วินัย ทองสอง
พลตำรวจเอก วินัย ทองสอง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและนายตำรวจราชสำนัก[1]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และนายกสมาคมตำรวจ[2] อดีตรองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ9) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[3] เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา[4] บุตรของนาย ธิชัย และนาง เจียมจิตต์ ทองสอง จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (ตท.16) โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 32 (นรต.32) เริ่มรับราชการด้วยการเป็นนายเวรผู้บังคับการตำรวจภูธร 12 จังหวัดยะลา จนกระทั่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม ในปี พ.ศ. 2547 ด้วยยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) ในยุครัฐบาลที่มีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.วินัย ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมและเกี่ยวพันกับตระกูลชินวัตร เนื่องจากภริยา นางพราวนภางค์ ทองสอง หัวหน้าส่วนสำนักข้อมูลและวิจัย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีศักดิ์เป็นหลานสาวของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะที่เกิดการรัฐประหารเกิดขึ้น พล.ต.ท.วินัย ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ ได้รับคำสั่งทางสายโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่นครนิวยอร์ก ให้นำกองกำลังเข้าทำการควบคุมตัว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ อันเป็นบ้านพักส่วนตัว แต่ยังมิทันได้ดำเนินการ เนื่องมีกองกำลังทหารและรถถังเข้าอารักขาไว้หมดแล้ว และในคืนวันนั้น พล.ต.ท.วินัย เองก็ถูกควบคุมตัวด้วย[5][6] ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2554 พล.ต.ท.วินัย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แทนที่ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 แทน[7] [8] ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปช่วยราชการที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมกับมอบให้ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รองผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้ามารักษาราชการ และปฏิบัติหน้าที่แทน โดยให้มีผลทันที เชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาไม่ได้ ซึ่งชุมนุมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแห่งชาติ (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ของรัฐบาล[9] จากนั้นก็ได้มีการเลื่อนยศ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ให้เป็น พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ขณะที่ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 [10] และต่อมาก็ได้ย้ายเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดูแลงานด้านกองบัญชาการตำรวจนครบาล[11]ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2566 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia