ลัทธิข้อยกเว้นไทยลัทธิข้อยกเว้นไทย (อังกฤษ: Thai exceptionalism) เป็นความเชื่อว่าประเทศไทยเป็นประเทศพิเศษที่มีวัฒนธรรมไม่เหมือนผู้ใด ซึ่งเป็นทัศนคติที่พบในหมู่อภิชนชาวไทยเป็นพิเศษ ความคิดหนึ่งเดียวที่ถือกันนั้น เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดียวที่ไม่เคยเป็นอาณานิคม มีระบบราชาธิปไตยที่ประณีต สละสลวยและน่าเคารพเทิดทูน พึ่งพาการนำอาหารเข้าต่ำ เป็นต้น[1] ข้ออ้างความเป็นพิเศษอื่นนั้น ได้แก่ ระบบการตั้งชื่อที่ซับซ้อน และภาษาไทย ตลอดจนข้อสันนิษฐานว่าเกิดความรุนแรงขึ้นน้อยแม้มีรัฐประหารหลายครั้งและการสังหารหมู่ยาวเหยียด อย่างไรก็ดี บางคนก็ยอมรับว่าความเป็นไทยไม่ได้ดีเสียหมด มีชัย วีระไวทยะ นักการเมือง เคยกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นชาติคนทำผิดกฎหมาย[2] อนึ่งการชนชาติไทย มีการให้ความหมายของคำว่า ไท คือผู้ที่อิสระไม่เป็นทาสไทย แต่ในหลักศิลาจารึกหลักที่หนึ่งมีคำว่า ไพร่ฟ้าข้าไทย ซึ่งมีความหมายว่า ข้าทาสบริวารของเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งส่งผลให้ความเป็นไท คือ การมีระบบเจ้าขุนมูลนาย โดยสิ่งที่เป็นนิยามคือ ระบบราชการของประเทศไทย สาเหตุในบริบทประวัติศาสตร์
ข้อวิจารณ์นักวิชาการตะวันตกบางส่วนถือประเด็นกับญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทย บ้างถือว่าหัวสูง (elitist) และรู้สึกว่ามันก่อให้เกิดความไม่ลงรอยระหว่างชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี สำคัญต้องเข้าใจว่าคำ "ลัทธิข้อยกเว้น" ในบริบทนี้ไม่ได้หมายความว่าเหนือกว่า แต่หมายถึงความไม่เหมือนผู้ใด และความรู้สึกว่าประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะซึ่งไม่พบในภูมิภาคอื่นมากกว่า ลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยวนักวิจารณ์ญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทยอ้างความโอหังชาตินิยมว่าเป็นอุปสรรคต่อบูรณาการอาเซียน ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อความมั่งคั่งและเสถียรภาพโดยการทำให้โครงสร้างทางสังคมของไทยที่ไม่เท่าเทียมว่าชอบด้วยเหตุผล[3] ในปี 2561 รัฐบาลไทยสร้างการรณรงค์ "อำนาจอ่อน" ชื่อ ไทยนิยม เพื่อส่งเสริมญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทย นักวิชาการไทยบางส่วนเรียกว่าเป็น "แค่โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ"[4] ในบางโอกาส ผู้ถือลัทธิข้อยกเว้นไทยใช้เพื่ออ้างเหตุผลขัดขวางเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจตนาขัดขวางผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งชาวต่างชาติ โดยอ้างว่า "คนไทยภูมิใจที่จัดการเลือกตั้งโดยปลอดอิทธิพลต่างประเทศ"[5] สิทธันตนิยมทางการเมืองมีหลายเหตุการณ์ที่ชาวเน็ตชาตินิยมชาวไทยแสดงลัทธิข้อยกเว้นไทยเพื่อตอบโต้ข้อวิจารณ์จากชาวต่างประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ บางทีมีการใช้ลัทธิข้อยกเว้นไทยเพื่อปัดข้อวิจารณ์ต่อลัทธิอำนาจนิยม ดังเช่น ในสุนทรพจน์ของพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ว่า
ความคล้ายกับชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นนักวิชาการส่วนใหญ่เสนอว่าในความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ โดยยกประวัติศาสตร์ว่าประเทศไทยวิวัฒนามาจากอาณาจักรอินเดียอย่างจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรอยุธยา จึงมีความคล้ายหลายประการระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มวยไทยกับประดัลเสรี หรือสงกรานต์กับตะจาน[ต้องการอ้างอิง] ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia