help ) (p. 99) indicate that he was "not yet seven years old." Following East Asian age reckoning , Chinese documents concerning the succession say that Xuanye was eight sui (Oxnam 1975 , p. 62 harvnb error: no target: CITEREFOxnam1975 (help ) ).
อ้างอิง
ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปโอเชียเนีย