ศาสนาในประเทศศรีลังกาประเทศศรีลังกาเป็นประเทศพุทธอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ชาวศรีลังกานับถือศาสนาหลายศาสนา จากสำมะโน ค.ศ. 2012 ชาวศรีลังการ้อยละ 70.2 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 12.6 เป็นชาวฮินดู ร้อยละ 9.7 เป็นมุสลิม (โดยหลักเป็นนิกายซุนนี) ร้อยละ 7.4 เป็นชาวคริสต์ (ส่วนใหญ่เป็นนิกายคาทอลิก)[2][3] ศาสนาพุทธได้รับการประกาศเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศศรีลังกา และได้รับสิทธิพิเศษตามรัฐธรรมนูญศรีลังกา เช่น รัฐบาลมีความผูกพันที่จะปกป้องและส่งเสริมพระธรรมแห่งพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ[4][5] อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญยังให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาและสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างพลเมืองของตนด้วย ใน ค.ศ. 2008 ศรีลังกาเป็นประเทศที่นับถือศาสนามากเป็นอันดับ 3 ของโลกตามแกลลัพโพล โดยชาวศรีลังการ้อยละ 99 กล่าวว่าศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน[6] จำนวนกลุ่มศาสนาสำมะโน ค.ศ. 2001 คอรบคลุมเพียง 18 อำเภอเท่านั้น จำนวนร้อยละในอำเภอที่ปรากฏในตารางมาจากสำมะโน ค.ศ. 2001 ยกเว้นตัวเลขในตัวเอียงที่มาจากสำมะโน ค.ศ. 1981 การเคลื่อนไหวของประชากรเกิดขึ้นหลัง ค.ศ. 1981 และไม่มีสถิติที่แม่นยำสำหรับพื้นที่ที่ไม่ครอบคลุมในการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2001 จนกระทั่งมีการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011[7] แผนที่ศรีลังกาแบ่งศาสนาหลักในอำเภอตามสำมะโน ค.ศ. 2012 แผนที่ศรีลังกาแสดงศาสนาหลักตามเขตแบ่ง ดี.เอส. จากสำมะโน ค.ศ. 2012
ศาสนาตามจังหวัด
ศาสนาพุทธ![]() ศานาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศศรีลังกา มีประชากรราวร้อยละ 70.2 เป็นพุทธศาสนิกชน พระมหินดาบุตรแห่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียเป็นผู้เผยแพร่ศาสนาพุทธเข้ามาในดินแดนศรีลังกาเมื่อ 246 ปีก่อนสากลศักราช ทำให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแห่งศรีลังกาหันมาถึอพุทธ อรหันต์สังฆมิตรา พระธิดาของพระเจ้าอโศกนำต้นกล้าของต้นโพธิ์จากพุทธคยามาปลูกในศรีลังกา และยังได้ก่อตั้งสำนักภิกษุณีขึ้นในประเทศด้วย ต้นโพธิ์เป็นที่รู้จักกันในนามว่า ต้นพระชัยศรีมหาโพธิ์ ถูกปลูกในสวนมหาเมฆวันในอนุราธปุระโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia