ในทางคณิตศาสตร์ ลำดับเรขาคณิต (อังกฤษ: geometric sequence) คือลำดับของจำนวนซึ่งอัตราส่วนของสมาชิกสองตัวที่อยู่ติดกันในลำดับเป็นค่าคงตัวที่ไม่เป็นศูนย์ ซึ่งอัตราส่วนนั้นเรียกว่า อัตราส่วนร่วม (common ratio) ตัวอย่างเช่น ลำดับ 2, 6, 18, 54, ... เป็นลำดับเรขาคณิตซึ่งมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ 3 และลำดับ 10, 5, 2.5, 1.25, ... มีอัตราส่วนเท่ากับ 0.5 เป็นต้น
ถ้าหากพจน์เริ่มต้นของลำดับเรขาคณิตลำดับหนึ่งคือ a1 และมีอัตราส่วนร่วม r ≠ 0 ดังนั้นพจน์ที่ n ของลำดับนี้คือ
![{\displaystyle a_{n}=a_{1}r^{n-1}\,\!}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/8340598de7b4bb63aa2725e6164bd729f6547dff)
หรือในกรณีทั่วไป จะได้
![{\displaystyle a_{n}=a_{m}r^{n-m}\,\!}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/aa0a69e11096958e119a189d89e103c34252c7c7)
หรือเขียนได้ด้วยรูปแบบความสัมพันธ์เวียนเกิด
![{\displaystyle a_{n}=ra_{n-1}\,\!}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/bbfe481516392d38c19c379924024f3899225058)
สมบัติเบื้องต้น
การที่จะทำให้ทราบได้ว่าลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับเรขาคณิตหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากอัตราส่วนของพจน์ที่อยู่ติดกัน ซึ่งจะมีค่าเท่ากันทั้งลำดับ อัตราส่วนร่วมอาจเป็นค่าติดลบก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดลำดับสลับเครื่องหมาย หมายความว่าจำนวนจะสลับเครื่องหมายบวกลบตลอดทั้งลำดับ เช่น 1, −3, 9, −27, 81, −243, ... เป็นลำดับเรขาคณิตซึ่งมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ −3
พฤติกรรมของจำนวนในการลำดับเรขาคณิตขึ้นอยู่กับค่าของอัตราส่วนร่วม ดังนี้
- ถ้าเป็นจำนวนบวก ทุกพจน์จะมีเครื่องหมายเหมือนกับพจน์แรก
- ถ้าเป็นจำนวนลบ ทุกพจน์จะมีเครื่องหมายบวกลบสลับกัน
- ถ้ามากกว่า 1 ลำดับนั้นจะเพิ่มแบบชี้กำลัง (exponential growth) ไปยังอนันต์
- ถ้าเท่ากับ 1 ลำดับนั้นจะคงที่ทุกพจน์
- ถ้ามีค่าอยู่ระหว่าง −1 ถึง 1 แต่ไม่เป็น 0 ลำดับนั้นจะลดแบบชี้กำลัง (exponential decay) ไปยัง 0
- ถ้าเท่ากับ −1 ลำดับนั้นจะมีเครื่องหมายบวกลบสลับกัน แต่ค่าตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลง
- ถ้าน้อยกว่า −1 ค่าสัมบูรณ์ของพจน์ต่างๆ จะเพิ่มแบบชี้กำลังไปยังอนันต์
จะเห็นว่าลำดับเรขาคณิต (ที่มีอัตราส่วนไม่ใช่ −1, 1 หรือ 0) แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มหรือการลดแบบชี้กำลัง ต่างกับการเพิ่ม (หรือลด) แบบเชิงเส้นของลำดับเลขคณิต แต่ลำดับทั้งสองชนิดก็มีความเกี่ยวข้องกัน นั่นคือ ถ้าหากใส่ฟังก์ชันเลขชี้กำลังลงในทุกพจน์ของลำดับเลขคณิตก็จะได้ลำดับเรขาคณิต และหากใส่ฟังก์ชันลอการิทึมลงในทุกพจน์ของลำดับเรขาคณิตก็จะได้ลำดับเลขคณิต
ผลรวม
ผลรวมของสมาชิกในลำดับเรขาคณิต เรียกว่า อนุกรมเรขาคณิต (อังกฤษ: geometric series)
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{n}ar^{k}=ar^{0}+ar^{1}+ar^{2}+ar^{3}+\cdots +ar^{n}\,\!}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/384366da89e72a55a44667d5c2d02c30526de6f8)
เราสามารถทำสูตรให้ง่ายขึ้นโดยการคูณทั้งสองข้างของสมการด้วย
แล้วเราจะได้
![{\displaystyle (1-r)\sum _{k=0}^{n}ar^{k}=a-ar^{n+1}\,\!}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/480c925eeedb192aae6a2dff6ba8d36f60985170)
ซึ่งพจน์อื่นๆ จะตัดกันหายไปหมด จัดรูปแบบใหม่ จะได้สูตรสำหรับคำนวณผลรวม โดยที่ r ≠ 1
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{n}ar^{k}={\frac {a(r^{n+1}-1)}{r-1}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/e01e0b10ead9048a802d280efa8ee84f1e7d0b78)
ดังนั้นกรณีทั่วไปของสูตรนี้คือ
![{\displaystyle \sum _{k=m}^{n}ar^{k}={\frac {a(r^{n+1}-r^{m})}{r-1}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/9215bef9349f7647f2438ad73a02a93aa16e9e3c)
สำหรับอนุกรมเรขาคณิตที่มีแต่เลขชี้กำลังของ r เป็นจำนวนคู่ คูณทั้งสองข้างด้วย
![{\displaystyle (1-r^{2})\sum _{k=0}^{n}ar^{2k}=a-ar^{2n+2}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/1b6208a97cdfe80f68546797239e2a9e61993204)
จะได้สูตร
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{n}ar^{2k}={\frac {a(1-r^{2n+2})}{1-r^{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/c545115650104a8f91c520190a92f9a9f8ec99ae)
ส่วนเลขชี้กำลังของ r ที่มีแต่จำนวนคี่
![{\displaystyle (1-r^{2})\sum _{k=0}^{n}ar^{2k+1}=ar-ar^{2n+3}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/101bf908e512f95bc9144fc4a4764f387bd929e2)
จะได้สูตร
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{n}ar^{2k+1}={\frac {ar(1-r^{2n+2})}{1-r^{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/01e1e1952093bc14503a33bf4ee43247fcd4e573)
อนุกรมเรขาคณิตไม่จำกัด
อนุกรมเรขาคณิตไม่จำกัด คืออนุกรมเรขาคณิตที่มีจำนวนพจน์ไม่จำกัดหรือเป็นจำนวนอนันต์ อนุกรมนี้จะลู่เข้าค่าใดค่าหนึ่งก็ต่อเมื่อ ค่าสัมบูรณ์ของอัตราส่วนร่วมมีค่าน้อยกว่าหนึ่ง (
) ค่าของอนุกรมเรขาคณิตไม่จำกัดสามารถคำนวณได้จากสูตรของผลรวมจำกัด
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{\infty }ar^{k}=\lim _{n\to \infty }{\sum _{k=0}^{n}ar^{k}}=\lim _{n\to \infty }{\frac {a(1-r^{n+1})}{1-r}}=\lim _{n\to \infty }{\frac {a}{1-r}}-\lim _{n\to \infty }{\frac {ar^{n+1}}{1-r}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/81b204942321f7775ca03dd63dad27bd449052ac)
ซึ่ง
จะมีค่าเข้าใกล้ 0 เมื่อ k มีค่าเข้าใกล้อนันต์และ
ดังนั้น
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{\infty }ar^{k}={\frac {a}{1-r}}-0={\frac {a}{1-r}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/438918f4b99abdc0503fdf70d05d201aa6672bc8)
สำหรับอนุกรมเรขาคณิตที่มีแต่เลขชี้กำลังของ r เป็นจำนวนคู่ จะได้สูตร
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{\infty }ar^{2k}={\frac {a}{1-r^{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/90bd50008e8189004ae2eb0e37c9e7fb8b99c1a8)
ส่วนเลขชี้กำลังของ r ที่มีแต่จำนวนคี่ จะได้สูตร
![{\displaystyle \sum _{k=0}^{\infty }ar^{2k+1}={\frac {ar}{1-r^{2}}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/20f10dae60dc44e4c7c6f0f696f2c86345f191d4)
โดยที่สูตรทั้งหมดด้านบนจะใช้ได้เมื่อ
เท่านั้น นอกเหนือจากนี้จะเป็นอนุกรมลู่ออก
ผลคูณ
ผลคูณของลำดับเรขาคณิตก็คือผลคูณของทุกพจน์ในลำดับ และถ้าหากพจน์ทั้งหมดเป็นจำนวนบวก เราจะสามารถคำนวณผลคูณได้ด้วยการหาค่ามัชฌิมเรขาคณิตของพจน์แรกกับพจน์สุดท้าย แล้วยกกำลังด้วยจำนวนพจน์ทั้งหมด ดังนี้
เมื่อ ![{\displaystyle a,r>0}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/dcd34e303519e850026311e1320d08953d314fae)
- พิสูจน์
กำหนดให้ผลคูณของลำดับเลขคณิตแทนด้วย P
![{\displaystyle P=a\cdot ar\cdot ar^{2}\cdots ar^{n-1}\cdot ar^{n}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/21025e98b35345d53c4db6916b95ac7e11c7ed0b)
รวมผลจากการคูณเข้าด้วยกัน จะได้
![{\displaystyle P=a^{n+1}r^{1+2+3+\cdots +(n-1)+n}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/e11183c6897cbdcfa6022291bc113730892a1623)
นำสูตรผลรวมของอนุกรมเลขคณิตมาใช้กับเลขชี้กำลังของ r
![{\displaystyle P=a^{n+1}r^{\frac {n(n+1)}{2}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/36f8f6480052007912c7ada98a9a718eedfed5ad)
![{\displaystyle P=(ar^{\frac {n}{2}})^{n+1}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/bee6a615730954ada799e8bf52781b0d9b53c079)
ยกกำลังสองทั้งสองข้าง
![{\displaystyle P^{2}=(a^{2}r^{n})^{n+1}=(a\cdot ar^{n})^{n+1}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/a0258ed19be1915f234ff7ff44da3607029b80a7)
และในที่สุดก็จะได้
![{\displaystyle P^{2}=(a_{1}\cdot a_{n+1})^{n+1}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/9fd709278bee92556a4c98de27edc66cc7837574)
![{\displaystyle P=(a_{1}\cdot a_{n+1})^{\frac {n+1}{2}}}](https://wikimedia.org/api/rest_v1/media/math/render/svg/34f5a81abe05f3f1a9e3423153a6520cef1325e8)
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น