มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์
Manchester Metropolitan University
คติพจน์Many Arts, Many Skills (หลากศิลป์ หลากทักษะ)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2535 ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2513 ก่อตั้งเป็นวิทยาลัยเทคนิค
ที่ตั้ง, ,
53.47053, −2.23872
วิทยาเขตในเมืองและนอกเมือง
สีน้ำเงิน เขียวหยก เลือดหมู และเหลือง
                
เครือข่ายยูนิเวอร์ซิตีอัลเลียนซ์
สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ
สมาคมมหาวิทยาลัยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
สมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สมาคมมหาวิทยาลัยยุโรป
เว็บไซต์www.mmu.ac.uk

ระวังสับสนกับ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่กว่าแต่ตั้งในท้องที่เดียวกัน

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ หรือ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์เมโทรโพลิทัน (Manchester Metropolitan University, ชื่อย่อ: MMU) เป็นมหาวิทยาลัยเน้นด้านการสอน[1]ของรัฐในสหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงด้านการออกแบบและการจัดการ ตั้งอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เมืองแมนเชสเตอร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2513 ในฐานะวิทยาลัยโพลีเทคนิคแมนเชสเตอร์ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535[2]

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์จัดเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ (new universities) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายแห่ง และเป็นมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนาด้านการวิจัยจนได้ทุนวิจัยจากสภาการอุดมศึกษาแห่งอังกฤษเป็นลำดับที่สี่[1] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้เป็นสมาชิกสมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สมาคมมหาวิทยาลัยยุโรป สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ และสมาคมมหาวิทยาลัยภาคตะวันตกเฉียงเหนืออีกด้วย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2513 ในฐานะวิทยาลัยโพลีเทคนิคแมนเชสเตอร์ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีวิทยาลัยโพลีเทคนิคแมนเชสเตอร์ ได้มีการจัดตั้งสถาบันช่างกลแมนเชสเตอร์ (พ.ศ. 2367) และวิทยาลัยการออกแบบแมนเชสเตอร์ (พ.ศ. 2381) เพื่อบริการแก่นักเรียนนักศึกษาผู้ที่จะเตรียมตัวทำงานในเมืองอุตสาหกรรม[2] ครั้นต่อมาได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยครู (พ.ศ. 2421) วิทยาลัยคหกรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2423) และวิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2432) ขึ้น จนในที่สุดจึงได้มีการรวบรวมสถาบันเหล่านี้เข้าเป็นวิทยาลัยโพลิเทคนิค ครั้นมีการตราพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ. 2535 (Further and Higher Education Act 1992) วิทยาลัยโพลิเทคนิคจึงแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535[3]

ที่ตั้ง

ในชั้นเดิม มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์มีวิทยาเขต 7 แห่ง โดยมี 5 แห่งในจังหวัดแมนเชสเตอร์ (ออลเซนส์, ไอทูน, ดิดบรี, เอลิซาเบธ กาสเคลล์ และโฮลลิงส์) และอีก 2 แห่งในจังหวัดเชชเชอร์ (อัลซาเกอร์ และ ครูว์) ต่อมามหาวิทยาลัยได้ขายพื้นที่ทำการสอนบางส่วนให้เอกชนนำไปพัฒนา และได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขตออลเซนส์ วิทยาเขตครูว์ และปัจจุบันกำลังพัฒนาวิชาเขตเบอร์ลีย์ที่ชานเมืองแมนเชสเตอร์[4]

วิทยาเขตออลเซนตส์

อนุสาวรีย์จอห์น ดาลตัน หล่อโดยวิลเลียม ทีด (William Theed) นอกอาคารถนนเชเชอร์

วิทยาเขตออลเซนตส์ (All Saints Campus) เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยอาคารคณะมนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (อาคารเจฟฟรีย์ แมนตัน (Jeoffrey Manton) และอาคารมาเบล ไทล์โคต (Mabel Tylecote))[5] นอกจากนี้ยังมีคณะอื่น ๆ เช่น

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งที่อาคารจอห์น ดาลตัน[6] ตามชื่อของนักฟิสิกส์ผู้เสนอแนวคิดด้านอะตอม ประกอบด้วยสี่ภาควิชา คือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การดูแลสุขภาพ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีดิจิทัล ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ด้านหลังอาคารจอห์น ดาลตัน เป็นอาคารเจดีซึ่งเป็นอาคารปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย[7]

คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ใช้ชื่อ วิทยาลัยศิลปกรรมแมนเชสเตอร์) มีที่ตั้งในวิทยาเขตออลเซนตส์ ประกอบด้วยสี่ภาควิชาคือ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์) ภาควิชาศิลปะ ภาควิชาการออกแบบ ภาควิชาสื่อ[8] พร้อมด้วยหอศิลป์เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม[9]

มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารมูลค่า 75 ล้านปอนด์ สำหรับคณะบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์ซึ่งย้ายจากวิทยาเขตไอทูนซึ่งยกเลิกไป[10] อาคารใหม่เมื่อสร้างเสร็จจะรองรับนักศึกษาได้ 5,000 คน พร้อมคณาจารย์-เจ้าหน้าที่อีก 250 คน[11]

ภายในวิทยาเขตออลเซนตส์ มีห้องสมุดเซอร์ เคนเนท กรีน เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย เน้นด้านศิลปะและการออกแบบ ภายในห้องสมุดนอกจากหนังสือแล้วยังมีส่วนจัดแสดงงานศิลปะ อาทิ บัตรอวยพรยุคสมเด็จพระราชาธิบดีเอ็ดเวิร์ด และสมเด็จพระราชีนีนาถวิกตอเรีย[12] ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์ช่วยจัดทำรายการบรรณานุกรมโดยโครงการบรรณานุกรมเบอร์มิงแฮม[13] นอกจากนี้ หลังจากการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกลุ่มห้องสมุดการศึกษาแห่งแมนเชสเตอร์ หรือในปัจจุบันได้ขยายเป็นกลุ่มห้องสมุดเพื่อการศึกษาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ[14]

อาคารจอห์น ดาลตัน

นอกจากคณะวิชาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคณะคหกรรมศาสตร์โฮลลิงส์ ทำการสอนด้านอาหาร สิ่งทอ และการโรงแรม

วิทยาเขตเชชเชอร์

นอกจากวิทยาเขตออลเซนตส์ที่ตั้งใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์แล้ว มหาวิทยาลัยยังเปิดสอนคณะครุศาสตร์ที่วิทยาเขตเชชเชอร์และวิทยาเขตเบอร์ลีย์[15] ยิ่งไปกว่านั้น วิทยาเขตเชชเชอร์ยังเป็นที่ตั้งของสาขาวิชาธุรกิจ ศิลปะร่วมสมัย วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และสหศาสตรศึกษา[16]

วิทยาเขตเบอร์ลีย์

มหาวิทยาลัยได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตเพิ่มเติมที่เบอร์ลีย์ฟีลด์ ใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์ สำหรับใช้ทำการสอนด้านครุศาสตร์และสร้างหอพักนักศึกษาเพิ่มเติมให้ได้ตามความต้องการ[17]

ส่วนงาน

มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะวิชาทั้งหมด 7 คณะ ได้แก่[18]

  • คณะบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะสุขภาพ จิตวิทยา และสังคมสงเคราะห์
  • คณะคหกรรมศาสตร์โฮลลิงส์
  • คณะมนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ (วิทยาลัยศิลปกรรมแมนเชสเตอร์)
  • คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Manchester Metropolitan University". สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  2. 2.0 2.1 "About Manchester Metropolitan University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-30. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
  3. http://www.mmu.ac.uk/news/articles/156/ เก็บถาวร 2014-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 20th November 2014
  4. "Campus Redevelopments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
  5. "The Faculty of Humanities, Languages and Social Science". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-21. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  6. "Faculty of Science and Engineering". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
  7. "IRM". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
  8. "The Faculty of Art and Design". MMU. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  9. "The Holden Gallery". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  10. "Accounts 0066" (PDF). Manchester Metropolitan University.
  11. "Campus Redevelopment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  12. "MMU special collections; reading room and gallery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  13. Rogerson, Ian (1978) "Library", in: The Making of a Polytechnic Building: All Saints Building. Manchester: Manchester Polytechnic; pp. 34–36
  14. "NoWAL". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  15. "The Faculty of Education". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  16. "MMU Cheshire". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-21. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  17. "Birley Fields Proposals". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  18. "University Structure". mmu.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-09. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์


 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia