ฮาคุบะ ซางูรุ
ฮาคุบะ ซางูรุ[4][5] (ญี่ปุ่น: 白馬 探; โรมาจิ: Hakuba Saguru; ทับศัพท์ราชบัณฑิตยสภา: ฮากูบะ ซางูรุ) เป็นตัวละครที่ปรากฏตัวในมังงะเรื่อง จอมโจรอัจฉริยะ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ฮาคุบะ เป็นนักสืบ มีสัตว์เลี้ยงเป็นเหยี่ยวชื่อ "วัตสัน" ซึ่งมีชื่อมาจากนายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน ที่เป็นตัวละครจากนิยายสืบสวนเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ประวัติฮาคุบะ ซางูรุมีบิดาเป็นตำรวจ ในมังงะ จอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 3 ระบุว่าบิดามีตำแหน่งเป็นรองผู้บังคับการสืบสวน[6] ส่วนในมังงะเล่มที่ 5 ระบุว่าบิดาเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[7] เขาย้ายกลับจากโรงเรียนมัธยมลอนดอนบริดจ์[8] ลอนดอน ประเทศอังกฤษ[9] เข้ามาเรียนร่วมชั้นกับคุโรบะ ไคโตะและนาคาโมริ อาโอโกะ[8] เขาถือเป็นนักสืบที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ทั้งนี้เขามักจะบอกเวลาเป็นนาทีและวินาทีอยู่เป็นนิจ[8] จากการสันนิษฐานและการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ทำให้เขามั่นใจว่าคุโรบะ ไคโตะคือจอมโจรคิด[10] นอกจากนี้ฮาคุบะ ซางูรุปรากฏตัวในมังงะเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ด้วยเช่นกัน[11][12] ในมังงะเรื่องนี้เขาเลี้ยงเหยี่ยวไว้ตัวหนึ่งชื่อวัตสัน[5] การปรากฏตัวในจอมโจรอัจฉริยะในจอมโจรอัจฉริยะ (ญี่ปุ่น: まじっく快斗; อังกฤษ: Magic Kaito หรือ Kaito KID) ฮาคุบะ ซางูรุ พยายามพิชิตใจหญิงสาวที่มีชื่อว่า "นากาโมริ อาโอโกะ" นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายช่วงที่ฮาคุบะเผชิญเหตุการณ์ชิงไหวชิงพริบกับจอมโจรคิดด้วยเช่นกัน ในยอดนักสืบจิ๋วโคนันในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン; อังกฤษ: Detective Conan หรือ Case Closed) มีเหตุการณ์ที่ฮาคุบะ ซางูรุ พบกับโคนันอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น "รวมพลยอดนักสืบ คุโด้ ชินอิจิ ปะทะ จอมโจรคิด" (ตอนที่ 235) ซึ่งฮาคุบะปรากฏตัวพร้อมกับเหยี่ยววัตสันในเหตุการณ์ที่มีนักสืบที่มากด้วยความสามารถมารวมตัวกันหลายราย[11] และในตอน "3 วันกับฮัตโตริ เฮย์จิ" (ตอนที่ 519-522)[12] ในฉบับของหนังสือการ์ตูน ในตอนที่ 1119 ฮาคุบะได้ปรากฏตัวอีกครั้งต่อหน้าโคนันและเฮย์จิ เพื่อพูดถึงเรื่องของจอมโจรคิด และชายชราปริศนาที่เกี่ยวข้องกับ อามุโร่ โทรุ อีกที ในภาพยนตร์ในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่ ภาคบทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 探偵たちの鎮魂歌 (レクイエム), อักษรโรมัน: Meitantei Konan Tantei tachi no Rekuiemu (REQUIEM); อังกฤษ: The Private Eyes' Requiem) มีการปรากฏโฉมหน้าฮาคุบะ ซางูรุ ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาคือจอมโจรคิดที่ปลอมตัวมาเพื่อร่วมสืบคดีกับโคนัน[13][14][15] อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia