การขาดการรับรองทางการทูตเป็นอุปสรรคต่อหน่วย (entity) ทางภูมิรัฐศาสตร์ร่วมสมัยซึ่งปรารถนาจะได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชโดยนิตินัย ในอดีต เคยมีหน่วยที่คล้ายกัน และปัจจุบันมีหน่วยที่ประกาศอิสรภาพ ซึ่งมีการควบคุมดินแดนของตนโดยพฤตินัย โดยมีการรับรองแปรผันตั้งแต่ได้รับการรับรองจากรัฐที่ได้รับการรับรองอื่นแทบทั้งหมดไปจนถึงแทบไม่มีรัฐใดรับรองเลย
มีสองลัทธิแต่เดิมที่มให้การตีความว่าเมื่อใดรัฐเอกราชโดยนิตินัยควรได้รับการรับรองเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ ทฤษฎี "ประกาศ" (declarative) นิยามรัฐเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้: 1) มีดินแดนแน่นอน 2) มีประชากรถาวร 3) มีรัฐบาล และ 4) มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ตามทฤษฎีประกาศ สภาพเป็นรัฐของหน่วยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรองของรัฐอื่น ทว่า ทฤษฎี "ก่อตั้ง" นิยามรัฐว่าเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากได้รับการรับรองจากรัฐอื่นซึ่งเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศอยู่แล้ว
หลายหน่วยอ้างลัทธิข้างต้นหนึ่งหรือทั้งสองลัทธิเพื่ออ้างความชอบของการอ้างสิทธิ์สภาพเป็นรัฐของหน่วย ตัวอย่างเช่น มีหน่วยที่เป็นไปตามเกณฑ์ทฤษฎีประกาศ (คือ มีการควบคุมเหนือดินแดนที่อ้างสิทธิ์อย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนโดยพฤตินัย มีรัฐบาลและประชากรถาวร) แต่สภาพเป็นรัฐของหน่วยเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอย่างน้อยหนึ่งรัฐ การไม่รับรองมักเป็นผลแห่งข้อขัดแย้งกับประเทศอื่นซึ่งอ้างว่าหน่วยเหล่านั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ในกรณีอื่น หน่วยที่ได้รับการรับรองบางส่วนสองหน่วยหรือกว่านั้นอาจอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน ซึ่งแต่ละหน่วยมีการควบคุมบางส่วนของพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย (เช่นในกรณีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีน และเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) หน่วยซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐส่วนน้อยของโลกปกติอ้างอิงลัทธิประกาศเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การอ้างสิทธิ์ของตน
รายชื่อ
รัฐสมาชิกสหประชาชาติ
รัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติ
รัฐที่มิใช่ทั้งสมาชิกและผู้สังเกตการณ์ซึ่งรับรองโดยสมาชิกสหประชาชาติ
รัฐที่มิใช่ทั้งสมาชิกและผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ได้รับรองโดยสมาชิกสหประชาชาติ
หมายเหตุ
ไม่รวมรายการดังต่อไปนี้ไว้ในรายชื่อ
- คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา ปัจจุบันมิใช่รัฐอธิปไตยซึ่งมีดินแดนในปกครอง แต่เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 110 รัฐสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ และได้รับสถานะองค์กรผู้สังเกตการณ์ถาวรประจำสหประชาชาติ
- กลุ่มชุมชนหรือชนเผ่าที่ไม่เป็นที่รู้จักและไม่สามารถกำหนดสถานะที่ชัดเจนได้
- เขตการปกครองในประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นอิสระโดยพฤตินัย โดยรัฐบาลกลางมีบทบาทไม่มากก็น้อยในพื้นที่นั้น และไม่ได้มีการประกาศอิสรภาพอย่างชัดเจน
- ประเทศจำลอง แม้ว่าจะมีการประกาศอิสรภาพที่ชัดเจนและอ้างว่ามีอธิปไตยสมบูรณ์ แต่แตกต่างจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นอย่างมาก ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐชาติหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ และเป็นที่กังขาว่าสามารถรักษาอธิปไตยที่ตนอ้างไว้ได้หรือไม่
- ดินแดนที่อยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสืบทอดตำแหน่งรัฐบาล โดยที่ความขัดแย้งเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานหรือไม่มีเสถียรภาพมากพอที่จะสามารถกำเนิดรัฐได้
- กลุ่มกบฏที่ประกาศเอกราชและควบคุมพื้นที่บางส่วน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าจะได้รับการรับรองบางส่วนในระดับสากลก็ตาม
- รัฐบาลพลัดถิ่นและขบวนการเรียกร้องดินแดน ซึ่งไม่ถือว่ามีอำนาจอธิปไตยที่ครบถ้วน
- รัฐสมาชิกสหประชาชาติที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตช้าจึงไม่ได้รับการรับรองอย่างชัดเจน แต่มิได้มีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่อกัน
อ้างอิง
- ↑ Government of Israel (1948-05-14). "Declaration of Israel's Independence 1948". Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ US Library of Congress (2000-10-07). "World War II and Korea". Country Studies. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Sterngold, James (1994-09-03). "China, Backing North Korea, Quits Armistice Commission". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
- ↑ 5.0 5.1 "Treaty on Basic Relations between Japan and the Republic of Korea". สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- ↑ "Declaration of Independence". TIME. 1966-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
- ↑ Scofield, David (2005-01-04). "Seoul's double-talk on reunification". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
- ↑ "Constitution of the People's Republic of China". International Human Rights Treaties and Documents Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ CIA World Factbook (2008-02-28). "Cyprus". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ "Cyprus exists without Turkey's recognition: president". XINHUA. 2005-10-01. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-29. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ Pakistan Worldview - Report 21 - Visit to Azerbaijan เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Senate of Pakistan - Senate foreign relations committee, 2008
- ↑ Nilufer Bakhtiyar: "For Azerbaijan Pakistan does not recognize Armenia as a country" 13 September 2006 [14:03] - Today.Az
- ↑ "3.10 - How many countries recognize Palestine as a state?". Institute for Middle East Understanding. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-04. สืบค้นเมื่อ 2006-04-04.
- ↑ Lewis, Joe (2002-08-04). "Taiwan Independence". Digital Freedom Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-12-02. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Sahrawi Arab Democratic Republic (1976-02-27). "Sahrawi Arab Democratic Republic". Western Sahara Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Hadar, Leon (2005-11-16). "In Praise of 'Virtual States'". AntiWar. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ 19.0 19.1 Russia recognises Georgian rebels - BBC, 2008-08-26[1]
- ↑ 20.0 20.1 "Venezuela's Chavez draws closer to Moscow". Washington Post. 2009-09-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Stojanovic, Srdjan (2003-09-23). "OCHA Situation Report". Center for International Disaster Information. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ 22.0 22.1 "South Ossetia opens embassy in Abkhazia The Tiraspol Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ Clogg, Rachel (2001). "Abkhazia: Ten Years On". Conciliation Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ "Kosovo MPs proclaim independence". BBC News. 2008-02-17. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ http://www.unmikonline.org/press/reports/N9917289.pdf
- ↑ "Abkhazia: Ten Years On". BBC 2. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-19. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
- ↑ BBC Country Profiles: Regions and territories: Somaliland, accessed 14 September 2009
ดูเพิ่ม
|
---|
รัฐสมาชิกสหประชาชาติ | |
---|
รัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติ | |
---|
รัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ | รับรองโดยรัฐสมาชิกสหประชาชาติ อย่างน้อยหนึ่งรัฐ | |
---|
รับรองเฉพาะรัฐที่ไม่ได้เป็น สมาชิกสหประชาชาติ | |
---|
|
---|