ฮอนด้า แอคคอร์ด
ฮอนด้า แอคคอร์ด (อังกฤษ: Honda Accord) เป็นรถซีดานขนาดกลางที่ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทฮอนด้า ได้เริ่มต้นสายการผลิตในปี พ.ศ. 2519 ในประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องที่ออกมาตัวแรกคือเครื่อง 1600 ซีซี ซึ่งนับเป็นรถขนาดกลาง โดยรูปทรงที่ออกมามีลักษณะใกล้เคียงกับ ฮอนด้า ซีวิคในรุ่นเดียวกัน ในช่วงที่แอคคอร์ดถูกออกแบบมาใหม่ๆ แอคคอร์ดนั้นถูกกำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบโดยเฉพาะ ซึ่งกำหนดให้สภาพเครื่องยนต์แตกต่างจากซีวิค แต่เนื่องจากเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ และภาวะน้ำมันแพงในระยะต่อมา ทางฮอนด้าได้มีการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ รวมทั้งเครื่องยนต์ โดยได้ปรับปรุงและพัฒนาออกมาเป็น 2 รุ่นหลักอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คือ รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ และรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ แต่นับจากรุ่นที่สิบ ฮอนด้าแอคคอร์ดจะไม่ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบอีกต่อไปและจะใช้เครื่องยนต์ 2 ลิตรเทอร์โบทำตลาดแทน นอกจากแบ่งตามขนาดแล้ว ยังแบ่งตามลักษณะของเกียร์เหมือนรถยนต์ทั่วๆ ไป คือ เกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ ฮอนด้า แอคคอร์ด โฉมที่ 1-4 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก, โฉมที่ 5-9 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดกลาง (ยกเว้นโฉมที่ 8 เฉพาะตัวถังแบบ Sedan ที่มีมูนรูฟ จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดใหญ่) สายการผลิต![]() โรงงานผลิตรถของ ฮอนด้า แอคคอร์ด ตั้งอยู่ทั่วโลกเพื่อรองรับปริมาณการสั่งซื้อจากทั่วโลก โดยแยกดังต่อไปนี้
รถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ดที่ผลิตมานั้น จนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 10 Generation (โฉม) ได้แก่ Generation ที่ 1 (รุ่นปี พ.ศ. 2519-2524)![]() โฉมแรกนี้ ทำออกมาทั้งสิ้น 6 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2524 โดยรุ่นบุกเบิกมีเครื่องยนต์ขนาด 68 แรงม้า แต่ว่ารุ่นปี พ.ศ. 2523 นั้น ยังผลิตอยู่จนถึง พ.ศ. 2524 จึงเลิกผลิต โดยในสมัยนั้น ระบบเกียร์อัตโนมัตินั้น ยังไม่ถูกพัฒนาเท่าที่ควร ระบบอัตโนมัติได้กินพื้นที่กระปุกเกียร์ จึงไม่สามารถติดเฟืองเกียร์ได้มากเหมือนเกียร์ธรรมดา ในโฉมแรกนี้ ระบบเกียร์มี 3 ระบบ คือ เกียร์ธรรมดา 5 ระดับเกียร์เดินหน้า กับเกียร์อัตโนมัติ 2 กับ 3 ระดับเกียร์เดินหน้า ดังนั้น การมีเกียร์น้อย ทำให้มีปัญหาในด้านของการใช้น้ำมันอย่างสิ้นเปลือง จึงไม่ค่อยมีคนซื้อ แต่ก็ยังมีการผลิต แต่โฉมนี้ ก็เป็นโฉมแรกและโฉมเดียวที่มีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 2 กับ 3 ระดับเกียร์เดินหน้าด้วย โดยเปิดตัวในปี 1976 โดยเป็นตัวถัง 3 ประตูในตอนแรกใช้แพลตฟอร์มเดียวกับซีวิค ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1,600 cc 68 แรงม้า ต่อมาในเดือนตุลาคมปี 1977 ก็ออกรุ่น 4 ประตูซีดาน และปรับกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 72 แรงม้า ในปี 1978 ก็ออกรุ่นเบนซิน 1,800 cc ในปี 1980 ก็ออกรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด จากเดิมแค่ 2 สปีดให้เลือก โดยในเจเนอเรชันแรกนี้ คู่แข่งที่สำคัญในเวลานั้นคือ โตโยต้า โคโรน่า, มาสด้า 626, ดัทสัน 510 และ มิตซูบิชิ กาแลนต์ ด้านตัวถัง โฉมแรกนี้แอคคอร์ดมีตัวถังเพียง 2 แบบ คือ Hatchback 3 ประตู กับ Sedan 4 ประตู มีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 ขนาดคือ 1.6 กับ 1.8 ลิตร สำหรับในประเทศไทย ในระยะเวลานั้น ฮอนด้าสำนักงานใหญ่ยังไม่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แต่เอเชียน ฮอนด้า ก็ได้นำแอคคอร์ดรุ่นนี้มีการนำเข้ามาขายในประเทศไทย แต่ก็มียอดขายไม่กี่คันเท่านั้น Generation ที่ 2 (รุ่นปี พ.ศ. 2525-2528)![]() โฉมที่ 2 นี้ ผลิตออกมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2528 เปิดตัวกันยายนปี 1981 ในญี่ปุ่นและยุโรปส่วนอเมริกาเหนือในปี 1982 และยังมีฝาแฝดขายในชื่อ Vigor แอคคอร์ดรุ่นนี้เป็นแอคคอร์ดรุ่นแรก ที่ฮอนด้านำไปขึ้นไลน์ประกอบในสหรัฐอเมริกา และเป็นรุ่นแรกที่นำมาขายในราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี 1983 ก็มีรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และยังมีรุ่นพิเศษ Special Edition มีหลังคาซันรูฟ กระจกไฟฟ้า เบาะหนัง และในปี 1984 ก็นำเครื่องยนต์ 1,800 ซีซี ที่มีระบบหัวฉีด PGM-FI มาใข้เป็นครั้งแรกในราชอาณาจักรญี่ปุ่นโดยมีพละกำลังมากถึง 130 แรงม้าอีกด้วย สำหรับประเทศไทย ในช่วงนี้ ฮอนด้า สำนักงานใหญ่เข้ามาทำธุรกิจในไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จึงมีการจำหน่ายแอคคอร์ดอย่างเป็นทางการเป็นรุ่นแรก โดยโฉมนี้มีจำหน่ายแค่รุ่นเดียวคือ 1,800 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ 100 แรงม้า Generation ที่ 3 (รุ่นปี พ.ศ. 2529-2532)![]() โฉมที่ 3 นี้ ผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2532 เปิดตัวครั้งแรกมิถุนายน 1985 ที่ญี่ปุ่นในยุโรปและอเมริกาตามมาภายหลัง นักเลงรถที่ไทยเรียกว่ารุ่นท้ายดำแดงสองชั้นใช้แพลตฟอร์มเดียวกับโดยรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ใช้ช่วงล่างดับเบิลวิชโบนอิสระทั้ง4ล้อและมีระบบเบรก ABS ให้เลือกด้วยในรุ่นดิสก์เบรก 4 ล้อ เป็นรุ่นเดียวที่ไฟหน้าเป็นไฟแบบ Popup รุ่นแรกและรุ่นเดียวแต่รุ่นที่ขายในไทยเป็นแบบธรรมดามีรุ่นเครื่องยนต์ 1,600 cc 1,800 cc และ 2,000 cc นอกจากนี้ยังมีตัวถังหลายแบบ 3 ประตู Hatchback 3 ประตู Shootingbrake เรียกว่า Accord Aerodeck และ 2 ประตู มาในปี 2530 และขายกันถึงปี 2532 ได้รับรางวัลรถยนต์นั่งยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่นประจำปี 2529 อีกด้วย ในไทยนั้นเป็นเครื่อง 2,000 cc (1,955 cc) 105 แรงม้า โดยมี 2 แบบ คือ
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรุ่น จะได้พวงมาลัยพาวเวอร์ผ่อนแรง เซ็นทรัลล็อก ไฟส่องข้างประตู เสาอากาศไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นความล้ำหน้าในเทคโนโลยีไม่น้อย ส่วนเบาะจะเป็นเบาะสังเคราะห์ หรือเบาะหนังเทียม (ไวนิล) รอบคันแม้แต่รุ่นท็อป ซึ่งเป็นจุดอ่อนเนื่องจากคู่แข่งใช้เบาะกำมะหยี่หรูหรากว่า Generation ที่ 4 (รุ่นปี พ.ศ. 2533-2536)![]() โฉมนี้ ผลิตมาทั้งสิ้น 4 ปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2536 เปิดตัวครั้งแรกในปี 1989 ใช้พื้นฐานทางวิศวกรรมร่วมกับฮอนด้า แอสคอต, ฮอนด้า Vigor และฮอนด้า อินสไปร์ ที่เน้นตลาดบนมากกว่าพี่น้องร่วมสายพันธุ์ โฉมนี้นับว่าเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในไทยและในอเมริกายังเป็นรถยนต์นั่งที่ขายดีที่สุดถึง 3 ปีซ้อนอีกด้วย ตลาดรถในประเทศไทย เรียกว่ารุ่นตาเพชร เนื่องจากไฟหน้าเป็นมัลติรีเฟลกเตอร์เมื่อมองแล้วมีลักษณะเหมือนเพชรที่แวววาวจึงเรียกว่าตาเพชร โดยโฉมนี้ในต่างประเทศมีเครื่องยนต์ 1,800 cc 2,000 cc และ 2,200 cc 125 แรงม้า 130 แรงม้าและ 140 แรงม้า ในไทยมีเฉพาะเครื่องยนต์ 2,000 cc เท่านั้น มีเซ็นทรัลล็อก พวงมาลัยพาวเวอร์ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และมีให้เลือก 2 รุ่นย่อย คือ
เปิดตัวในไทยในปี 2533 โดยช่วงแรกจะมีเฉพาะ LX / EX กับ LXi เท่านั้น ส่วน EXi ตามมาในปี 2534 ในช่วงแรกนี้ไฟท้ายจะเป็นแผงยาวจรดแผงป้ายทะเบียน จึงเรียกกันว่า ตาเพชรไฟยาว รุ่นไมเนอร์เชนจ์ออกเมื่อปี 2535 โดยเปลี่ยนไฟเลี้ยวใหม่ ไฟท้ายใหม่ที่กลับไฟเบรกมาอยู่ข้างบนไฟเลี้ยวนักเลงรถเรียกรุ่นนี้ว่า ตาเพชรไฟสั้น โดยขายจนถึงปี 2537 รุ่นนี้ไม่มีตัวถัง 3 ประตูแล้ว โดยตัวถัง 5 ประตูขายในยุโรปชื่อ Aerodeck จากโฉมก่อนหน้าจนถึงโฉมนี้ คู่แข่งโดยตรงที่สำคัญของแอคคอร์ดในตลาดรถขนาดเล็กกึ่งกลางของประเทศไทย (หรือเรียกว่า C-D Segment) คือ โตโยต้า โคโรลล่า GTi ที่ขยับจากรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) เป็นรถขนาดเล็ก (Compact) เป็นครั้งแรกพร้อมเครื่องยนต์ 4A-GE 1,600 ซีซี กับ โคโรน่าที่มีเครื่องยนต์ 3S-FE 2,000 ซีซี หัวฉีด EFI มิตซูบิชิ กาแลนต์ ที่มีเครื่องยนต์ 4G63 ที่ประจำการในมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน, มาสด้า 626 ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ FE-DOHC, นิสสัน เซฟิโร่ที่มีเครื่องยนต์ 6 สูบ ทวินแคม24วาล์วที่ประจำการในนิสสัน สกายไลน์ GT-R เจ้าของรางวัลชนะเลิศซูเปอร์จีที ถึง 2 ปีติดต่อกัน และ นิสสัน บลูเบิร์ด แอทเทซ่า ที่มีภายใน Ergo Design ถึงแม้แอคคอร์ดจะยังไม่มีเครื่องยนต์ทวินแคม 16 และ 24 วาล์วเหมือนคู่แข่ง แต่ในทางปฏิบัติยังถือกันว่ายังเป็นรถขนาดเล็กเช่นเดียวกับโคโรน่าและบลูเบิร์ด แอทเทซ่า เวลาผ่านไป ยอดขายของแอคคอร์ดในสหรัฐอเมริกาลดลงอีกครั้ง เนื่องด้วยช่วงนั้นบริษัทรถยนต์หลายค่ายไม่ว่าจะเป็น ไครสเลอร์, เจเนรัลมอเตอร์, โตโยต้า, มิตซูบิชิ มอเตอร์ส, นิสสัน, ฮุนได, และ มาสด้า ต่างได้เปิดตัวรถยนต์ขนาดกลางรุ่นใหม่ที่ขยายขนาดตัวถังของรถ เครื่องยนต์ และเพิ่มออปชั่นและเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก ทางฮอนด้า จึงจำเป็นต้องเปิดตัว แอคคอร์ด โฉมที่ 5 ออกมา แต่ก่อนที่จะเปิดตัว แอคคอร์ด โฉมที่ 5 ทางฮอนด้าได้มีการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชิ้นสุดท้ายให้กับ แอคคอร์ด โฉมที่ 4 ในสหรัฐอเมริกา โดยนำภาพยนตร์โฆษณาของค่ายรถคู่แข่งที่แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศในขณะนั้นรวม 11 เรื่องที่มีคำพูดของผู้บรรยายภาพยนตร์โฆษณาของค่ายคู่แข่ง, แบรนด์แอมบาสเดอร์ของค่ายคู่แข่ง, ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ท้องถิ่นของค่ายคู่แข่ง, เจ้าของรถของค่ายคู่แข่ง, รวมทั้งวิศวกรและพนักงานของค่ายรถคู่แข่ง ที่จงใจโจมตี ฮอนด้า แอคคอร์ด มาล้อเลียน ก่อนที่ภาพยนตร์โฆษณาจะจบลงที่คำพูดของผู้บรรยายโฆษณาว่าให้รอแอคคอร์ด โฉมที่ 5 เปิดตัวเสียก่อน แต่ถ้าหากรอไม่ได้ก็รีบซื้อแอคคอร์ด โฉมที่ 4 จากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าที่ร่วมรายการก่อนที่สต๊อกรถจะหมด Generation ที่ 5 (รุ่นปี พ.ศ. 2536-2540)![]() ![]() โฉมนี้ ผลิตออกมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540 ขายในปี 1994 โดยในโฉมนี้ที่ขายในญี่ปุ่นกับยุโรปเป็นคนละโมเดลกันโดยอเมริกายังเป็นโมเดลเดียวกับญี่ปุ่นโดยรุ่นที่ขายในยุโรปญี่ปุ่นขายในญี่ปุ่นในชื่อ Ascot Innova โดยใช้พื้นฐานวิศวกรรมเดียวกับฮอนด้า พรีลูด และแอคคอร์ด รุ่นตาเพชร และยังขายในชื่อ rover 800 และ isuzu aska อีกด้วยในเวอร์ชันญี่ปุ่นส่วนเวอร์ชันยุโรปยังขายในชื่อ rover 600 อีกด้วยและขยับขนาดตัวถังจากรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นขนาดกลาง ได้รับการวางเครื่องยนต์รหัส F18B ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 4 สูบ 16 วาล์ว 1,849 ซีซี 125 แรงม้า, รหัส F20B ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 1,997 ซีซี 135 แรงม้า, รหัส F22B ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 2,156 ซีซี 145 แรงม้า และแรงสุดในรหัส H22A ทวินแคม VTEC 2,156 ซีซี 190 แรงม้า ในรุ่น SiR ซึ่งบล็อกนี้เป็นเครื่องที่คนที่ใช้รุ่นตาเพชรและรุ่นนี้ที่ต้องการความแรงเพิ่มต่างตามล่าเครื่องยนต์บล็อกนี้กันอย่างมาก ตามด้วยรหัส C27A ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ V6 2,675 ซีซี 170 แรงม้า H23A ทวินแคม 2,258 ซีซี 162 แรงม้า และเครื่องยนต์ดีเซล 1,994 ซีซี จากโรเวอร์ 105 แรงม้า โดย 2 บล็อกหลังเฉพาะเวอร์ชันยุโรปและ Rover 600 เกียร์อัตโนมัติ ระบบกันสะเทือนปีกนกคู่ ระบบเบรกหน้าดิสก์-หลังดรัม (เฉพาะรุ่น SiR เป็นดิสก์เบรก 4 ล้อ) นอกจากนี้ แอคคอร์ด โฉมที่ 5 ยังได้รับรางวัลรถยนต์นั่งยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่นประจำปี 2536-2537 (1993–1994 Car of the Year Japan) อีกด้วย ในประเทศเปิดตัวเมื่อปี 2537 มีทั้งประกอบนอกและประกอบในโดยในรุ่นนี้นักเลงรถในไทยเรียกว่ารุ่นไฟท้ายก้อนเดียวเพราะมีไฟท้ายชิ้นเดียวบนฝากระโปรง และรุ่นไมเนอร์เชนจ์มาในปี 2539 โดยนักเลงรถในไทยเรียกว่ารุ่นไฟท้าย 2 ก้อนเพราะมีไฟท้าย 2 ชิ้นขายถึงปี 2540 โดยในโฉมนี้มีตัวเลือก 3 แบบ คือ
โดยในช่วงเจเนอเรชันนี้ แอคคอร์ดก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมมหาศาลในตลาด เนื่องจากแอคคอร์ดรุ่นนี้ได้พัฒนา ขยายขนาดรถยนต์ เครื่องยนต์ และเพิ่มออปชั่นและเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งการออกแบบรถที่ออกมาหรูหรากว่าโคโรน่าและบลูเบิร์ด โตโยต้าจึงไม่สามารถใช้ โตโยต้า โคโรน่า ได้อีกต่อไปจึงสั่ง โตโยต้า คัมรี่ จากออสเตรเลียเข้ามาเพื่อเป็นคู่แข่งโดยตรงกับแอคคอร์ดแทนโคโรน่า ส่วนโคโรน่าได้กลายเป็นรถที่ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงกับแอคคอร์ดอีกต่อไป ตำแหน่งการตลาดของโคโรน่าหลังการมาของแอคคอร์ดรุ่นนี้ถูกลดลงไปอยู่กึ่งกลางระหว่าง ซีวิค กับ แอคคอร์ด (หรือเรียกว่า C-D Segment) ต่างจากโคโรน่าตั้งแต่ปี 2536 ลงไป ที่ถูกวางตำแหน่งไว้เป็นรถหรู อยู่ระดับเดียวกับแอคคอร์ดโดยตรง ดังนั้นคนรุ่นหลังจำนวนมากที่มาไม่ทันเฉพาะโคโรน่ารุ่นก่อนๆ จึงมักเข้าใจว่าโคโรน่าไม่ได้เป็นรถระดับเดียวกับแอคคอร์ด เช่นเดียวกับนิสสัน บลูเบิร์ด ซึ่งพบชะตากรรมเดียวกับโคโรน่า แต่นิสสันมี เซฟิโร่ ซึ่งเริ่มจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2533 มาเป็นคู่แข่งแทน โดยบลูเบิร์ดรุ่นสุดท้ายที่ถูกวางตำแหน่งเป็นรถคู่แข่งเต็มขั้น คือ นิสสัน บลูเบิร์ด แอทเทซา ซึ่งต่อมา ทั้งบลูเบิร์ดและโคโรน่า ก็ต่างถูกยุบสายการผลิตไปในที่สุด Generation ที่ 6 (รุ่นปี พ.ศ. 2541-2545)![]() ![]() ![]() โฉมนี้ ผลิตออกมาทั้งสิ้น 5 ปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 โดยตัวถังนี้แบ่งเป็น 3 เวอร์ชั่นคือญี่ปุ่น ยุโรป ที่ใช้พื้นฐานวิศวกรรมจากแอคคอร์ด รุ่นตาเพชรและอเมริกาโดยประเทศไทยตัวถังเดียวกับอเมริกาโดยในญี่ปุ่นเปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 1997 และยังมีอีกโมเดลที่ใช้พื้นฐานวิศวกรรมเหมือนกันชื่อฮอนด้า Torneo และยังมีขายในชื่อ อีซูซุ อาสก้า โดยมีตัวถัง 4 ประตูซีดานและ 5 ประตู Wagon โดยมีเครื่องยนต์ดังนี้ F18B 4 สูบ VTEC ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาพต์ 1,850 ซีซี 140 แรงม้า, F20B 4 สูบ VTEC ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาพต์ 1,997 ซีซี 148 แรงม้า มีรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อให้เลือก และรหัส F20B (ในรุ่น SiR) 4 สูบ VTEC ทวินแคม 16 วาล์ว 1,997 ซีซี 180 แรงม้า และ H22A 220 แรงม้าในรุ่น Euro R2.0L ส่วนเวอร์ชั่นอเมริกานั้นเปิดตัวในปี 1997 ใกล้เคียงกันโดยเวอร์ชันนี้เป็นเวอร์ชันเดียวกับของไทยโดยมีตัวถัง 2 ประตูคูเป้ และ 4 ประตูซีดาน โดยมีเครื่องยนต์ดังนี้ F20B5 ซิงเกิลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 4 สูบ 16 วาล์ว 147 แรงม้า F23A1 2,254 ซีซี 150 แรงม้า F23A4 2,254 ซีซี 148 แรงม้า F23A5 2,254 ซีซี 138 แรงม้า J30A1 2,997 ซีซี V6 200 แรงม้า ส่วนในเวอร์ชั่นยุโรปมีทั้งตัวถัง 4 ประตูซีดาน และ Hatchback โดยมีเครื่องยนต์ F18B2 1,850 ซีซี 136 แรงม้า F20B6 1,997 ซีซี 147 แรงม้า และ H22A 2,157 ซีซี 212 แรงม้า และเครื่องยนต์ดีเซล 1,994 ซีซี จากโรเวอร์ 105 แรงม้า นอกจากนี้เครื่องยนต์ F18B2 ในแอคคอร์ด โฉมที่ 6 ยังได้รับรางวัลเครื่องยนต์ยอดเยี่ยมสากลหรือ International Engine Of The Year ประจำปี 2543 ในสาขาเครื่องยนต์ความจุระหว่าง 1,400 - 1,800 ซีซี อีกด้วย สำหรับประเทศไทยนักเลงรถในไทยเรียกว่ารุ่นงูเห่าโดยมีตัวเลือก 3 รุ่น คือ
แอคคอร์ดโฉมนี้ เป็นโฉมที่เก่าที่สุดที่ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) รับรองให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อย่างเป็นทางการ[2] (แต่ในทางปฏิบัติ เครื่องยนต์หัวฉีดทุกรุ่นของฮอนด้าที่มีกล่องสมองกลสามารถรองรับได้) และเป็นโฉมสุดท้ายของแอคคอร์ดในประเทศไทยที่มีรุ่นเกียร์ธรรมดา หลังจากตัดออกไปในช่วงกลางอายุของโฉมนี้ก็ไม่มีแอคคอร์ดเกียร์ธรรมดาในประเทศไทยอีก Generation ที่ 7 (รุ่นปี พ.ศ. 2546-2550)![]() ![]() โฉมนี้ ผลิตออกมาทั้งสิ้น 5 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 โดยรุ่นนี้เปิดตัวในปี 2545 ทั้งญี่ปุ่นและอเมริกาส่วนอเมริกาปี 2003 และยังแบ่งเป็น 2 เวอร์ชั่นคือเวอร์ชั่นญี่ปุ่นกับยุโรปและเวอร์ชั่นอเมริกากับไทย ในญี่ปุ่นขายแอคคอร์ดรุ่นปลาวาฬในชื่อฮอนด้า อินสไปร์ ในเวอร์ชั่นญี่ปุ่นมีตัวถัง 2 แบบคือ 4 ประตู Sedan และ Wagon 5 ประตู มีเครื่องยนต์ 2,000 cc I-VTEC,2,400 cc I-VTEC ดีเซล 2,200 cc I-DTEC และยังมีเวอร์ชั่นตัวแรง Euro R ใช้เครื่องยนต์ 2,000 cc รหัส K20A 220 แรงม้าซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่อยูในอินเทกร้าไทพ์อาร์ ส่วนเวอร์ชันอเมริกานั้นมีตัวถัง 2 แบบคือ 2 ประตู Coupe และ 4 ประตู Sedan โดยรุ่นนี้มีเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีดและธรรมดา 6 สปีดเป็นครั้งแรกอีกด้วย โดยมีเครื่องยนต์ 2 ขนาดคือ 2,400 cc , v6 3,000 cc และยังมีรุ่น Hybrid อีกด้วยโดยใช้เครื่องยนต์ 3,000 cc v6 I-VTEC พร้อมเทคโนโลยีใหม่ VCM ลูกสูบแปรผันอัจฉริยะโดยควบคุมการทำงานของลูกสูบให้ทำงานให้เหมาะสมให้กำลัง 255 แรงม้าและ 16 แรงม้าจากมอเตอร์ไฟฟ้าใช้เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 5 สปีดดูอัลคลัทช์อีกด้วยและไมเนอร์เชนจ์ในปี 2005 โดยเปลี่ยนไฟหน้าและไฟท้ายเป็นแบบชิ้นเดียว LED ฝากระโปรงท้ายใหม่ นอกจากนี้ แอคคอร์ด โฉมที่ 7 เวอร์ชั่นญี่ปุ่นกับยุโรป ยังได้รับรางวัลรถยนต์นั่งยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่นประจำปี 2545-2546 (2002–2003 Car of the Year Japan) อีกด้วย ส่งผลทำให้ฮอนด้าเป็นค่ายรถค่ายแรกและค่ายเดียวที่ได้รับรางวัลรถยนต์นั่งยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่นถึง 3 ปีติดต่อกัน ส่วนในประเทศไทย วงการรถเรียกรุ่นนี้ว่ารุ่นปลาวาฬ เปิดตัวครั้งแรกในต้นปี 2546 มีตัวเลือกดังต่อไปนี้
รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีถุงลมนิรภัยด้านข้าง โดยมีเครื่องยนต์ 2 ขนาดคือ 2,400 cc i-VTEC 160 แรงม้าและ 3,000 cc i-VTEC v6 220 แรงม้า ต่อมาปี 2548 ก็มีรุ่น 2,000 cc i-VTEC 150 แรงม้าออกมา และไมเนอร์เชนจ์ในปี 2549 โดยเปลี่ยนไฟหน้าไฟท้ายแบบใหม่เป็นชิ้นเดียว LED และฝากระโปรงท้ายแบบใหม่ และปรับกำลังเครื่อง 2,400 cc จาก 160 แรงม้า เป็น 170 แรงม้า แต่รุ่นนี้โฉมไมเนอร์เชนจ์เห็นไม่ค่อยเยอะเท่าไรบนถนนเมืองไทย เนื่องจากช่วงนั้นโตโยต้าได้เปิดตัวคัมรี่ เจเนอเรชั่นใหม่ คนจำนวนมากจึงเลือกออลนิวคัมรี่ มากกว่าแอคคอร์ดรุ่นปลาวาฬที่มีอายุนานพอสมควร แอคคอร์ดโฉมนี้ขายถึงปลายปี 2550 Generation ที่ 8 (รุ่นปี พ.ศ. 2551-2555)![]() ![]() ฮอนด้า แอคคอร์ด โฉมที่ 8 แบ่งตัวถังออกเป็น 2 เวอร์ชั่นคือ เวอร์ชั่นยุโรป–ญี่ปุ่น (CU1/2) และเวอร์ชั่นทั่วโลก โดยเวอร์ชั่นยุโรป–ญี่ปุ่นนั้น มีลักษณะรูปร่างตัวถังเหมือนกันในประเทศในแถบยุโรป, ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศนิวซีแลนด์ และตัวถังนี้มีขายในประเทศสหรัฐอเมริกาในชื่อ อะคูรา ทีเอสเอกซ์ (อังกฤษ: Acura TSX) ส่วนเวอร์ชั่นทั่วโลกนั้น มีลักษณะรูปร่างตัวถังเหมือนกันในประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย และเวอร์ชั่นนี้ได้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น ในชื่อ ฮอนด้า อินสไปร์ (อังกฤษ: Honda Inspire) เวอร์ชั่นยุโรป–ญี่ปุ่น ได้เปิดตัวที่งานเจนีวา มอเตอร์โชว์ ในปี พ.ศ. 2551 และมีตัวถัง 2 แบบ คื อ แบบซีดาน 4 ประตู และแบบวากอน 5 ประตู ในชื่อฮอนด้า แอคคอร์ด ทัวเรอร์ (อังกฤษ: Honda Accord Tourer) และมาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร, 2.2 ลิตร (ดีเซล) และขนาด 2.4 ลิตร เป็นบล็อกเดิมทั้งหมด โดยเครื่องยนต์เหล่านี้ได้ใช้เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ ตัวถังนี้เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2551 และเลิกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2558 ส่วนเวอร์ชั่นทั่วโลกนั้นได้เริ่มขายกันในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน โดยมี 2 แบบ คือ รุ่นคูเป้ 2 ประตู และรุ่นซีดาน 4 ประตู สำหรับประเทศไทยนั้นเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สำหรับประเทศไทยฮอนด้า แอคคอร์ด โฉมนี้ มีเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 156 แรงม้า, 2.4 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 180 แรงม้า และเครื่องยนต์ V6 ขนาด 3.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 275 แรงม้า และเครื่องยนต์ทั้งหมดสามารถรองรับน้ำมันพลังงานทดแทนพิเศษ แก๊สโซฮอล์ E20 ได้ ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนใหม่ของประเทศไทยที่สามารถช่วยลดมลพิษได้ และมีรุ่นย่อยดังนี้
ในปลายปี 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยในประเทศไทย ทำให้โรงงานไม่สามารถผลิตรถออกมาขายได้ ฮอนด้า ประเทศไทย จึงนำเข้าแอคคอร์ดจากประเทศญี่ปุ่นที่ขายในชื่อ ฮอนด้า อินสไปร์ (อังกฤษ: Honda Inspire)) มาขาย 2 รุ่น คือรุ่นเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร และขนาด 2.4 ลิตร โดยมีข้อสังเกตคือ คันที่เป็นรถนำเข้านั้นจะมีหลังคาซันรูฟและไฟหน้าซีนอนแต่ก็ขายไม่ค่อยดีเท่าช่วงต้นโมเดลสักเท่าไร โดยขายกันมาจนถึงมีนาคม 2554 Generation ที่ 9 (รุ่นปี พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2560)
โฉมนี้มี 2 ตัวถังคือคูเป้ 2 ประตูและซีดาน 4 ประตู ส่วนระบบเกียร์มี 4 ระบบคือ ระบบเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ, เกียร์ CVT และเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ โดยต่อไปนี้แอคคอร์ดจะใช้โฉมเดียวกันทั้งโลก อีกทั้งยังมีรุ่นไฮบริดและปลั๊ก-อินไฮบริดจำหน่ายด้วย โฉมนี้ถูกเผยโฉมคูเป้เป็นคอนเซปคาร์ครั้งแรกในงานดีทรอยมอเตอร์โชว์ปี 2012 และเริ่มขายจริงในเดือนกันยายนปีเดียวกัน และมีเครื่องยนต์ 3 แบบคือ เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร Earthdream i-VTEC เบนซินฉีดตรง 185 แรงม้า, เครื่องยนต์ 3.5 ลิตร 278 แรงม้า และเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร Hybrid 196 แรงม้าซึ่ง เปิดตัวในงาน LA Autoshow ในภายหลัง สำหรับประเทศไทยเปิดตัวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ใช้เครื่องยนต์ตัวเดิม 2.0 ลิตร i-VTEC 155 แรงม้าและเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร Earthdream ที่ไม่ใช่ฉีดตรง 175 แรงม้า โดยไม่มีรุ่น V6 ขายแล้ว นอกจากนี้ ฮอนด้ายังปรับปรุงระบบจ่ายเชื่อเพลิงอีกครั้งให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ถึง E85 มีรุ่นย่อยดังนี้
รุ่นปรับโฉม![]() ในรุ่นปรับโฉมได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการปรับปรุงภายนอก คือเปลี่ยนไฟหน้า Projector Halogen (รุ่น 2.0) / LED Dual Projector (รุ่น 2.4/Hybrid) เป็นไฟหน้า FULL LED Multi Reflector มาตั้งแต่รุ่นต่ำสุดและไฟท้าย LED TUBE แบบใหม่ กันชนหน้า-กระจังหน้า-กันชนท้าย ดีไซน์ใหม่ ภายในเปลี่ยนวัสดุสีเงินเป็น Piano Black ส่วนออฟชั่นที่เพิ่มเข้ามาคือ ระบบสตาร์ทรถยนต์ด้วยกุญแจรีโมท (Engine Remote Start) และรองรับการเชื่อมต่อ Apple Car Play ส่วนเครื่องยนต์นั้นได้ใช้เครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร และ 2.4 ลิตรแบบเดิม ตัดรุ่น 2.4 TECH ออกไป และเพิ่มระบบ HONDA SENSING ในรุ่น TECH จากเดิมมีเพียง ระบบเตือนการชนด้านหน้า CMBS (Collision Mitigation Braking System) กล้องมองภาพด้านซ้าย Honda Lane Watch และ ระบบล็อกความเร็ว Cruise Control เพิ่มเป็น ระบบเตือนการชนด้านหน้าและตรวจจับคนเดินถนนด้วยกล้องและ เรดาห์พร้อมระบบช่วยเบรก Collision Mitigation Braking System (CMBS) ระบบแจ้งเตือนและช่วยเหลือเมื่อรถออกนอกเส้นทาง ส่งสัญญาณเตือนและการสั่นเตือนที่พวงมาลัย และเมื่อรถเบี่ยงออกนอก ช่องจราจร Road Departure Mitigation with Lane Departure Warning (RDM with LDW) ระบบแจ้งเตือนและช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องจราจร ส่งสัญญาณเตือนและการสั่นเตือนที่พวงมาลัย รวมถึงช่วยหน่วงพวงมาลัย Lane Keeping Assist System (LKAS) ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบรักษาระยะห่าง Adaptive Cruise Control (ACC) และกล้องมองภาพข้างซ้าย Honda Lane Watch มีทุกรุ่นย่อยยกเว้น 2.0 E
สำหรับรุ่นไฮบริด เป็น Full Hybrid 2nd Generation ปรับปรุงระบบไฮบริด ทั้งเครื่องยนต์ และ มอเตอร์ไฟฟ้าใหม่ เครื่องยนต์ Atkinson Cycle ขนาด 2.0 ลิตร PGM-Fi DOHC i-VTEC 145 แรงม้า แรงบิด 175 นิวตันเมตร ทำงานคู่กับ มอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว กำลังสูงสุด 184 แรงม้า แรงบิด 315 นิวตันเมตร ทำให้เมื่อทำงานร่วมกัน จะได้ พละกำลังรวม เป็น 215 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ E-CVT แบตเตอรี่ Lithium-ion 1.3 kWh ปล่อย CO2 จากเดิม 100g.เหลือ 99g./km. รองรับน้ำมันสูงสุด E20 Generation ที่ 10 (รุ่นปี พ.ศ. 2561 - 2565)
![]() ฮอนด้า แอคคอร์ด รุ่นที่ 10 ได้เปิดตัวในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[9] ต่อมาได้เริ่มเดินสายการผลิตเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 และเริ่มจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นรุ่นปี 2018[10] ต่อมาได้จำหน่ายในประเทศแคนาดาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560[11] โดยโฉมนี้ได้ติดตั้งฮอนด้า เซนซิง มาในทุกรุ่นย่อยและได้ใช้เครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเทอร์โบในรุ่นเริ่มต้น กับ 2.0 ลิตรเทอร์โบในรุ่นสูง ในตลาดอาเซียน Honda Accord รุ่นที่ 10 เปิดตัวครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ที่งาน Thailand International Motor Expo และมีการเปิดราคาขายเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องยนต์
ปรับปรุงใหม่ล่าสุด Honda ประเทศไทย เตรียมเปิดตัว Accord Minorchange (หรืออาจเป็นรุ่นปรับอุปกรณ์ MY2021) โดยปรับเพิ่ม Option มากกว่าเดิม เตรียมเปิดตัวในช่วงเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม นี้ พร้อมเปลี่ยนชื่อรุ่นย่อยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับรถยนต์ที่ใช้ขุมพลัง Hybrid รุ่นอื่นๆ ของ Honda ทั้งในประเทศไทย และ ทั่วโลก
ข้อมูลรุ่นปรับปรุงใหม่ 1.5 EL
สำหรับรุ่น e:HEV Hybrid (e:HEV EL+ และ e:HEV TECH)
![]() Honda Accord เตรียมเลิกขายในญี่ปุ่นHonda Accord (ฮอนด้า แอคคอร์ด) ถือเป็นรถยนต์อีกรุ่นที่วางขายกันมาอย่างยาวนาน จนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี 2025 ถึงเจเนอเรชั่นที่ 10 กันแล้ว แต่น่าเสียดายที่ในประเทศญี่ปุ่น จากการรายงานของสำนักข่าว Best Car Web กล่าวว่า Honda (ฮอนด้า) ประเทศญี่ปุ่น กำลังจะหยุดการจำหน่ายฮอนด้า แอคคอร์ดโฉมปัจจุบันในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 นี้ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นรถที่นำเข้าจากประเทศไทย แต่ในประเทศไทยรวมถึงในหลาย ๆ ที่เช่นออสเตรเลียจะยังคงขายต่อไป Accord โฉมที่ 10 นั้นเริ่มการผลิตกันในช่วงปี 2019 โดยมีการผลิตหลัก ๆ ในประเทศไทย, จีน, มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา สำหรับรุ่นผลิตที่ไทยนั้น จะมีการส่งออกไปยังตลาดที่มีการขับขี่พวงมาลัยขวา เช่น ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่จะไม่ได้ขายในประเทศที่ใช้พวงมาลัยขวาบางแห่ง เช่น นิวซีแลนด์ ด้วยการเลิกวางขายของ Honda Accord นี้เอง จะถือเป็นรถรุ่นที่ 10 แล้วที่เลิกการทำตลาดในญี่ปุ่นในช่วงเวลาเพียง 18 เดือน และจะทำให้ในประเทศญี่ปุ่นไม่เหลือรถเก๋งวางขายแล้ว เพราะว่าการผลิตของซีดานขนาดกลางอีกรุ่นอย่าง Honda Legend และ Honda Clarity ที่สามารถเลือกได้ระหว่าง PHEV หรือพลังงานไฮโดรเจนก็เลิกขายไปเมื่อปีที่แล้ว รวมถึง Honda Insight Hybrid อีกด้วย และไม่ใช่ซีดานเพียงอย่างเดียว แต่รถกระบะเล็กอย่าง Acty รวมถึงสปอร์ตจิ๋ว S660 ก็เลิกขายไปแล้ว รถ 7 ที่นั่งอย่าง Odyssey ก็จะหายไปในปีนี้ และสปอร์ตตัวท็อป NSX ก็เช่นกัน กระแสการเลิกวางขายรถยนต์หลายคัน (หลายขนาด) จะทำให้ Honda เหลือรถขายเพียงไม่กี่รุ่นในประเทศ ซึ่งหลายรุ่นเป็น Kei Car ขนาดเล็ก และยังมี Honda Jazz (ฮอนด้า แจ๊ซ), Honda HR-V (ฮอนด้า เอชอาร์-วี), Honda Civic Hatchback (ฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็ค), รถยนต์ไฟฟ้า Honda E, Honda Freed และ Honda Step WGN Generation ที่ 11 (รุ่นปี พ.ศ. 2566)
Honda ปล่อยภาพและข้อมูลตัวรถเบื้องต้นของ All NEW Honda Accord เจเนอเรชั่นที่ 11 เวอร์ชั่นอเมริกา มาพร้อมแนวคิดการออกแบบ Rugged & Sophisticated และสร้างบนโครงสร้างตัวถัง Advanced Compatibility Engineering (ACE) แบบเดียวกันกับ Honda CR-V (G6) เวอร์ชั่นอเมริกามีให้เลือก 6 รุ่นย่อย ได้แก่ LX, EX, Sport, EX-L, Sport-L และ Touring All NEW Honda Accord G11 มาพร้อมกับชุดไฟหน้าและกระจังหน้าที่มีตรงของเส้นสายมากขึ้น นั่นทำให้ดีไซน์ด้านหน้ามีความปราดเปรียวกว่ารุ่นปัจจุบัน ทว่างานออกแบบด้านข้างและบั้นท้ายกลับมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เนื่องจากมีเส้นชายขอบล่างบานประตู และกรอบกระจกหน้าต่างแบบ Six-wondow ที่ถูกลดทอนความโค้งงอลงไป สิ่งที่ดูแปลกตาที่สุดบน Accord ใหม่นี้ เห็นจะเป็นสเกิร์ตด้านข้างและชายล่างกันชนหน้า-หลังที่ใช้วัสดุสีดำ ซึ่งโดยปกติเรามักจะพบเห็นในรถยนต์ Crossover SUV มากกว่าจะเป็น Sedan อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia